เนื้อหา

หน่วยที่ 2 หญ้าไม้กวาด


ตองกง หรือ หญ้าไม้กวาด

วงศ์ : Gramineae
• ชื่อสามัญ : Bamboo grass
• ชื่อวิทยาศาสตร์ : Thysanoleana maxima Kuntze
ชื่อท้องถิ่น
ภาคกลาง
– หญ้าไม้กวาด
ภาคอีสาน
– หญ้ากาบไผ่ใหญ่ (เลย)
ภาคเหนือ
– ตองกง
– ก๋ง
– เค้ยหลา (กะเหรี่ยง- แม่ฮ่องสอน)
– เลาแล้ง (สุโขทัย)
ภาคใต้
– หญ้าไม้กวาด
– หญ้ายูง (ยะลา)

• ถิ่นกำเนิด : ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทย



การแพร่กระจาย

ตองกง/หญ้าไม้กวาด พบได้ทั่วไปในพื้นที่ที่มีความสูง ตั้งแต่ 45 – 1,058 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ทั้งพบตามเนินเขา ริมแม่น้ำลำธาร เช่น จังหวัดสตูล เพชรบูรณ์ เลย แม่ฮ่องสอน เชียงราย และเชียงใหม่ เป็นต้น ทั้งนี้ จะพบแพร่กระจายมากในภาคเหนือ และภาคอีสาน 

ลักษณะของตองกง

พันธุ์ตองกง/หญ้าไม้กวาด

1. พันธุ์ดอกใหญ่ เป็นพันธุ์ที่พบมาก และมีการส่งเสริมการปลูกมาก มีลักษณะเด่น คือ มีก้านช่อดอกใหญ่ และยาว ก้านช่อดอกเมื่อตากแห้งจะมีความแข็งแรง ซึ่งจัดเป็นพันธุ์ที่นิยมใช้ทำไม้กวาดดอกหญ้ามากที่สุด

2. พันธุ์ดอกเล็ก เป็นพันธุ์ที่ไม่นิยมใช้ทำไม้กวาดดอกหญ้า เนื่องจาก ก้านช่อดอกเล็ก และสั้น เปราะหักง่าย

3. พันธุ์ไต้หวัน และพันธุ์ญี่ปุ่น เป็นพันธุ์หญ้าไม้กวาดที่บริษัทส่งออกไม้กวาดนำเข้ามาจากไต้หวัน และญี่ปุ่น เพื่อส่งเสริมให้มีการปลูกในกลุ่มของเกษตรกร และบริษัทรับซื้อก้านช่อดอก ก่อนนำมาแปรรูปเป็นไม้กวาดดอกหญ้าส่งออกต่างประเทศ โดยมีพื้นที่ปลูกในจังหวัดต่างๆ ได้แก่

– เชียงราย
– นครราชสีมา
– เพชรบูรณ์
– ระยอง
– เพชรบุรี 

ประโยชน์ตองกง/หญ้าไม้กวาด

1. ช่อดอกนิยมใช้ทำไม้กวาด หรือที่เรียก ไม้กวาดดอกหญ้า ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับทุกครัวเรือน ซึ่งมีการผลิตจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ทั้งในรูปของเกษตรในครัวเรือน หรือรวมกลุ่มกันในชุมชน รวมถึงผลิตในระดับอุตสาหกรรมสำหรับส่งจำหน่ายต่างประเทศ

2. ยอดอ่อน และหน่ออ่อนนำมารับประทานสดคู่กับน้ำพริกหรือนำไปประกอบอาหารจำพวกเมนูผัดหรือแกงต่างๆ

3. ลำต้น ใบ และยอดอ่อนใช้สำหรับเป็นอาหารหยาบให้แก่โค กระบือ

คุณค่าทางโภชนาการยอดอ่อนตงกง/หญ้าไม้กวาด

– โปรตีน 10.9%
– เยื่อใย 15.9%
– ไขมัน 2.7%
– เถ้า 5.6%
– แคลเซียม 0.10%
– ฟอสฟอรัส 0.38%
– แทนนิน 1.01%

สรรพคุณของตองกง