หน่วยที่ 10 การพัฒนาโปรแกรมด้วย Visual Basic

ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรม

ในหน่วยการเรียนรู้ที่ 10 นี้จะอธิบายถึงขั้นตอนในการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ พร้อมทั้ง ตัวอย่างการพัฒนาโปรแกรมที่สามารถแกรมที่สามารถนําไปใช้งานได้จริงบนระบบคอมพิวเตอร์ โดยยกตัวอย่าง แกรมสําหรับการจดบันทึก DW Notepad เป็นตัวอย่างในการพัฒนาโปรแกรมในหน่วยการเรียนรู้นี้


10.1 ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรม

ในการพัฒนาโปรแกรมนั้นจะเริ่มจากมีความต้องการที่จะใช้งานโปรแกรมขึ้นมาก่อน ซึ่งเรียกว่า Requirement โดยที่ Requirement นี้อาจมาจากผู้ใช้งานในองค์กร ลูกค้า หรืออื่น ๆ และเมื่อนักพัฒนา โปรแกรมได้รับ Requirement แล้ว นักพัฒนาโปรแกรมจะน้ํา Requirement นั้นเข้าสู่ขั้นตอนของการ พัฒนาโปรแกรมต่อไป ซึ่งขั้นตอนของการพัฒนาโปแกรมมีอยู่ 7 ขั้นตอน ดังนี้

1. การวิเคราะห์ปัญหา (Analysis)

2. การออกแบบโปรแกรม (Program Design)

3. การเขียนโปรแกรม (Program Coding)

4. การทดสอบและแก้ไขโปรแกรม (Program Testing & Verification)

5. การจัดทําเอกสารและคู่มือการใช้งาน (Program Documentation)

6. การใช้งานจริง (Program Implement)

7. การปรับปรุงโปรแกรม (Program Maintenance) ขั้นตอนต่าง ๆ ข้างต้นสามารถเขียนเป็นลําดับการทํางานในรูปแบบของแผนภาพ


ตัวอย่างการพัฒนาโปรแกรมโดย Visual Basic

10 .2 ตัวอย่างการพัฒนาโปรแกรมโดย Visual Basic

ในหน่วยการเรียนรู้นี้จะทําการยกตัวอย่างการพัฒนาโปรแกรมสําหรับการบันทึกข้อความ โดย โปรแกรมลักษณะนี้ที่ใช้งานอยู่เป็นประจํา คือโปรแกรม Notepad ที่ติดมากับระบบ Windows ซึ่งโปรแกรม โปรแกรม ดังนี้ ที่ผู้เขียนจะยกตัวอย่างมานี้ ผู้เขียนตั้งชื่อโปรแกรมว่า DW Notepad โดยมีลําดับขั้นตอนของการพัฒนาโปรแกรม ดังนี้


รูปที่ 10.3 โปรเเกรม Notepad ที่มากับ Windows


10.2.1 ความต้องการของโปรแกรม (Requirement)

ดังที่กล่าวไปข้างต้นมาแล้วว่าก่อนจะเข้าสู่ขั้นตอนของการพัฒนาโปรแกรม ต้องผ่านขั้นตอน ของการรับรู้ความต้องการของโปรแกรมที่จะพัฒนาขึ้นเสียก่อน โดยในตัวอย่างโปรแกรมที่ยกตัวอย่างมานี้ มีความต้องการของโปรแกรม ดังนี้

- เป็นโปรแกรมที่ใช้บันทึกข้อความและสามารถบันทึกเก็บเป็นไฟล์ได้

- เป็นโปรแกรมที่ต้องทํางานอยู่บนระบบปฏิบัติการ Windows

10.2.2 ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรม

เมื่อทราบถึงความต้องการของโปรแกรมแล้ว จากนั้นจึงเข้าสู่ขั้นตอนของการพัฒนา โปรแกรมต่อไป ซึ่งมีลําดับขั้นตอน ดังนี้

1. การวิเคราะห์ปัญหา (Analysis)

การวิเคราะห์ปัญหาเป็นขั้นตอนที่ทางนักพัฒนาโปรแกรมจะทําการวางขอบเขตของ โปรแกรมและหาแนวทางในการพัฒนาโปรแกรม เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของโปรแกรมที่ได้รับมา ซึ่งจากความต้องการของโปรแกรมในขั้นตอนที่ผ่านมา สามารถเขียนเป็นรายละเอียดของการวิเคราะห์ ปัญหาได้ ดังนี้

จุดประสงค์ของโปรแกรม: เพื่อพัฒนาโปรแกรมสําหรับใช้ในการบันทึกข้อความ และ เก็บในรูปแบบของไฟล์คอมพิวเตอร์

ข้อมูลนําเข้า/ออกจากโปรแกรม: จากการพิมพ์ผ่านแป้นพิมพ์ของผู้ใช้งาน และนํา ข้อมูลออกมาในรูปแบบของไฟล์คอมพิวเตอร์

วิธีการประมวลผล: ใช้การประมวลผลกระทํากับไฟล์ (File)

2. การออกแบบโปรแกรม (Program Design)

ขั้นตอนต่อมาหลังจากที่ได้ทําการวิเคราะห์แล้ว ให้ทําการออกแบบโปรแกรม โดย เครื่องมือที่ใช้ในการออกแบบโปรแกรมนั้นมีอยู่หลากหลายวิธี ในที่นี้ผู้เขียนจะใช้ Flow Chart เป็นเครื่องมือ ที่ใช้ในการออกแบบระบบโปรแกรม DW Notepad ที่จะพัฒนาขึ้น ดังในรูปที่ 10.4

เมื่อทําการออกแบบระบบการทํางานของโปรแกรมแล้ว จากนั้นทําการออกแบบหน้าจอ ของโปรแกรมขึ้นมา โดยใช้ Visual Studio ตามขั้นตอนที่ได้เคยปฏิบัติผ่านมาแล้วจากหน่วยการเรียนรู้อื่น ๆ ที่ผ่านมา ซึ่งทําการออกแบบหน้าจอโดยการใช้คอนโทรล MenuStrip สําหรับการสร้างเมนูและ TextBox สําหรับให้ผู้ใช้งานพิมพ์ข้อความ เมื่อออกแบบแล้วจะได้หน้าจอของโปรแกรมดังรูปที่ 10.5

เมื่อทําการวางคอนโทรลตามที่กล่าวมาแล้ว จากนั้นให้ทําการกําหนดคุณสมบัติให้แก่ - คอนโทรลต่าง ๆ ดังในตารางที่ 10.1


ตารางที่ 10.1 การกําหนดคุณสมบัติให้กับคอนโทรล

ตารางที่ 10.1 (ต่อ) การกําหนดคุณสมบัติให้กับคอนโทรล


3. การเขียนโปรแกรม (Program Coding)

จากการออกแบบโปรแกรมที่ผ่านมา ต่อมาจึงเป็นขั้นตอนของการเขียนโปรแกรม เพื่อให้ โปรแกรมมีการประมวลผลตามที่ได้ออกแบบระบบโปรแกรมไว้

แต่ก่อนที่จะทําการเขียนโค้ดโปรแกรม DW Notepad จําเป็นต้องมีการใช้งานคอนโทรลอื่น ๆ เพิ่มเติม โดยคอนโทรลที่จะใช้งานเพิ่มเติมนี้จะอยู่ในกลุ่ม Dialog ให้ทําการเลือกวางคอนโทรลต่อไปนี้ลงบน ฟอร์มโปรแกรม

- OpenFileDialog คอนโทรลที่ทําหน้าที่เกี่ยวกับการเปิดไฟล์ (OpenFileDialog1)

- SaveFileDialog คอนโทรลที่ทําหน้าที่เกี่ยวกับการบันทึกไฟล์ (SaveFileDialog1) การวางคอนโทรลทั้ง 2 ให้ดูรูปที่ 10.6 และ 10.7 ประกอบ

เมื่อวางคอนโทรลดังกล่าวแล้ว ต่อมาทําการเขียนโค้ดกับเมนูต่าง ๆ เพื่อให้มีการประมวลตามเมนูที่ ผู้ใช้งานโปรแกรมเลือกใช้งาน ซึ่งโค้ดโปรแกรมมีดังรูปที่ 10.8 - 10.11


4. การทดสอบและแก้ไขโปรแกรม (Program Testing & Verification)

เมื่อได้ทําการพัฒนาโปรแกรมจนสามารถเขียนโปรแกรมได้เสร็จสิ้นแล้ว จากนั้นทําการ ทดสอบการใช้งานของโปรแกรมที่สร้างขึ้น ซึ่งการทดสอบโปรแกรมนี้ เป็นขั้นตอนที่สําคัญก่อนที่จะนํา โปรแกรมไปให้ผู้ใช้งานต่อไป สําหรับการทดสอบโปรแกรม DW Notepad ที่สร้างขึ้นนี้ สามารถทดสอบได้ โดยการกดปุ่ม F5 ที่แป้นพิมพ์ จากนั้นทําการทดสอบโดยการเลือกคลิกไปตามเมนูต่าง ๆ และทดสอบการ

ใช้งาน เช่น ทดสอบการเปิดไฟล์ ทดสอบการพิมพ์ข้อความแล้วบันทึกไฟล์ เป็นต้น ซึ่งแสดงการทดสอบเป็น ตัวอย่างไว้ในรูปที่ 10.12 - 10.14

การทดสอบโปรแกรมที่ผ่านมา หากโปรแกรมมีการทํางานผิดพลาดเกิดขึ้น ผู้พัฒนาโปรแกรมต้อง ปรับปรุงแก้ไขให้โปรแกรมสามารถใช้งานได้โดยสมบูรณ์ที่สุด ซึ่งข้อผิดพลาดของโปรแกรมที่เกิดขึ้น โดยทั่วไปจะมีข้อผิดพลาดอยู่ 2 รูปแบบ คือ

1. Syntax Error คือ ข้อผิดพลาดที่เกิดการไวยากรณ์ทางภาษาโปรแกรมมิ่งที่เขียนไม่ถูกต้อง

2. Logic Error คือ ข้อผิดพลาดที่เกิดจากการประมวลผลผิดพลาด อาจเกิดขึ้นจาก การที่นักพัฒนา วางแนวคิดการเขียนโปรแกรมที่ไม่ดีพอ เช่น ต้องการบวกตัวเลข 10 กับเลข 10 ซึ่งจะได้ผลลัพธ์เป็น 20 (10 + 10 = 20) แต่เมื่อโปรแกรมประมวลผลกลับได้ผลลัพธ์เป็น 1010 เป็นต้น ซึ่งข้อผิดพลาดลักษณะนี้ เป็นข้อผิดพลาดที่ตรวจสอบได้ยากกว่าข้อผิดพลาดที่เกิดจาก Syntax Error

5. ขั้นตอนการพัฒนาอื่นๆ

สําหรับขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมอื่น ๆ กล่าวโดยสรุป ดังนี้

การจัดทําเอกสารและคู่มือการใช้งาน (Program Documentation) เป็นขั้นตอน หลังจากโปรแกรมที่ได้พัฒนามีความสมบูรณ์พร้อมที่จะนําไปใช้งานจริงแล้ว นักพัฒนาโปรแกรมจะจัดทํา คู่มือการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้ผู้ใช้งานโปรแกรมได้ศึกษาการใช้งานโปรแกรมได้อย่างเข้าใจ

การใช้งานจริง (Program Implement) ในขั้นตอนนี้ คือการนําเอาโปรแกรมที่พัฒนาได้ ส่งต่อให้แก่ผู้ใช้งานได้นําไปใช้งานจริง หรือเป็นการติดตั้งโปรแกรมที่พัฒนาได้ให้กับระบบเพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้งาน

การปรับปรุงโปรแกรม (Program Maintenance) ถึงแม้ว่าโปรแกรมได้ทําการพัฒนา จนสามารถนําไปใช้งานจริงได้แล้ว แต่เมื่อเวลาผ่านไป โปรแกรมที่ได้ใช้งานไปแล้ว อาจเกิดการล้าสมัย ไม่ ทันต่อเหตุการณ์ที่เปลี่ยนไป หรือมีการทํางานที่ไม่สอดคล้องต่อการใช้งานของผู้ใช้งาน นักพัฒนาโปรแกรม จึงต้องมีการปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้โปรแกรมมีความทันสมัยและตอบสนองต่อการใช้งานของผู้ใช้ได้ตามที่ ต้องการ

สรุปสาระสําคัญ

ในหน่วยการเรียนรู้นี้ ผู้เรียนได้เรียนรู้ถึงขั้นตอนในการพัฒนาโปรแกรม โดยศึกษาผ่านการพัฒนา โปรแกรมที่สามารถนําไปใช้งานได้จริง ซึ่งจะทําให้ผู้เรียนได้มองภาพรวมของการพัฒนาโปรแกรมโดยใช้ Visual Basic ได้เป็นอย่างดี และสามารถนําไปพัฒนาต่อยอดการเรียนรู้ได้ต่อไป