1.วิธีการอ่านค่าความต้านทานของตัวต้านทาน
2.Digital IC logic gate
เขียนผลของการกดปุ่มสองปุ่มโดยมีวงจรต่อกับ Logic Gate ที่กำหนด
3.TinkerCAD circuit assignment
ใช้เว็บไซต์ TinkerCAD ในการสร้างโค้ดการกดสวิตซ์ให้หลอดไฟติด
ใช้เว็บไซต์ TinkerCAD ในการสร้างวงจรโดยมี Logic Gate ที่ต่อกับหลอดไฟ
วิธีอ่านค่าความต้านทานไฟฟ้า
ตัวต้านทานไฟฟ้าเป็นส่วนประกอบสำคัญในวงจรไฟฟ้าช่วยในการจำกกัดปริมาณการไหลของกระแสไฟฟ้าไม่ให้ไหลเกินกว่าที่กำหนด มีหลายขนาดและหลายชนิดให้เลือกใช้งาน ซึ่งเราจะเลือกใช้ชนิดแบบ 5 แถบมาเป็นตัวอย่าง
การอ่านค่าตัวต้านทานชนิด 5 แถบสีนั้นเราจะเห็นได้ว่ามีแถบสีที่แตกต่างกัน ซึ่งมีวิธีการอ่านในแต่ละแถบโดยมีสีตามรูปด้านบน ดังนี้
แถบสีลำดับที่ 1 แทนด้วยค่าตัวต้านทานลำดับที่ 1
แถบสีลำดับที่ 2 แทนด้วยค่าตัวต้านทานลำดับที่ 2
แถบสีลำดับที่ 3 แทนด้วยค่าตัวต้านทานลำดับที่ 3 (ในกรณีที่มีแถบสีตั้งแต่ 5-6 แถบ)
แถบสีลำดับที่ 4 แทนด้วยค่าตัวคูณ
แถบสีลำดับที่ 5 แทนด้วยค่าความคลาดเคลื่อนของตัวต้านทาน
ตัวอย่าง ในรูปภาพเราจะอ่านแถบแรกได้เป็น 2 และแถบที่สองอ่านค่าได้เป็น 3 และแถบที่สามอ่านค่าได้เป็น 7 เราจะได้ค่าในสามตัวแรก เป็น 237
และในแถบต่อไปแถบที่ 4 จะเป็นตัวคูณ ซึ่งอ่านได้เป็นคูณ 1 และแถบสุดท้ายจะเป็นค่าความคลาดเคลื่อน ซึ่งตัวต้านทานตัวนี้อ่านค่าความคาดเคลื่อนได้เป็น
+- 1% เราจะสรุปได้ว่าตัวต้านทานตัวนี้มีค่าความต้านทาน 237 x 1 = 237 Ohms และมีค่าความคลาดเคลื่อนอยู่ที่ 1%
Logic gate คืออะไร
Logic Gate เป็นตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์ซึ่งรับข้อมูลเข้าอย่างน้อยหนึ่งตัวมาผ่านการคำนวณทางตรรกศาสตร์ เกตนั้นนิยมเขียนในรูปของ Boolean Algebra เมื่อเรานำเกตต่าง ๆ มาประกอบเป็นวงจรจะได้วงจรตรรกะ ซึ่งเป็นวงจรดิจิทัลประเภทหนึ่ง โดยแต่ละเกตจะมีค่าความจริงตามภาพ ดังนี้