แหล่งเรียนรู้ : ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด

ด้วยกรมประมงมีนโยบายที่จะขยายงานทางด้านประมง โดยจัดตั้งสถานีประมงขึ้นทั่วประเทศ โดยเฉพาะทางด้านประมงน้ำจืด สำหรับจังหวัดชัยภูมิ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด สถานที่ตั้ง 42 หมู่ 10 ตำบลละหาน อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ นั้นเป็นพื้นที่หนึ่งที่มีการเลี้ยงปลาน้ำจืดกันเป็นจำนวนมาก

ราษฏรมีปัญหาในด้านการเลี้ยงปลาและการจัดหาพันธุ์ปลา ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 นายเรืองชัย ประภากรแก้วรัตน์ ได้บริจาคที่ดินจำนวน 270 ไร่ ให้แก่ทางราชการ เพื่อจัดตั้งสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดชัยภูมิ มีอาณาเขตติดต่อกับบึงละหาน และได้ดำเนินการก่อสร้างสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดชัยภูมิ เสร็จในปี พ.ศ. 2531 มีพื้นที่ถือครอง จำนวน (249-2-96 ไร่)

ภารกิจ

ภารกิจ

1.ศึกษา ค้นคว้า วิจัย พัฒนา และกำกับดูแลงานวิจัยประมง ให้บรรลุผลตามเป้าหมายและสนองตอบต่อการพัฒนาประมงในพื้นที่รับผิดชอบ

2.ให้บริการและสนับสนุนการให้บริการทางวิชาการในการตรวจสอบกระบวนการผลิต และออกใบรับรองกระบวนการผลิตสัตว์น้ำเชิงพาณิชย์เพื่อให้ได้มาตรฐาน

3.กำกับดูแลด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การทำการประมงและการประกอบธุรกิจการประมง ให้เป็นไปตามกฎ ระเบียบ ข้อตกลง และมาตรฐานที่กำหนด กฎหมายว่าด้วยการประมง และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

4.ให้ความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตสัตว์น้ำเชิงพาณิชย์แก่เจ้าหน้าที่ของกรมประมงและเกษตรกร

5.บริหารงานให้เป็นไปตามแผนงานและโครงการ กำกับดูแลให้การจ่ายงบประมาณเป็นไปตามเป้าหมายของแผนงานและโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ

สภาพทางชีวภาพ

สภาพทางชีวภาพ

นก

บึงละหานมีระบบนิเวศที่มีความสภาพสมบูรณ์ ยังมีความอุดมสมบูรณ์อยู่มากทำให้มีนกหลากหลายสายพันธุ์เข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่ ซึ่งพบอย่างน้อย 56 ชนิด นกประจำถิ่น 24 ชนิด นกน้ำและนกชายเลน 27 ชนิด นกอพยพแต่มิใช่เพื่อการผสมพันธุ์ 29 ชนิดได้แก่ นกยางโทนน้อย นกยางโทนใหญ่ นกยางเปีย นกยางไฟธรรมดา นกยางไฟหัวดำ นกอพยพเพื่อการผสมพันธ์ 1 ชนิด ได้แก่ นกแอ่นทุ่งใหญ่ นกอพยพตามฤดูกาล 1 ชนิด ได้แก่ นกแซงแซวหางปลา นกที่อยู่ในสภาพใกล้สูญพันธุ์ ได้แก่ นกกระสานวล นกกระสาแดง นกกระแตหาง นกที่อยู่ในสภาพใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง ได้แก่ นกกระแตผีใหญ่ นกที่พบมาก ได้แก่ นกนางแอ่นทุ่งใหญ่ เป็ดแดง

ปลา

ปลาหมอช้างเหยียบ ปลาที่เป็นสัญลักษณ์ของบึงละหาน มีอาณาบริเวณที่กว้างใหญ่และมีน้ำตลอดทั้งปี ทำให้ปลาสามารถอาศัยและขยายพันธุ์ได้ดี พบปลาอย่างน้อย 25 ชนิด ชนิดที่อยู่ในสภาพมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ ได้แก่ ปลาดุกด้าน ปลาในวงศ์ปลาตะเพียน พบ 9 ชนิด ปลาในวงศ์ปลาหมอ พบ 3 ชนิด ปลาเศรษฐกิจ ได้แก่ ปลาสลาด ปลาสูบจุด ปลาตะเพียนขาว ปลาสร้อยขาว ปลาสร้อยนกเขา ปลาหมอช้างเหยียบ ปลาช่อน

พืช

พืชในบึงละหานกระจายอยู่ในบริเวณต่างๆ หนาแน่นบริเวณขอบบึงทิศตะวันตกและทิศเหนือของบึง พบมาที่สุดคือธูปฤๅษี กกสามเหลี่ยม หญ้าขน หญ้าชันกาด บริเวณขอบบึงถึงบริเวณกลางน้ำพบ ผักตบชวา จอก แหน พังพวยน้ำ ผักบุ้ง สาวบัว บัวหลวง กระจับ ไข่ผำ บริเวณน้ำลึกจะมีสาหร่ายหางกระรอก สาหร่ายหางวัว บางบริเวณจะมีกลุ่มพืชที่ขึ้นทับถมกันหนาแน่นลอยไปตามน้ำคล้ายเกาะลอยน้ำ ชาวบ้านในท้องถิ่น เรียกว่า กอสนม

จุดจำหน่ายสินค้า

ท่าเรือประมง