หลักฐานในการศึกษาประวัติศาสตร์สุโขทัย มี 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้ 

1. หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร สมัยสุโขทัยมีอย่างเดียว คือ จารึก สมัยนั้นยังไม่มีกระดาษ คนจึงต้องจดบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ลงบนแผ่นโลหะ แผ่นหิน บางทีก็เขียนบนเสา บนฝาผนัง บนฐานพระก็มีจารึกสุโขทัยส่วนใหญ่เกี่ยวกับการทำบุญ จารึกส่วนน้อยเล่าเรื่องวิถีชีวิตทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม จารึกกลุ่มหลังที่ควรรู้จัก ได้แก่ 

จารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช จารบนแผ่นหิน มี 4 ด้าน หน้าแรก พระองค์อาจจะเล่าเอง หน้าที่หลัง ๆ คนรุ่นหลานมาเขียนเติมจนครบทุกด้าน นักประวัติศาสตร์กำหนดอายุได้ว่าเป็นจารึกที่มีอายุเก่าที่สุด 

จารึกหลักที่ 2 ของพระมหาเถรศรีศรัทธา จารบนแผ่นหินที่มีขนาดใหญ่กว่าจารึกหลัก ที่ 1 เสียอีก ผู้เขียนเป็นเจ้านายสุโขทัยรุ่นเก่ากว่าพ่อขุนรามฯ ภายหลังออกบวช ได้เล่า เรื่องของพระองค์และบรรพบุรุษของพระองค์เอาไว้ ประวัติศาสตร์ช่วงก่อนพ่อขุนรามฯ ได้ข้อมูลจากจารึกหลักนี้


2. หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร 

โบราณสถาน คือ สิ่งก่อสร้างเก่าสมัยสุโขทัย มีทั้งที่เป็นเจดีย์และเป็นอาคาร แต่ส่วนที่ เป็นไม้ได้ชำรุดผุผังไปจนเหลือแต่โครงสร้างที่เป็นอิฐ หิน ปูน ส่วนใหญ่จะเป็น วัด กำแพงเมือง หรือสรีดภงษ์ (สะ-หรีด-พง) 

โบราณวัตถุ คือ สิ่งของเก่า ๆ สมัยสุโขทัยนั่นเอง ข้าวของที่ทำจากไม้หรือใบตองย่อย สลายไปหมดแล้ว เหลือแต่กระเบื้องและโลหะ ได้แก่ พระพุทธรูป เทวรูป ตลอดจน เครื่องกระเบื้องสังคโลก 

อย่าน้อยใจไป หลักฐานสมัยสุโขทัยมักจะพบในภาคกลางตอนบนเท่านั้น (ยกเว้นที่นำมา เก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์) ในภาคอื่นจะเจอหลักฐานแบบอื่น ขึ้นกับว่าในสมัยสุโขทัย ในช่วง เวลาร่วมสมัยกันนั้น ท้องถิ่นของนักเรียนอยู่ในอาณาจักรใด ยังมี อาณาจักรล้านนา สุพรรณภูมิ ละโว้-อโยธยา ศรีโคตรบูรณ์และตามพรลิงก์ ให้ได้ศึกษากันต่อไปอีก