รถม้าลำปาง

ประวัติรถม้าลำปางรถม้าเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรก ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยได้รับตกทอดมาจากอังกฤษและอินเดีย ถือกันว่ารถม้าเป็นพาหนะคู่บ้านคู่เมือง จนกระทั่งรถยนต์เริ่มเข้ามามีบทบาท รถม้าจึงถูกนำไปอยู่ตามหัวเมืองต่างๆนับเวลาย้อนหลังไปในช่วง 85 ปีที่แล้วหรือปี 2458 สมัยของเจ้าบุญวาทย์มานิตตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 ในคราวนั้นการคมนาคมขนส่งทางรถยนต์ยังพัฒนาไม่ถึงนครลำปาง พาหนะชนิดเดียวที่สามารถใช้บรรทุกของหรือสินค้าที่มีความเร็วในการเดินทางสูงสุด คือ รถม้า รถม้าคันแรกได้ถูกซื้อมาจากกรุงเทพฯ เนื่องจากสมัยก่อนรถม้าจะนิยมใช้อยู่ในกรุงเทพฯ ในหมู่ของเจ้าขุนมูลนาย และใช้เป็นรถประจำตำแหน่งของข้าราชบริพารชั้นผู้ใหญ่ในราชสำนัก ในปี 2458 รถยนต์จากยุโรปได้เข้ามามีอิทธิพลในกรุงเทพฯ บรรดาเจ้าขุนมูลนายต่างก็เปลี่ยนจากรถม้าหันมานิยมใช้รถยนต์กันมาก ประกอบกับขณะนั้นทางกรุงเทพฯ มีรถยนต์ใช้มากขึ้น บทบาทของรถม้ารถลากต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ จึงลดน้อยลง รถม้าที่เคยใช้นี้เอง

ได้เริ่มอพยพเข้ามายังนครลำปาง และยังได้กระจายไปสู่เมืองหลังของภาคต่างๆ ได้แก่ นครราชสีมาของภาคอีสาน นครศรีธรรมราชของภาคใต้ นครเชียงใหม่ เมืองเชียงราย เมืองแพร่ เมืองน่าน เมืองแม่ฮ่องสอนของภาคเหนือ แต่ด้วยเหตุใดไม่ปรากฏผู้ประกอบการรถม้าในเมืองดังกล่าวจึงเลิกกิจการไป คงเหลือแต่เฉพาะที่จังหวัดลำปางแห่งเดียวที่ยังคงใช้รถม้าอยู่ตราบจนกระทั่งทุกวันนี้กิจการรถม้าได้ดำเนินต่อเนื่องเรื่อยมาตั้งแต่ต้นเป็นระยะเวลาได้ 34 ปี จึงได้มีผู้ก่อตั้งสมาคมล้อเลื่อนจังหวัดลำปางขึ้นในปี พ.ศ. 2492 โดยขุนอุทานคดี ท่านเป็นผู้ริเริ่มและยังดำรงตำแหน่งนายกสมาคมคนแรกที่ได้ร่างกฎระเบียบว่าด้วยสมาคมขึ้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2495 เจ้าบุญส่ง ณ ลำปาง เข้ามาบริหารงานและได้เปลี่ยนชื่อสมาคมเป็นสมาคมรถม้าจังหวัดลำปาง (THE HORSE CARRIAGE IN LAMPAMG PROVINCE) และได้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมคนที่สอง รถม้าลำปางได้เจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปี พ.ศ. 2501 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้มอบเงินให้แก่เจ้าบุญส่ง ณ ลำปาง และได้ขอรับรถม้าเข้าไว้ในความอุปถัมภ์ให้รัฐบาทช่วยเหลือสมาคมรถม้าและตั้งกองทุนให้สมาคมรถม้าอีก 1 กองทุน

ปัจจุบันรถม้าในจังหวัดลำปางมีประมาณ 70 คัน และวิ่งพานักท่องเที่ยวชมเมืองได้มีจำนวน 50 คัน ซึ่งจะคอยให้บริการสลับสับเปลี่ยนพานักท่องเที่ยวชมเมืองทั้งกลางวันและกลางคืน การพัฒนาความเจริญทางด้านเทคโนโลยีตะวันตก ส่งผลให้นครลำปางพบกับความเปลี่ยนแปลงในทุก ๆ ด้านตามลำดับในฐานะของมณฑลพายัพ อันประกอบด้วยนครต่าง ๆ ของภาคเหนือตอนบนความเจริญที่เห็นเด่นชันคือ การเข้ามาของรถไฟสายเหนือที่มีจุดหมายปลายทางของการเดินทางสิ้นสุดที่สถานีรถไฟแห่งนี้เปิดรับขบวนรถโดยสารครั้งแรก เมื่อเถลิงศก วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2459 หรือวันปีใหม่ไทย ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 6 ใจครั้งนั้นมีรถม้าที่เรียกกันว่ารถม้าแท็กซี่คอยรับผู้โดยสารจากสถานีรถไฟเข้าสู่ตัวใจครั้งนั้นมีรถม้าที่เรียกกันว่ารถม้าแท็กซี่คอยรับผู้โดยสารจากสถานีรถไฟเข้าสู่ตัวเมืองนครลำปาง เมื่อขบวนรถไฟมาถึงสถานีรถไฟนครลำปาง ณ ตำบลสบตุ๋ย อำเภอเมือง อันเป็นจุดเชื่อมต่อกับถนนสามสายแรกในภาคเหนือของประเทศไทย

และได้มีการเปลี่ยนแปลงจากพื้นที่นาบริเวณชานเมืองมาเป็นพื้นที่เมืองอย่างรวดเร็ว เพื่อรองรับความเจริญที่เพิ่มทวีมากขึ้น เมื่อเส้นทางรถไฟพัฒนาด้วยการขุดเจาะอุโมงค์ขุนตาลผ่านภูเขาเข้าและไปถึงนครเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2464 นครลำปางเป็นศูนย์กลางการขนถ่ายสินค้า จากกรุงเทพฯ ไปยังภาคเหนือ และลำเลียงสินค้าที่จำเป็นจากภาคเหนือมายังกรุงเทพฯ ส่งผลให้ย่านการค้าสบตุ๋ยแห่งนี้มีการพัฒนาความเจริญอย่างมากอาคารโบราณเหล่านี้ยังคงเหลือเป็นมรดกทางสถาปัตยกรรม ที่คงรายละเอียดของความสวยงามไว้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ในการชมเมืองนั้น นักท่องเที่ยวสามารถใช้บริการรถม้าแท็กซี่ที่มีสารถีสวมชุดคาวบอยร่วมสมัยแบบคลาสสิคเดอร์บลุกซ์ยุคหนังเงียบฮอลลี่วู้ดอันเป็นสัญลักษณ์ของเมืองลำปางโดยแท้ และที่พิเศษคือการได้เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมวันรำลึกประวัติศาสตร์รถม้ารถไฟนครลำปาง พร้อมกับเฉลิมฉลองศตวรรษใหม่ปี ค.ศ. 2000 ในวันเถลิงที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2543 สืบต่อไป ยิ่งสมัยที่ชาวอังกฤษจากบริษัท บอมเบย์เบอร์มา ได้เดินทางเข้ามาสัมปทานการค้าไม้กับเจ้าหลวงเมืองเชียงใหม่ ลำปางและแพร่ โดยเฉพาะศูนย์กลางการค้าไม้อยู่ที่เมืองลำปาง ครอบครัวชาวอังกฤษ ชาวพม่า และชาวจีนได้ทำการค้าจนรุ่งเรือง ส่งผลให้การเดินรถม้าเจริญควบคู่ไปด้วย ฉะนั้นจึงไม่แปลกที่เมืองลำปางยังมีรถม้าบริการจวบจนปัจจุบัน จนถือเป็นเอกลักษณ์ตราบทุกวันนี้