เนื้อหาการเรียนรู้

ภูเขาไฟ (Volcanoes)


                  ภูเขาไฟ เป็นธรณีสัณฐานที่หินหนืดปะทุผ่านขึ้นมายังพื้นผิวของดาวเคราะห์ ภูเขาไฟมักเกิดขึ้นใกล้กับแนวรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก อย่างไรก็ตาม ยังมีภูเขาไฟที่เป็นข้อยกเว้น เรียกว่า จุดร้อนภูเขาไฟ (Volcanic Hotspot)

                 ภูเขาไฟมีพลัง (Active Volcanoes) หมายถึง ภูเขาไฟที่เคยมีประวัติถูก บันทึกว่ามีการระเบิดเกิดขึ้น จัดว่าเป็นภูเขาไฟยังมีพลังอยู่ เช่น ภูเขาไฟเอตนา ในเกาะซิซิลี ของประเทศอิตาลี

         ภูเขาไฟที่สงบ (Dormant Volcanoes) หมายถึง ภูเขาไฟที่ไม่เคยถูกบันทึกว่ามีการระเบิดเกิดขึ้น และไม่มีการผุพัง จัดว่าเป็นภูเขาไฟที่สงบมันอาจเกิดการระเบิดเมื่อใดก็ได้ เช่น ภูเขาไฟ วิสุเวียส ในประเทศอิตาลี 

                    ภูเขาไฟที่ดับแล้ว (Extinct Volcanoes) หมายถึง ภูเขาไฟที่ไม่เคยถูกบันทึกว่ามีการระเบิดเกิดขึ้น เช่น ไม่มีไอน้ำร้อนขึ้นมา หรือไม่มีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นในท้องถิ่นนั้น ๆ ภูเขาไฟประเภทนี้จัดเป็นประเภทภูเขาไฟที่ดับแล้ว เช่น ภูเขาไฟหลวง จังหวัดสุโขทัย

จำแนกภูเขาไฟได้ 4 ลักษณะคือ

             1. ภูเขาไฟแบบกรวยสูง (Steep cone) เกิดจากลาวาที่มีความเป็นกรด หรือ Acid lava cone รูปกรวยคว่ำของภูเขาไฟเกิดจากการทับถมของลาวาที่เป็นกรด เพราะประกอบด้วยธาตุซิลิกอนมากกว่าธาตุอื่นๆ ลาวามีความเข้มข้นและเหนียว จึงไหลและเคลื่อนตัวไปอย่างช้าๆ แต่จะแข็งตัวเร็ว ทำให้ไหล่เขาชันมาก ภูเขาไฟแบบนี้จะเกิดจากการระเบิดอย่างรุนแรง 

             2. กรวยภูเขาไฟสลับชั้น (Composite Cone Volcano) เป็นภูเขาไฟซึ่งเกิดจากการสลับหมุนเวียนของชั้นลาวา และเศษหิน ภูเขาไฟชนิดนี้อาจจะดันลาวาไหลออกมาเป็นเวลานาน และจะเปลี่ยนแปลงรูปแบบการประทุอย่างกะทันหัน ภูเขาไฟชนิดนี้ที่มีชื่อ เช่น ภูเขาไฟฟูจิ (ญี่ปุ่น), ภูเขาไฟมายอน (ฟิลิปปินส์) และ ภูเขาไฟเซนต์เฮเลน (สหรัฐอเมริกา)

             3. ภูเขาไฟรูปโล่ (Shield Volcano) เป็นภูเขาไฟที่มีขนาดใหญ่ โดยพื้นฐานแล้วภูเขาไฟชนิดนี้เกิดจาก ลาวาชนิดบาซอลท์ที่ไหลด้วยความหนืดต่ำ ลาวาที่ไหลมาจากปล่องกลาง และไม่กองสูงชัน เหมือนภูเขาไฟชนิดกรวยสลับชั้น ภูเขาไฟชนิดนี้มักจะเป็นภูเขาไฟที่ใหญ่ เช่น ภูเขาไฟ Mauna Loa (ฮาวาย)

             4. กรวยกรวดภูเขาไฟ (Cinder Cone) ภูเขาไฟชนิดนี้จะสูงชันมาก และเกิดจากลาวาที่พุ่งออกมาทับถมกัน ลาวาจะมีความหนืดสูง การไหลไม่ต่อเนื่อง และมีลักษณะเป็นลาวาลูกกลมๆ ที่พุ่งออกมาจากปล่องเดี่ยว และทับถมกันบริเวณรอบปล่อง ทำให้ภูเขาไฟชนิดนี้ไม่ค่อยก่อให้เกิดความสูญเสียชีวิตมากมาย



ภูเขาไฟ (Volcano) 

        ภูเขาไฟ (Volcano) คือ ช่องระบายของเปลือกโลกที่ให้หินหลอมเหลวและสิ่งต่าง ๆ จากภูเขาไฟแทรกซ้อนผ่านขึ้นมาได้ ภูเขาไฟ และปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น พุแก๊ส (Fumaroles) และ พุน้ำร้อน (Hot Spring) ล้วนเป็นปรากฏการณ์ที่น่า
สนใจหนึ่งในบรรดากระบวนการทางธรณีวิทยาทั้งหลาย โดยทั่วไปภูเขาไฟ มีรูปทรงกรวยที่เรียกว่า ปากปล่องภูเขาไฟ (Crater) รูปกรวยอู่ยเหนือปล่องภูเขาไฟได้ผ่านต่อลงไปทางลำ

           การกระจายของภูเขาไฟ  ภูเขาไฟบนโลกปรากฏในแดนหรือเขตภูมิศาสตร์ได้กำหนดชัดเจน เขตภูเขาไฟเหล่านี้
ปรากฏแน่นขึ้นดีมากที่สุดในพื้นที่ภายใน เปลือกโลกไม่เสถียรหรือยานปรากฏการณ์ก่อเทือกเขาในสมัยปัจจุบัน เรียกว่า วงแหวนแห่งไฟ (ring of fire) แบ่งออกได้ 2 แนวหลัก คือ 

            1. แนววงรอบแปซิฟิก (Circum-Pacific belt) ตั้งอยู่รอบมหาสมุทรแปซิฟิกถือว่าสำคัญที่สุดเขตนี้ประกอบด้วยภูเขาไฟอเมริกาใต้และอเมริกากลางอะลาสกา ฮาวายและอะซอร์ส (Azores) บรรดาหมู่เกาะ ญี่ปุ่น  ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ 

           2. แนววงรอบเมดิเตอร์เรเนียน (Circum-Mediterranean belt) แผ่ขยายไปทางทิศตะวันออก-ตก ประกอบด้วยภูเขาไฟที่ลมเมดเตอร์เรเนียน อินเดียตะวันตก ซึ่งทั้งสองแนวนี้มีการเกิดร่วมกับรอยเลื่อนขนาดใหญ่หรือเขตรอยแตกบนเปลือกโลก  แนววงรอบ แปซิฟิก นอกจากแนววงรอบทั้งสองนี้ ภูเขาไฟก็ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติก และอินเดีย เกาะไอซ์แลนด์ และในแอนตาร์กติก 

สาเหตุการเกิดภูเขาไฟระเบิด 

            การเกิดภูเขาไฟ เป็นภัยธรรมชาติได้เพิ่มความรุนแรงให้เราได้เห็นมากขึ้นทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นการเกิดแผ่นดินไหว
น้ำท่วม ภูเขาไฟระเบิด ฯลฯ หากเราเข้าใจถึงที่มาของสิ่งเหล่านจะทำให้สามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสมกระบวนการระเบิด
ของภูเขานั้นยังไม่เป็นที่เข้าใจกระจ่างชัดนัก ธรณีวิทยาคาดว่ามีการสะสมของความร้อนอย่างมากบริเวณนั้น ทำให้มีแมกมา
ไอน้ำและแก๊ส สะสมตัวอยู่ มากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งก่อให้เกิดความดัน ความร้อนสูง เมื่อถึงจุดหนึ่งมันจะระเบิดออกมา อัตราความรุนแรงของการระเบิด ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการระเบิด รวมทั้งขึ้นอยู่กับความดันของไอน้ำ และความหนืดของลาวา
ถ้าลาวาข้นมากๆ อัตราการรุนแรง ของการระเบิดจะรุนแรงมากตามไปด้วย เวลาภูเขาไฟระเบิดไม่ใช่มีแต่เฉพาะลาวาทไหลออกมาเท่าน้ัน ยังมีแก๊สไอน้ำฝนผงเถ่าถ่านต่าง ๆ ออกมาด้วย มองเป็นกลุ่มควันม้วนลงมาพวกไอน้ำ จะควบแน่นกลายเป็นน้ำนำเอาฝนละอองเถ่าต่าง ๆ ที่ตกลงมาด้วยกัน ไหลบากลายเป็นโคลนท่วม ในบริเวณเชิงเขาลงไป ถ้าภูเขาไฟนั้นมีหิมะคลุมอยู่
มันจะละลายหิมะผลจากภูเขาไฟระเบิด ซึ่งอาจแปรผลนี้ได้ตั้งแต่เป็นแก๊สต่าง ๆจนถึงเศษหิน ขนาดมหึมา หรืออยู่ในส่วนประกอบ 3 สถานะ คือ แก๊ส ของเหลว และของแข็ง 

ประโยชน์ของการเกิดภูเขาไฟ 

1. แผ่นดินขยายกว้างขึ้นหรือสูงขึ้น  

2. เกิดเกาะให้มีภายหลังที่เกิดการปะทุใต้ทะเล 

3. ดินที่เกิดจากภูเขาไฟระเบิดจะอุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุต่าง ๆ             

4. เป็นแหล่งเกิดน้ำพุร้อน 

5. เปลวเศษแร่ธาตุต่าง ๆ ทำให้บริเวณใกล้ภูเขาไฟ เหมาะแก่ทำการเกษตรกรรม เพราะดินดี 

 โทษของการเกดภเขาไฟ  

1. เมื่อภูเขาไฟระเบิดจะมีเขม่าควันและก๊าซบางชนิดซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวืตได้  

2. การปะทุของภูเขาไฟอาจทำให้เกิดแผ่นดินไหวขึ้นได้  

3. ชีวิตและทรัพย์สินที่อยู่ใกล้เคียงเป็นอันตราย  

4. สภาพภูมิอากาศเกิดการเปลี่ยนอย่างเห็นได้ชัด