หน่วยที่ 3 การเขียนโปรแกรมภาษา Visual Basic เบื้องต้น

ในหน่วยเรียนนี้เป็นหน่วยเริ่มแรกสำหรับการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Visual Basic โดยเป็นการทำความเข้าใจตั้งแต่เบื้องต้นของการเขียนโปรแกรม

3.1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ Visual Basic

Visual Basic เป็นภาษาที่ใช้สําหรับ การเขียนโปรแกรมบนคอมพิวเตอร์ภาษาหนึ่ง ปัจจุบันถูกคิดค้นการทําความเข้าใจตั้งและพัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์ (Microsoft) ซึ่งวัตถุประสงค์ของภาษา Visual Basicก็เพื่อนําไว้ใช้สำหรับการพัฒนาโปรแกรมที่ทํางานอยู่บนระบบปฏิบัติการ Windows นั้นเอง และเป็นภาษาที่ใช้เขียน แกรมที่ค่อนข้างจะศึกษาทําความเข้าใจได้โดยง่าย เนื่องจากภาษามีความยืดหยุ่นสูง และชื่อคําสั่งต่างๆ ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับภาษาอังกฤษ ที่คุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว ในปัจจุบัน Visual Basic จะติดตั้งมาพร้อมกับเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรมในชุด Visual Studio ทําให้นักพัฒนาโปรแกรมเรียนรู้และใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย

หัวข้อนี้เป็นการแนะนําเพื่อทําความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับภาษา Visual Basic ดังนี้

1. Visual Basic เรียกโดยย่อว่า VB (วีบี) ต่อไปในหนังสือเล่มนี้หากเขียนย่อว่า VB หมายถึง Visual

Basic

2. การพัฒนาโปรแกรมโดยใช้ VB ปัจจุบันใช้โปรแกรมในชุด Visual Studio ในการพัฒนา ซึ่งใน หนังสือเล่มนี้ใช้โปรแกรม Visual Studio Version 2012 (Express Edition)

3. ตัวแปรของภาษาหรือคําสั่งใด ๆ ของภาษา VB ไม่คํานึงถึงตัวพิมพ์เล็ก หรือพิมพ์ใหญ่ หมายความว่า ถ้ามีการประกาศตัวแปรชื่อ man ผู้เขียนโปรแกรมอาจจะเรียกใช้ตัวแปรนี้โดยการพิมพ์ว่า MAN ก็ได้เช่นเดียวกัน

4. ปัจจุบันการเขียนโปรแกรมด้วย VB จะเขียนอยู่ในรูปแบบของ OOP หรือ Object Oriented Programming

5. การเขียนคําสั่ง (Code) จะจบประโยคคําสั่งด้วยการกด Enter เพื่อลงบรรทัดใหม่

6. การเขียนคอมเมนท์ (Comment) ภายในโค้ดโปรแกรม VB ใช้สัญลักษณ์ Single Quote (1) การ คอมเมนท์เพื่อการอธิบายโปรแกรม และข้อความหลังเครื่องหมาย Single Quote จะไม่ถูกตีความทาง โปรแกรมมิ่ง

ข้อมูลข้างต้นที่กล่าวมา แนะนําให้ผู้เรียนเข้าใจในเบื้องต้น เพื่อทําความเข้าใจภาพรวมของการเขียน โปรแกรมโดยใช้ภาษา Visual Basic


3.2 ทําความรู้จักกับตัวแปรของ VB

การศึกษาด้านการเขียนโปรแกรมในทุกภาษาคอมพิวเตอร์ สิ่งแรกที่ผู้เรียนต้องทาความเข้าใจคือเป็น ของตัวแปร (Variable) เนื่องจากเป็นส่วนที่สําคัญอันดับต้น ๆ ในการเขียนโปรแกรมภาษา VB เช่นเดียวกัน ผู้เรียนควรเริ่มจากการศึกษาถึงการประกาศ การใช้งาน ตัวแปรเป็นเบื้องต้นก่อน ดังนี้

3.2.1 ตัวแปรคืออะไร

ตัวแปร (Variable) คือ ตัวแทนของข้อมูลภายในระบบโปรแกรม เพื่อนําไว้ใช้อ้างถึงข้อมูลนั้น ๆ ภายในโปรแกรม ยกตัวอย่างเช่น Num = 125 หมายถึง ตัวแปร Num ในที่นี้เป็นตัวแทนของตัวเลข 125 ซึ่ง เมื่อนําไปประมวลผลภายในโปรแกรมแล้ว ต่อมาตัวแปร Num นี้อาจจะเก็บค่าเป็น Num = 16 ดังนั้น จึงเรียกว่าตัวแปร คือ มีการเปลี่ยนแปรไปตามการประมวลผลของโปรแกรมได้เสมอ และตลอดเวลา

3.2.2 กฎการตั้งชื่อตัวแปร

ก่อนทําการประกาศตัวแปรขึ้นมาใช้งานภายในโปรแกรม สิ่งที่ต้องเรียนรู้เป็นอันดับแรกคือ การตั้งชื่อตัวแปร ซึ่งมีกฏเกณฑ์การตั้งชื่อสําหรับตัวแปร ดังนี้

1. ชื่อตัวแปรไม่ขึ้นต้นด้วยตัวเลข เช่น 2name แบบนี้ผิด แต่ถ้าเป็น name2 แบบนี้สามารถ ใช้ได้

2. ชื่อตัวแปรไม่ใช้ตัวอักษรพิเศษใด ๆ เช่น @ # $ % - + เหล่านี้ห้ามใช้ แต่สามารถใช้ (Underscore) ได้ เช่น Num_1 เป็นต้น

3. ชื่อตัวแปรห้ามมีการเว้นช่องว่าง

4. ชื่อตัวแปรห้ามใช้ภาษาไทย

5. การตั้งชื่อตัวแปรที่ดีควรตั้งชื่อให้สื่อความหมายกับข้อมูลที่จะจัดเก็บ เช่น num เพื่อเก็บค่า เป็นตัวเลข เป็นต้น


ตารางที่ 3.1 การตั้งชื่อตัวแปรที่ถูกต้อง


3.2. 3 การประกาศตัวแปรของ VB

การประกาศตัวแปร เป็นการเขียนเพื่อเป็นการระบุว่า ภายในโปรแกรมจะมีการใช้งานตัวแปร ชื่ออะไรบ้าง และตัวแปรที่จะใช้นั้นแต่ละตัวแปรเก็บข้อมูลประเภทใดไว้

สําหรับภาษา VB มีการประกาศตัวแปร โดยการระบุ Keyword ว่า Dim ไว้หน้าชื่อตัวแปร แล้วตาม

keyword ว่า As แล้วตามด้วยประเภทของข้อมูลที่ตัวแปรนั้นจะเก็บค่าไว้ ตัวอย่างเช่น



ในตัวอย่างข้างต้น เป็นการประกาศตัวแปร Num สําหรับการเก็บค่าประเภทตัวเลข (Integer) และ ตัวแปร Str สําหรับการเก็บค่าแบบตัวหนังสือ ข้อความ (String) ซึ่งประเภทข้อมูลของตัวแปรที่สามารถ นํามาใช้กับการประกาศตัวแปรได้ แสดงดังตารางที่ 3.2

ตารางที่ 3.2 ประเภทข้อมูลสำหรับ VB 2012




ตารางที่ 3.2 (ต่อ) ประเภทข้อมูลสำหรับ VB 2012

3.2.4 การกําหนดค่าให้กับตัวแปร

เมื่อมีการประกาศตัวแปรแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการกําหนดค่าให้กับตัวแปรที่ได้ประกาศ โดยการกําหนดค่าให้กับตัวแปรนั้น จะใช้เครื่องหมายเท่ากับ (=) ในการกําหนดค่าให้กับตัวแปร ดังนี้




*ถ้าค่าที่เป็นตัวอักษรข้อความ (String) ค่านั้นต้องอยู่ภายในเครื่องหมายคําพูดเท่านั้น เช่น Dim name As String = "Sittichai"