การสานหมวกจากต้นกก

ภูมิปัญญาท้องถิ่น : การสานหมวกจากต้นกก

ส่วนใหญ่ประชากรอำเภอจัตุรัส ติดบึงละหานซึ่งมีต้นกก หรือผือนา ขึ้นอยู่ในบึงละหานเป็นจำนวนมาก และชาวบ้านมีอาชีพทำเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ เมื่อว่างเว้นจากการทำเกษตรกรรม ก็มีการประกอบอาชีพเสริม เช่นการทอสื่อกก กันมาก บางครัวเรือนได้ยึดเป็นอาชีพหลัก สร้างรายได้ให้กับครอบครัวซึ่งเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่สืบทอดมาตั้งแต่โบราณ การทอเสื่อกก มีการสืบทอดมาตั้งแต่สมัย ปู่ย่า ตายาย โดยเริ่มแรกมีการใช้กกเหลี่ยม หรือที่เรียกว่าผือนา ยังไม่มีการย้อมสีผลิตภัณฑ์ หรือทาลวดลาย ส่วนใหญ่นามาใช้ในครัวเรือน ส่วนในปัจจุบันนิยมใช้ กกกลม มาใช้แทนกกเหลี่ยม เนื่องจากหาง่ายในแหล่งธรรมชาติ และเมื่อนามาทอสื่อแล้ว มีคุณสมบัติเหนียว และเป็นมันวาว ซึ่งมีการพัฒนาลวดลายบนผืนเสื่อเป็นลวดลายต่างหลากหลาย มีความสวยงามโดดเด่น จึงมีการนาเอาเสื่อกกมาออกแบบผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น การทาที่รองแก้วหมวกซึ่งสามารถเพิ่มมูลค่าของสินค้าได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการอนุรักษ์ภูมปัญญาท้องถิ่น ให้สามารถยึดเป็นอาชีพหลัก และอาชีพรองได้

วัสดุและอุปกรณ์

1. ต้นกกตากแห้ง

2. สี (ตามต้องการ)

3. เข็ม

4. เข็มถักเบอร์ 5

5. ขันน้ำพลาสติก

6. มีดคัตเตอร์

7. แปรงปัดฝุ่น

8. เศษผ้า

9. กรรไกร (ใช้ตัดแต่งต้นกกสำหรับแกนและตัดตอกสำหรับสานหมวก)

10. กรรไกรตัดเล็บ

(ใช้ตัดตอกที่รอยต่อของหมวกช่องแคบ ๆ)

11. ลูกมะพร้าวแห้ง (ทำแบบ)

12. แลคเกอร์ (เคลือบหมวก)

13. ริบบิ้น ช่อดอกไม้

(สำหรับตกแต่งหมวก)

ขั้นตอนและการปฏิบัติงาน

1. คัดเลือกต้นกกที่สมบูรณ์ อายุ 4 – 5 เดือน

2. ตัดต้นกกที่คัดเลือกแล้วนำไปตากแดด ให้แห้ง ประมาณ 5 – 7 วัน

3. เตรียมแบบพิมพ์ส่วนหัวหมวก โดยคัดเลือกจากลูกมะพร้าวแห้ง ขนาดพอเหมาะสมกับขนาดของหมวกที่ต้องการ

4. เฉือนตัดแต่งลูกมะพร้าวให้ได้รูปทรงของส่วนหัวหมวก ด้วยใบมีดที่คม (ซึ่งต้องอาศัยความ

ชำนาญพอสมควร)

5. นำต้นกกมาฉีกโดยใช้เข็มแต่งให้ได้ขนาดเท่ากัน แล้วนำไปแช่น้ำให้อ่อนก่อนที่จะสาน

6. เริ่มลายสานหมวกโดยใช้ต้นกกเป็นแกนหลัก จำนวน 4 ต้น (เริ่มต้นสานส่วนหัวของหมวก) แล้วสานขึ้นเป็นรูปวงกลม โดยใช้ลายสานไขว้ไปไขว้มา และเสริมหลักเข้าไปเรื่อย ๆ จนได้แผ่นกลางส่วนบนหมวกเป็นวงกลม (รัศมีประมาณ 4 นิ้ว)

7. นำส่วนบนของหมวกที่ได้ไปวางกับแบบพิมพ์ แล้วใช้หมุดตอกยึดติดกับแบบพิมพ์ เพื่อที่จะสานส่วนหัวหมวกตามลายที่ต้องการซึ่งมีหลากหลายแบบ โดยใช้ลายสานไขว้ไปไขว้มา และเสริมหลักเข้าไปเรื่อยๆ จนได้ขนาดความลึกของหมวกตามต้องการ จึงถอดออกจากแบบพิมพ์

8. การสานปีกหมวก หลังจากถอดออกจากแบบพิมพ์แล้ว ทำการสานต่อไปจนได้ความกว้างของปีกหมวกตามต้องการ

9. ทำการเก็บริมหมวกให้สวยงาม คงทน ไม่หลุดง่าย