1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด 

สาระที่ 4 ประวัติศาสตร์ 

มาตรฐาน ส ๔.1 เข้าใจความหมาย ความสำคัญของเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ สามารถใช้ วิธีการทางประวัติศาสตร์มาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ 

ตัวชี้วัด ป.4/2 อธิบายยุคสมัยในการศึกษาประวัติของมนุษยชาติโดยสังเขป 

ตัวชี้วัด ป.4/3 แยกแยะประเภทหลักฐานที่ใช้ในการศึกษาความเป็นมาของท้องถิ่น 

2. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด 

   หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่ควรจะกล่าวถึงในการศึกษาเกี่ยวกับสุโขทัย ประกอบไปด้วย หลักฐานที่เป็นและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ จารึก พระพุทธรูป โบราณสถาน และเครื่องกระเบื้อง สังคโลก ซึ่งสามารถใช้เป็นหลักฐานชั้นต้นได้เป็นอย่างดี ในส่วนของหลักฐานชั้นรองต้องอาศัยความเห็นของ นักวิชาการเป็นสำคัญ

3. จุดประสงค์การเรียนรู้ 

3.1 ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K) 

1) จำแนกลักษณะของหลักฐานทางประวัติศาสตร์อย่างง่าย ๆ 

2) อธิบายหลักเกณฑ์ในการแบ่งยุคของสุโขทัย 

3.2 ด้านทักษะ/กระบวนการ (P) 

- เลือกใช้หลักฐานในการศึกษาประวัติศาสตร์อาณาจักรสุโขทัยได้ถูกต้อง

 3.3 ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A) 

- เห็นคุณค่าของวิธีการทางประวัติศาสตร์ที่มีต่อการศึกษาประวัติศาสตร 

4.กิจกรรมการเรียนรู้

1. นักเรียนเตรียมอุปกรณ์ การเรียนให้พร้อม

 2. นักเรียนตอบคำถาม ทั้งนี้ไม่จำเป็นต้องตอบถูก เน้นการมีส่วนร่วมเพื่อขมวด ประเด็นก่อนนำเข้าสู่บทเรียน 

1. นักเรียนศึกษาใบความรู้ 

2. นักเรียนจดบันทึก 

1. นักเรียนศึกษาใบความรู้และใบ งานที่ 1 หลักฐานในการศึกษา ประวัติศาสตร์สุโขทัย

 2. ครูเฉลย คำตอบ 

3.นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม การเรียนรู้ 


5. สื่อการเรียนรู้/แหล่งการเรียนรู้ 

1) สื่อ PowerPoint เรื่อง หลักฐานในการศึกษาประวัติศาสตร์อาณาจักรสุโขทัย 

2) ใบความรู้ที่ 1 เรื่อง หลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย 

3) โบราณสถาน โบราณวัตถุในท้องถิ่นของนักเรียนปลายทาง 

4) นิทรรศการนครรัฐของสุวรรณภูมิ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

 5) ฐานข้อมูลจารึก ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (เข้าถึงได้จาก : https://db.sac.or.th/inscriptions/

6. การประเมินผลรวบยอด 

ชิ้นงานหรือภาระงาน 

- ใบงานที่ 1 เรื่อง หลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย