แผนการจัดการเรียนรู้

แผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการเชิงรุก

1. ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้

มาตรฐาน

ส 5.1 เข้าใจลักษณะทางกายภาพของโลกและความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งซึ่งมีผลต่อกัน ใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการค้นหา วิเคราะห์ และ สรุปข้อมูลตามกระบวนการทางภูมิศาสตร์ ตลอดจนใช้ภูมิสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ


ตัวชี้วัด

ป 4/2 ระบุแหล่งทรัพยากรและสถานที่สำคัญในจังหวัดของตนเองด้วยแผนที่และรูปถ่าย

2. จุดประสงค์การเรียนรู้

1. นักเรียนสามารถอธิบายการใช้แผนที่ในศึกษาแผนที่จังหวัด (K)

2. นักเรียนสามารถใช้แผนที่ศึกษาข้อมูลของจังหวัดที่กำหนดให้ได้ (P)

3. นักเรียนเห็นความสำคัญของประโยชน์การใช้แผนที่ศึกษาจังหวัด (A)

3. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด

การศึกษาเรียนรู้จังหวัดจำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ แผนที่ รูปถ่ายทางอากาศ

และภาพจากดาวเทียม ที่สามารถแสดงข้อมูลและสาระทางพื้นที่ของจังหวัดได้

4. สาระการเรียนรู้

ประเภทของแผนที่ องค์ประกอบของแผนที่ การใช้แผนที่ศึกษาข้อมูลในจังหวัด

5. สมรรถนะสำคัญที่เกิดกับผู้เรียน (ตามแผนการจัดการเรียนรู้)

1. ความสามารถในการสื่อสาร

2. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์/ศักยภาพพลโลก

1. ใฝ่เรียนรู้

2. มุ่งมั่นในการทำงาน

7. ความเข้าใจที่คงทน

นักเรียนเข้าใจว่า จังหวัดเป็นหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคที่รวมเอาอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน และชุมชนต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ทำให้มีอาณาเขตกว้างขวาง และมีสิ่งต่าง ๆ มากมายอยู่ในจังหวัด สิ่งทั้งหลายภายในจังหวัดล้วนมีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบ เป็นเหตุและปัจจัยแก่การเกิดขึ้นและการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้จังหวัดจำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือที่มีศักยภาพ ได้แก่ แผนที่ รูปถ่ายทางอากาศ และภาพจากดาวเทียม ที่สามารถแสดงข้อมูลและสาระทางพื้นที่ของจังหวัดได้

8. ชิ้นงาน/ภาระงาน

ชิ้นงานที่ 1 การปักธงแผนที่


9. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้

กิจกรรมที่ 1 เรื่องการใช้แผนที่กับจังหวัดอุตรดิตถ์ เวลา 1 ชั่วโมง

ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน กิจกรรมเบรนยิม Brain Gym ตบมือ ตบตัก ตบไหล่ (5 นาที)

1. ครูร่วมกันสอนวิธีการออกท่าทางที่ต้องใช้ประกอบการทำกิจกรรม Brain Gym เพลง จับไวไว

2. ครูร้องเพลง และทำท่าทางให้เด็กดู 1 รอบ

3. เด็กร้องเพลงและทำท่าทางตามครูทีละท่อน ดังนี้

3.1 จับหัว (เอามือจับหัว) ตา (เอามือจับตา) หู (เอามือจับหู) หัวไหล่ (เอามือจับไหล่)

จับไวไว (เอามือตบไหล่ 3 ครั้ง) จับจมูก (เอามือจับจมูก) ปาก (เอามือจับปาก) ตา (เอามือจับตา)

จับแขน (เอามือจับแขน) จับขา (เอามือจับขา) แล้วก็จับสะดือ (เอามือจับสะดือ)

4.เด็กและครูทำพร้อมๆกัน เมื่อเด็กเริ่มคล่อง ครูเร่งจังหวะให้เร็วขึ้น

5. เมื่อเล่นเสร็จเด็กผักผ่อนร่างกาย

ขั้นสอน (35 นาที)

6. ครูแสดงรูปภาพแผนที่จังหวัดอุตรดิตถ์ให้นักเรียนดู ครูตั้งประเด็นคำถามให้นักเรียนจุดประกายความคิดดังนี้

6.1) นักเรียนอยู่อำเภออะไร

6.2) นักเรียนคิดว่าอำเภอที่นักเรียนอยู่มีสถานที่ท่องเที่ยว สถานที่สำคัญอะไรบ้าง

6.4) นอกจากในอำเภอของเราแล้วในจังหวัดอุตรดิตถ์มีสถานที่สำคัญที่ไหนอีกบ้างที่นักเรียนรู้จัก

6.3) นักเรียนเคยใช้แผนที่หรือไม่ เคยใช้แผนที่แบบใดบ้าง

ระหว่างที่นักเรียนกำลังพูดเสนอสถานที่สำคัญในจังหวัดอุตรดิตถ์ที่นักเรียนรู้จัก

7. ครูสอนวิธีการใช้ google map และ google street view พร้อมทั้งให้นักเรียนทดลองใช้แผนที่

8. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายในแผนที่โดยใช้สื่อบัตรภาพ ดังนี้

8.1) องค์ประกอบและสัญลักษณ์ของแผนที่

8.2) การใช้แผนที่

9. ครูให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมรู้และเข้าใจการใช้แผนที่ โดยให้นักเรียนดูบัตรภาพสัญลักษณ์ในแผนที่แล้วยกมือตอบ

10. ครูให้นักเรียนทำกิจกรรม “ปักธงให้ตรงฉันสิ” คือให้นักเรียนปักธงที่เป็นชื่อของสัญลักษณ์ให้ตรงกับสัญลักษณ์ในแผนที่ที่ครูจัดเตรียมไว้ให้

11. ครูให้นักเรียนดูภาพแผนที่ของเพื่อนแต่ละคน ช่วยกันวิเคราะห์และตรวจสอบความถูกต้อง


ขั้นสรุป (10 นาที)

12. นักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้เรียนภายในวันนี้ ครูช่วยเสริมความรู้เพิ่มเติมให้ครบถ้วน

- องค์ประกอบและสัญลักษณ์ของแผนที่มีอะไรบ้าง

- หากนักเรียนต้องการดูแผนที่สามารถดูได้จากที่ไหนบ้าง

13. ครูตั้งคำถามเพื่อให้นักเรียนเห็นเห็นความสำคัญของประโยชน์การใช้แผนที่ศึกษาจังหวัด

- ความสำคัญและประโยชน์การใช้แผน

- ในชีวิตประจำวันแผนที่มีประโยชน์ต่อนักเรียนอย่างไรบ้าง

10. การจัดบรรยากาศเชิงบวก

1. ให้นักเรียนร่วมแสดงความรู้สึกชื่นชมผลงานของตนเองและของเพื่อน

2. การให้กำลังใจ คำชื่นชมเชิงบวกเสมอในชั้นเรียน

11. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้

1. สื่อการเรียนรู้

1. ภาพแผนที่จังหวัดอุตรดิตถ์

2. บัตรภาพสัญลักษณ์ในแผนที่

3. google map

4. google street view

2. แหล่งเรียนรู้ (สถานที่, บุคคล, เว็ปไซด์ ฯลฯ)

1. google street view

2. google map

3. Clip and Youtube