เนื้อหาบทเรียน

ความหมายของการฟังและการดู

การฟังและการดู หมายถึง การที่มนุษย์รับรู้เรื่องราวต่างๆ จากแหล่งของเสียงหรือภาพ หรือเหตุการณ์ ซึ่งเป็นการฟังจากผู้พูดโดยตรงหรือฟังและดูผ่านอุปกรณ์ หรือสิ่งต่างๆ แล้วเกิดการรับรู้แล้วนาไปใช้ประโยชน์ได้ โดยต้องศึกษาจนเกิดความถูกต้องว่องไวได้ ประสิทธิภาพ

หลักของการฟังและดูที่ดี

1) ต้องรู้จุดมุ่งหมายของการฟังและการดูและต้องจดบันทึกเพื่อเตือนความจำ

2) ต้องฟังและดูโดยปราศจากอคติ เพื่อการวิเคราะห์วิจารณ์ที่ตรงประเด็น

3) ให้ความร่วมมือในการฟังและการดู ด้วยการร่วมกิจกรรม

2. จุดมุ่งหมายของการฟังและการดู

2.1 ฟังและดูเพื่อความรู้ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องทางวิชาการเพื่อพัฒนาสติปัญญาของตน

2.2ฟังและดูเพื่อความเพลิดเพลิน ได้แก่ การฟังเพลง ฟังดนตรี ดูภาพยนตร์ดูภาพสวยงาม ฟังนิทาน เป็นต้น

2.3 ฟังและดูเพื่อความซาบซึ้งต้องมีพื้นฐานในเรื่องที่ฟังและดู จึงจะเกิดประโยชน์เช่น ฟังบทกลอน กวีนิพนธ์ ดูภาพนามธรรมต่างๆ

3. การฟังและดูเพื่อวิเคราะห์เรื่องจากสารเป็นทักษะต่อจากการฟังและดู แล้วสรุปและจับใจความสำคัญ แล้ววิเคราะห์ว่าสิ่งใดเป็นข้อเท็จจริง สิ่งใดเป็นข้อคิดเห็น สิ่งใดเป็นเหตุ สิ่งใดเป็นผล เพื่อจะใช้ข้อมูลในการประเมินค่าและการตัดสินใจ

จุดมุ่งหมายของการฟังและการดู

การฟังและการดูเป็นทักษะทางภาษาที่สำคัญในการสื่อสารในชีวิตประจำวัน โดยอาจได้รับสารจากบุคคลหรือจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ สื่อเหล่านี้อาจรับสารด้วยวิธีการฟังหรือการดูในลักษณะตอบโต้หรือสื่อสารทาง เดียวก็ได้ จุดมุ่งหมายของการฟังและการดูมีดังนี้


1. เพื่อติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน เป็นการฟังและการดูที่ต้องใช้สติปัญญาและวิจารณญาณ ตลอดจนทักษะในการตัดสินใจ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอย่างฉับไว

2. เพื่อความเพลิดเพลิน เป็นการฟังและดูเพื่อความสนุกสนาน ผ่อนคลาย และคล้อยตามไปกับเรื่องที่ฟังและดู เช่น ฟังและดูดนตรี นิยาย ละคร บทร้อยกรอง โดยผู้ฟังและดูควรมีความรู้ในเรื่องที่ฟังและดูพอสมควร

3. เพื่อรับความรู้ เป็นทักษะที่ผู้รับสารใช้มากที่สุดในชีวิตประจำวัน เช่น ฟังคำอบรมสั่งสอนของพ่อแม่ ฟังครูอธิบาย ผู้ฟังต้องฝึกทักษะการจับใจความ และฝึกการบันทึกช่วยจำ

4. เพื่อได้คติชีวิตและความจรรโลงใจ เป็นการฟังเพื่อเก็บเกี่ยวความรู้และประสบการณ์ เพื่อกลั่นกรองความรู้ ความคิดเหล่านั้นมาเป็นองค์ความรู้ เพื่อเป็นความคิดและประสบการณ์ของตนเอง เพื่อให้เกิดคุณค่าในชีวิต


การจับใจความ

การจับใจความสำคัญ เป็นการอ่าน/ฟังเพื่อให้ทราบว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ และผลเป็นอย่างไร เเล้วจดบันทึกใจความสำคัญนั้นไว้หลักการจับใจความสำคัญ มีวิธีปฏิบัติดังนี้

1. ตั้งใจอ่าน/ฟังเรื่อง

2. คิดตั้งคำถาม และตอบคำถามจากเรื่อง ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ ผลเป็นอย่างไร และให้ข้อคิดอย่างไร แล้วเขียนเป็นแผนภาพโครงเรื่อง

3. เขียนเรียบเรียงสรุปใจความสำคัญของเรื่องด้วยสำนวนภาษาของตนเอง

4. อ่านทบทวน เพื่อตรวจสอบความเรียบร้อย และความถูกต้อง

การสรุปประเด็น

ประเด็นคือ สาระสำคัญ ใจความสำคัญ แก่นของเรื่อง ดังนั้นเราจึงต้องฝึกทักษะในการจับประเด็นเพราะเราต้องสื่อสารและรับสารจากผู้อื่น