มารู้จัก "จังหวัดอุตรดิตถ์"

แผนที่ตั้งของจังหวัดอุตรดิตถ์

อุตรดิตถ์ เดิมสะกดว่า อุตรดิฐ เป็นจังหวัดหนึ่งตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย ได้ชื่อว่าเมืองท่าแห่งทิศเหนือ ตำนานอันลึกลับของเมืองลับแล ดินแดนแห่งลางสาดหวานหอม อุตรดิตถ์เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มายาวนาน โดยมีการค้นพบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชุมชนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์

จังหวัดอุตรดิตถ์ตั้งอยู่ทางใต้สุดของภาคเหนือตอนล่าง โดยสภาพภูมิศาสตร์จังหวัดอุตรดิตถ์เป็นจังหวัดที่มีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาและที่สูงสลับซับซ้อน ซึ่งจะอยู่ทางตอนเหนือและทางตะวันออกของจังหวัด

ลักษณะภูมิศาสตร์ของจังหวัดอุตรดิตถ์

1.1 ลักษณะทางภูมิศาสตร์ อุตรดิตถ์เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคเหนือตอนล่าง เป็นประตูขึ้นสู่ดินแดนล้านนาตะวันออก เป็น เมืองก่อนประวัติศาสตร์ ตัวเมืองเดิมชื่อ บางโพท่าอิฐ ได้รับการยกฐานะเป็นจังหวัดเมื่อ พ.ศ. 2476 “อุตรดิตถ์” หมายถึง เมืองท่าแห่งทิศเหนือ เป็นเมืองตำนานแม่ม่ายลับแล และเมืองถิ่นกำเนิดของวีรบุรุษกู้ชาติ “พระยา พิชัยดาบหัก” ทหารเอกสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ โดยทางรถยนต์ 491 กิโลเมตร และ โดยทางรถไฟ 485 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้

ทิศเหนือ ติดกับ จังหวัดแพร่และจังหวัดน่าน

ทิศใต้ ติดกับ จังหวัดพิษณุโลก

ทิศตะวันออก ติดกับ จังหวัดพิษณุโลก และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีเขา

ชายแดนยาวประมาณ 145 กิโลเมตร

ทิศตะวันตก ติดกับ จังหวัดสุโขทัย

1.2 ภาพพื้นที่และลักษณะภูมิประเทศ แบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ คือ

ที่ราบลุ่มแม่น้ำน่าน บริเวณสองฝั่งของแม่น้ำน่าน และลำน้ำสาขาที่ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำ

น่าน สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่ม อยู่ในเขต อำเภอตรอน พิชัย และบางส่วนของ อำเภอเมือง

อุตรดิตถ์ ลับแล และอำเภอทองแสนขัน (ประมาณ 20% ของพื้นที่ทั้งหมด)

ที่ราบระหว่างหุบเขาและเชิงเขา บริเวณที่อยู่ต่อเนื่องจากบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำทางด้านเหนือและด้านตะวันออกของจังหวัด ประกอบด้วยที่ราบแคบๆ ระหว่างหุบเขาตามแนวคลองตรอน แม่น้ำ

ปาด คลองแม่พร่อง ห้วยน้ำไคร้ และลำธารสายต่างๆ สลับกับภูมิประเทศเป็นเขาอยู่ในเขตอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ลับแล น้ำปาด ฟากท่า ท่าปลาและอำเภอบ้านโคก (ประมาณ 20% ของพื้นที่ทั้งหมด)

เขตภูเขาและที่สูง อยู่ในบริเวณทางด้านเหนือ และทางตะวันออกของจังหวัด โดยเฉพาะ

เขตอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ อำเภอลับแล น้ำปาด ฟากท่า ท่าปลา และอำเภอบ้านโคก (ประมาณ 60% ของพื้นที่ทั้งหมด)


1.3 ลักษณะภูมิอากาศ

เนื่องจากทำเลที่ตั้งดังกล่าวจึงทำให้จังหวัดอุตรดิตถ์มีอากาศค่อนข้างร้อนอบอ้าวในฤดูร้อน

มีอากาศฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดูฝน และมีช่วงฤดูแล้งคั่นอยู่อย่างชัดเจนตั้งแต่ประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤษภาคม เดือนที่ร้อนที่สุดคือเดือนเมษายน จังหวัดอุตรดิตถ์ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงใต้เป็นส่วนใหญ่ มรสุมตะวันออกเฉียงใต้ปกติจะมีแหล่งกำเนิดบริเวณทะเลอันดามัน ทำให้จังหวัดอุตรดิตถ์มีช่วงฤดูฝนกินระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนกันยายน โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยสูงที่สุด

ภูมิอากาศของจังหวัดอุตรดิตถ์เป็นภูมิประเทศเขตฝนเมืองร้อน (Tropical savannah climate :

A.W) เขตภูมิอากาศแบบร้อนชื้น ซึ่งช่วงฝนกับช่วงที่แห้งแล้งแตกต่างกันอย่างชัดเจน ฝนที่ตกในบริเวณจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นฝนที่เกิดจากอิทธิพลลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ฝนจะเริ่มตกในเดือนพฤษภาคมและจะตกชุกในเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน


1.4 การใช้พื้นที่

พื้นที่ทั้งหมด 7,838 ตารางกิโลเมตร หรือ 4,899,120 ไร่ หรือ 4,941,115.24 ไร่ เป็นอันดับที่ 11 ของ 17 จังหวัดภาคเหนือ : อันดับที่ 25 ของประเทศ

การใช้ที่ดิน

1) พื้นที่ป่าไม้ 2,740,786 ไร่ หรือร้อยละ 55.94% ของพื้นที่ทั้งหมด

2) พื้นที่การเกษตร 1,248,372 ไร่ หรือร้อยละ 25.48% ของพื้นที่ทั้งหมด

3) พื้นที่ชุมชน สิ่งปลูกสร้าง และอื่นๆ 858692 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 17.35% ของพื้นที่ทั้งหมด

4) พื้นที่แหล่งน้ำ 51,270 ไร่ หรือร้อยละ 1.05% ของพื้นที่ทั้งหมด