แหล่งท่องเที่ยว :

ตลาดปลาบ้านหนองคู หมู่ 6

สภาพเดิม เป็นหนองน้ำหลายแห่งที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน ในฤดูน้ำหลากน้ำจะไหลเข้ามาจากลำห้วยต่างๆ เช่น ห้วยลำคันฉู ห้วยหลัว ห้วยยาง ห้วยตาแก้ว เป็นต้น ทำให้ปริมาณน้ำในหนองเออเข้าหากันรวมเป็นหนองขนาดใหญ่ เรียกว่า บึงละหาน ภายในบริเวณบึงมีเกาะที่เกิดจากน้ำท่วมไม่ถึงซึ่งชาวบ้านเรียกว่าโนน เช่น โนนจาน โนนงิ้ว และน้ำในบึงจะไหลลงแม่น้ำชีในที่สุด เนื่องจากบึงละหานเป็นแหล่งน้ำตามธรรมชาติไม่มีระบบกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งน้ำในบึงจึงลดลงมากจนมีสภาพตื้นเขินสามารถนำปศุสัตว์ลงหากินและทำเกษตรได้ในบางพื้นที่

สภาพปัจจุบัน บึงละหาน ได้รับการพัฒนาให้มีคันดินล้อมรอบบริเวณบึง มีฝายน้ำล้นกักเก็บน้ำและมีประตูเปิดปิดน้ำไว้ไม่ให้ไหลลงลำน้ำชีเร็วเกินไป เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในการอุปโภคบริโภคหล่อเลี้ยงชาวจังหวัดชัยภูมิ เพื่อการเกษตร การประมง และเพื่อป้องกันการบุกรุกพื้นที่บึงละหาน บึงละหานจึงกลายเป็นบึงขนาดใหญ่ มีน้ำตลอดทั้งปี ระดับน้ำลึกที่สุดประมาณ 1.5 – 4 เมตร และยังคงมีแกาะกลางน้ำที่น้ำท่วมไม่ถึงอยู่ มีป่าละเมาะขึ้นทุกที่โดยรอบจะมีลักษณะเกาะจะค่อนข้างเรียบลักษณะดินโดยรอบเป็นดินที่ที่มีการทับถมของซากพืชจึงมีความอ่อนตัวของดิน จากสภาพเดิมของบึงละหานที่เป็นบึงน้ำตามธรรมชาติ ในฤดูน้ำหลากน้ำจะเออเข้าท่วมหมู่บ้านโดยรอบเป็นประจำทุกปี

ท่าเรือ ตลาดปลา วิถีประมงคลองยายแก้วบ้านหนองคู หมู่ 6 ตำบลหนองบัวบาน อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งการเกิดแหล่งท่องเที่ยวตรงนี้ขึ้นเพราะ บึงน้ำแห่งนี้มีชื่อว่า “บึงละหาน” ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่มีขนาดใหญ่แหล่งน้ำธรรมชาติมีเนื้อที่กว้างใหญ่ มีพื้นที่ประมาณ 18,181 ไร่ หรือ (29.08 ตารางกิโลเมตร) เป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 3 ของประเทศ และมีพื้นที่ครอบคลุม 4 ตำบลคือ ตำบลละหาน ตำบลบ้านกอก ตำบลหนองบัวใหญ่ และตำบลหนองบัวบาน ซึ่งเป็นพื้นที่ในอำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ภายในตัวบึงมีพันธุ์ปลาน้ำจืดนานาชนิด บึงละหานมีอาณาบริเวณที่กว้างใหญ่และมีน้ำตลอดทั้งปี ทำให้ปลาสามารถอาศัยและขยายพันธุ์ได้ดี พบปลาอย่างน้อย 25 ชนิด ชนิดที่อยู่ในสภาพมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ ได้แก่ ปลาดุกด้าน ปลาในวงศ์ปลาตะเพียน พบ 9 ชนิด ปลาในวงศ์ปลาหมอ พบ 3 ชนิด ปลาเศรษฐกิจ ได้แก่ ปลาสลาด ปลาสูบจุด ปลาตะเพียนขาว ปลาสร้อยขาว ปลาสร้อยนกเขา ปลาหมอช้างเหยียบ ปลาช่อนเป็นบึงสาธารณะที่อนุญาตให้ชาวบ้านจับสัตว์น้ำไปเป็นอาหารได้ ซึ่งเป็นแหล่งสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน จึงมีการสร้างตลาดปลาไว้เป็นปัจจุบันนี้ บ้านหนองคู ก็เป็นอีกหมู่บ้านที่มีพื้นที่ติดบึงละหาน จึงได้ทำตลาดปลาขึ้นเพื่อเป็นจุดรับซื้อปลาของชาวบ้าน และได้มองเห็นสภาพแวดล้อมที่สวยงานโดยรอบจึงได้ทำสถานที่ท่องเที่ยวไปด้วย โดยจุดนี้จะเรียกว่า “ล่องเรือ ชมปลา พาตะลึง บึงละหาน “ และยังเป็นธนาคารอาหาร ของชาวบ้าน บ้านหนองคู หมู่ 6 ตำบลหนองบัวบาน“ปลาเผาในกระบอกไม้ไผ่” ชื่อที่ชาวหนองคูเรียกขานคือ "หลามปลา"เมนูเด็ดอีกหนึ่งที่เราได้ปลาจากบึงละหาน นำมาคลุกเคล้าเครื่องปรุงแล้วหมักให้ได้ที่ จากนั้นนำเข้าเตา (กองไฟ) เผาดั่งการทำข้าวหลามแบบบ้าน ๆ ผู้ได้ทานเท่านั้นจึงจะรู้รสชาดว่า "หลามปลาช่อนหนองคู" มันแซ่บ อีหลีเด้อจ้า และฝากไว้สักนิดนะคะสำหรับบึงละหานแห่งนี้มีสัตว์น้ำจำนวนมาก มีปลาหลายสายพันธุ์ จึงได้ระบบ ศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงน้ำจืดนครราชสีมา ออกปฏิบัติงานควบคุมเฝ้าระวังการทำการประมงผิดกฎหมาย ในที่จับสัตว์น้ำที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และในช่วงฤดูสัตว์น้ำจืดมีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัววัยอ่อนฯ พื้นที่รอบบึงละหาน และพื้นที่ตลาดปลาบ้านหนองคู หมู่ 6 ของตำบลหนองบัวบานด้วย