การใช้แผนที่กับจังหวัดอุตรดิตถ์

แผนที่

แผนที่ คือเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่แสดงลักษณะ พื้นผิวโลก โดยการย่อส่วนและใช้สัญลักษณ์เช่น สี เพื่อแทนสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดจากธรรมชาติและที่มนุษย์ สร้างขึ้นบนพื้นผิวโลกโดยจัดทำลงบนวัสดุแผ่นราบ แผนที่จะมีข้อมูลลักษณะทางกายภาพ ทรัพยากร และสถานที่สำคัญของจังหวัด เราจึงควรรู้จักแผนที่ เพื่อจะได้นำไปใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษาข้อมูล

สามารถแบ่งแผนที่ตามลักษณะการใช้งานออกเป็น ๒ ชนิด คือ แผนที่ อ้างอิง และแผนที่เฉพาะเรื่อง

แผนที่อ้างอิง เป็นแผนที่พื้นฐานสำหรับนำไปพัฒนาเป็นแผนที่ชนิด อื่นต่อไปแผนที่อ้างอิงที่สำคัญ ได้แก่แผนที่ลักษณะภูมิประเทศซึ่งจะแสดง ลักษณะทางกายภาพต่าง ๆ ของพื้นที่ไว้เช่นอาณาเขต ความสูงความต่ำ ของพื้นที่ ภูเขา แหล่งน้ำ ป่าไม้

แผนที่เฉพาะเรื่อง เป็นแผนที่แสดงข้อมูลเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อให้ดูหรืออ่านทำความเข้าใจได้ง่าย เช่น แผนที่รัฐกิจ แสดงที่ตั้งของเขต อำเภอ จังหวัด แผนที่ป่าไม้แสดงพื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทย แผนที่ท่องเที่ยว แสดงสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัด แผนที่ทางหลวง แสดงเส้นทางการคมนาคมขนส่งทางถนน

องค์ประกอบของแผนที่

แผนที่แต่ละประเภทมีการแสดงข้อมูลที่แตกต่างกัน เพื่อช่วยให้ สามารถใช้แผนที่ได้ถูกต้อง เราจึงต้องรู้จักองค์ประกอบสำคัญของแผนที่ ซึ่งแผนที่โดยทั่วไปมีองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ องค์ประกอบสำคัญของแผนที่

1. ชื่อแผนที่ จะอยู่ด้านบนสุดหรือด้านล่างของแผนที่ แผนที่บางประเภท อาจมีข้อความบอกรายละเอียดเพิ่มเติม เช่น แผนที่พื้นที่ลุ่มน้ำของ ประเทศไทย

2. สี เป็นสิ่งที่ใช้แทนลักษณะทางกายภาพของสิ่งที่ปรากฏบนพื้นผิวโลก

3. ทิศ จะใช้ทิศเหนือเป็นทิศหลัก โดยมีลูกศรหรือสัญลักษณ์อื่นๆ พร้อมตัว อักษร น หรือ N กำกับไว้เพื่อให้ผู้ใช้รู้ทิศทางของสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ในแผนที่ หากแผนที่ไม่มีสัญลักษณ์ระบุทิศกำกับไว้ให้ถือว่าด้านบนเป็นทิศเหนือ

4. มาตราส่วน  เป็นการบอกความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางในแผนที่กับ ระยะทางในภูมิประเทศจริง

5. สัญลักษณ์  เป็นรูปเรขาคณิต หรือเส้น ที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้แสดงข้อมูล ของสิ่งต่าง ๆ ที่ปรากฏ เนื่องจากแผนที่มีพื้นที่จำกัด จึงไม่สามารถใส่ รายละเอียดเหมือนของจริงได้ทั้งหมด จึงจำเป็นต้องใช้สัญลักษณ์แทน เพื่อให้แผนที่เหมาะสมต่อการใช้งาน และทำความเข้าใจได้ง่าย

วิธีการสืบค้นด้วยแผนที่

การสืบค้นและอธิบายข้อมูลด้วยแผนที่ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแผนที่ จะเป็นพื้นฐานที่ทำให้เราสามารถ สืบค้นและอธิบายข้อมูลจังหวัดของเราด้วยแผนที่ได้ปัจจุบันมีแผนที่ที่ให้ ข้อมูลเกี่ยวกับจังหวัดจำนวนมากก่อนที่เราจะนำแผนที่ไปใช้งานควรทราบ หลักการเบื้องต้นในการใช้แผนที่ ดังนี้

สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ควรเลือกใช้แผนที่ให้สอดคล้องกับกิจกรรมที่ต้องใช้งาน เช่น หากต้องการสืบค้นหรืออธิบายขอบเขตของจังหวัด อำเภอ ควรใช้ แผนที่รัฐกิจแสดงอาณาเขต

น่าเชื่อถือ ควรเลือกใช้แผนที่ที่ผลิตจากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือเป็นที่ยอมรับ ได้แก่ หน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานเอกชนที่มีประสบการณ์ด้านแผนที่ รวมถึงมีวิธีการจัดทำที่ได้มาตรฐาน

ทันสมัย ควรเลือกใช้แผนที่ที่เป็นปัจจุบัน หรือใกล้เคียงกับปัจจุบัน เพื่อให้ได้ ข้อมูลที่ทันสมัย ซึ่งในแผนที่ส่วนใหญ่จะระบุปีที่จัดทำไว้ให้แล้ว

ผสมผสาน เนื่องจากแผนที่แต่ละแบบมีข้อดีและข้อจำกัด การใช้แผนที่แบบ ผสมผสานในการศึกษาเรื่องราวจังหวัด จะทำให้ได้ข้อมูลที่หลากหลาย และ ยังเป็นการตรวจสอบความคลาดเคลื่อนของข้อมูลได้อีกทางหนึ่ง

ดูง่าย ชัดเจน ควรเลือกแผนที่ที่มีสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่สามารถเข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน รวมถึงแผนที่ควรมีขนาดใหญ่ เพื่อให้เห็นข้อมูลได้ชัดเจน