ประวัติความเป็นมาของหลักสูตร

ประวัติความเป็นมาของหลักสูตรโดยย่อ

ปี พ.ศ. 2522 วิทยาลัยครูจันทรเกษมเปิดสอนระดับปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิตหลักสูตร 2 ปี (หลังอนุปริญญา) โปรแกรมวิชาจิตวิทยาและการแนะแนว และเปิดรับนักศึกษา โครงการฝึกอบรม ครูประจำการและบุคลากรทางการศึกษา (อคป.) ซึ่งการอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำการดำเนินงานต่อเนื่องกันมาถึง 9 รุ่น

ปี พ.ศ. 2529 วิทยาลัยเปิดรับนักศึกษา ตามโครงการจัดการศึกษาสำหรับบุคลากรประจำการ (กศ.บป.) วิทยาลัยเปิดสอนระดับปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิตหลักสูตร 2 ปี (หลังอนุปริญญา) โปรแกรมวิชาจิตวิทยาและการแนะแนว รุ่นที่ 1 โครงการจัดการศึกษาสำหรับบุคลากรประจำการดำเนินงานต่อเนื่องกันมาถึง 14 รุ่น

ปี พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานนามวิทยาลัยครูใหม่ว่า “สถาบันราชภัฏ” เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535 ดังนั้น วิทยาลัยครูจันทรเกษมจึงได้เปลี่ยนนามใหม่เป็น “สถาบันราชภัฏจันทรเกษม

ปี พ.ศ. 2541 สถาบันราชภัฏจันทรเกษมเปิดรับนักศึกษาภาคสมทบโปรแกรมจิตวิทยาและการแนะแนว หลักสูตร 2 ปี (หลังอนุปริญญา) รุ่นที่ 1 จนถึงปัจจุบัน เป็นรุ่นที่ 4 ในรุ่นที่ 5 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2544 เปิดรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี และหลักสูตรปริญญาตรี หลักสูตร 2 ปี (หลังอนุปริญญา)

ปี พ.ศ. 2518 ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว ได้เปิดสอนรายวิชาในโปรแกรมวิชาจิตวิทยาและการแนะแนว

ปี พ.ศ. 2549 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม เปิดสอนระดับปริญญาตรี หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา

ปัจจุบันหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา มีอาจารย์ประจำหลักสูตรและรับผิดชอบหลักสูตรจำนวน 5 คน โดยคณาจารย์มีคุณวุฒิทางการศึกษาระดับปริญญาเอกจำนวน 4 คน แบ่งเป็น สาขาจิตวิทยาการปรึกษา 2 คน สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ 1 คน และสาขาการศึกษานอกระบบโรงเรียน 1 คน และคณาจารย์ที่มีคุณวุฒิปริญญาโท สาขาจิตวิทยาการปรึกษา จำนวน 1 คน โดยจำแนกเป็นข้าราชการ 1 คน พนักงานมหาวิทยาลัย 4 คน มีนักศึกษาในความรับผิดชอบจำนวน 192 คน แบ่งเป็นนักศึกษาภาคปกติ ในเวลาราชการจำนวน 162 คน และภาคนอกเวลาราชการจำนวน 30 คน