หน่วยที่ 3 การจัดการสื่อประเภทข้อความและภาพนิ่ง

3.1.1 การใช้งานเครื่องมือ Text Caption

การแทรกข้อความ Text Caption

1. ให้นักเรียนเปิดงานที่นักเรียนสร้างขึ้น จากนั้นคลิกที่ไอคอน

2. จะปรากฏกล่องข้อความขึ้นมา ให้นักเรียนเปลี่ยนข้อความในกล่องข้อความได้เลย ดังรูปคะ




3. ต่อไปเป็นการกำหนดคุณสมบัติของข้อความที่นักเรียนได้แทรกเข้ามา






หมายเลข 1 คือ กล่องข้อความที่นักเรียนแทรกเข้ามาแล้วทำการเปลี่ยนข้อความที่ต้องการ

หมายเลข 2 Family คือ การกำหนดรูปแบบตัวอักษรที่นักเรียนต้องการ

หมายเลข 3 Size คือ การกำหนดขนาดของตัวอักษรที่นักเรียนต้องการ สามารถใส่ตัวเลขได้ หรือใช้เมาส์คลิกเลื่อนซ้าย เพื่อลดขนาดของตัวอักษร

เลื่อนขวา เพื่อเพิ่มขนาดของตัวอักษร

หมายเลข 4 Format คือ การจัดรูปแบบของตัวอักษรว่าจะให้เป็นตัวอักษรตัวเอียง หรือขีดเส้นใต้ข้อความ หรือแบบปกติ

หมายเลข 5 Color คือ การกำหนดสีให้ตัวอักษร และ Highlight คือ การกำหนดสีพื้นหลังให้กับข้อความ

หมายแลข 6 Align คือ การจัดตำแหน่งให้ตัวอักษร

หมายเลข 7 Caption Type คือ การกำหนดกรอบพื้นหลังของข้อความ ให้มีรูปแบบต่างๆที่นักเรียนต้องการ


4. เมื่อนักเรียนกำหนดคุณสมบัติของข้อความแล้ว ให้นักเรียนกดปุ่ม Enter เพื่อเสร็จการใส่ข้อความ ดังรูปคะ


การแทรก Text Animation

Text Animation เป็นเครื่องมือสำหรับใส่เทคนิคพิเศษให้กับข้อความ ตัวอย่างเช่น หัวข้อเรื่องต่างๆหรือสไลค์หน้าแรกที่เราต้องการจะเน้นจุดสนใจให้ดูสะดุดตา โดย Captivate จะมีรูปแบบของการเคลื่อนไหวให้เลือกอยู่มากมาย

วิธีใช้งาน Zoom Area

1. คลิกสัญลักษณ์เครื่องมือ Text Animation ()

2. จะปรากฎหน้าต่างของ Text Animation Properties ขึ้นมา


ในหน้าต่าง Text Animation Properties จะประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้

1) Text เป็นช่องสำหรับกรอกข้อความที่ต้องการทำ Animation

2) Font ใช้เลือกรูปแบบตัวอักษร

3) Size คือขนาดของตัวอักษรที่ต้องการทำ Animation

4) Delay คือความหน่วงของ Animation ยิ่งค่ามากการเคลื่อนไหวก็จะช้าลง

5) เป็นสีของตัวอักษร

6) Loop เป็นการกำหนดให้ Animation เล่นซ้ำ

3. เมื่อพิมพ์ข้อความในช่อง Text และปรับค่าต่างเสร็จเรียบร้อยแล้ว คลิกปุ่ม OK

4. จะปรากฎภาพตัวอย่างใน พาเนล Properties Inspector


5. นอกจากนั้นเรายังปรับแต่งคุณสมบัติต่างๆ ได้ ดังนี้

1) General ประกอบด้วย


- Effect เป็นรูปแบบ Animation ของข้อความ

- Transparency คือความโปร่งใส ยิ่งค่ามากยิ่งโปร่งใสมาก

- Properties. ให้แสดงหน้า Text Animation Properties



2) Timing

- Display For ใช้กำหนดระยะเวลาการแสดง Animation

- Appear After กำหนดให้ Animation แสดงเมื่อเข้าสู่สไลด์หลังจากเวลาที่เรากำหนด (วินาที)


3) Transition


- Effect:

- Fade In and Out กำหนดให้มีการ Fade in และ Fade out

- Fade In Only กำหนดให้มีเพียงการ Fade in เท่านั้น

- Fade Out Only กำหนดให้มีเพียงการ Fade out เท่านั้น

- No Transition ไม่มี Transition

- In คือระยะเวลาของ Fade In

- Out คือระยะเวลาของ Fade Out


4) Audio


- Fade In คือระยะเวลาการ Fade In ของเสียง

- Fade Out คือระยะเวลาการ Fade Out ของเสียง

- Add Audio เพิ่มเสียงให้กับ Text Animation

5) Position & Si

- X,Y คือพิกัดในการจัดวางของ Text Animation




การใช้งานเสียงใน Project

เสียงใน Project ของ Captivate 5 สามารถใช้ได้ 3 ลักษณะ คือ

1) นำเข้าไฟล์เสียงจากภายนอก

2) บันทึกเสียงจากไมโครโฟน

3) แปลงข้อความเป็นเสียง โดยติดตัง้ Software แปลงข้อความเป็นเสียง (Text-to-speech

software) เพิ่มเติมจากแผ่นซีดีของโปรแกรม Captivate สำหรับในส่วนนี้จะนำเสนอเฉพาะ

การใช้เสียงจากไฟล์ที่นำเข้าเท่านั้น การใช้เสียงในโปรแกรม Captivate มี 3 ลักษณะ คือ

1) เสียง Background

2) เสียงประจำ Slide

3) เสียงประจำวัตถุบน Slide เช่น เสียงประกอบปุ่ม ภาพ หรือ ข้อความ Feedback ในข้อสอบเป็นต้น

การใช้ไฟล์เสียง

ไฟล์เสียงที่จะนำมาใช้งานได้ คือไฟล์ .wav ของ Microsoft และไฟล์ mp3 ในกรณีที่เลือกเสียงที่เป็น

wav โปรแกรมจะแปลงให้เป็น mp3 ก่อนการนำเข้ามาใช้งานใน Project

1. เสียง Background สามารถนำเสียงประกอบเป็น Background ของ Project โดยเสียงจะเล่นตั้งแต่ต้นจนจบทุก Slide หากพบว่า มี Slide แผ่นใดมีเสียงอยู่ใน Slide นั้น เสียงนี้จะเบาลง เพื่อให้ได้ยินเสียงประจำ Slide โดยปกติมักจะใช้เสียงเพลงบรรเลง เป็นเสียง Background ประกอบ การใช้เสียง

Background มีขั้น ตอน ดังนี้


1.1. เปิด Project ใหม่ หรือใช้ Project ที่มีอยู่แล้วก็ได้

1.2. ไปที่เมนู Audio > Import to > Background

1.3. เลือกไฟล์เสียงจากในเครื่องคอมพิวเตอร์

1.4. จะเปิดหน้าจอ ต่อไปนี้ ให้กำหนดค่าตามต้องการ

1.5. ถ้าต้องการปรับแต่งเสียง ให้คลิกปุ่ม Edit เพื่อปรับแต่งเสียงได้

1.6. คลิก Close เพื่อกลับไปยังหน้าจอปกติ

1.7. ทดสอบ โดยไปที่ File > Preview > Project

1.8. เอาเสียง Background ออก ไปที่ Audio > Remove > Background

2. เสียงประจำ Slide เป็นเสียงประกอบ Slide จะเล่นเฉพาะเมื่อ Slide นั้น ๆ ปรากฏเท่านั้น และจะหยุดเล่นเมื่อ Slide นั้นออกไปจากหน้าจอ วิธีการนำเสียงเข้า มีดังนี้


2.1. เปิด Project ที่มีขึ้นมา (ควรมี Slide จานวน 3-4 แผ่น)

2.2. คลิกเลือกแผ่น Slide ที่ 1

2.3. ไปที่เมนู Audio > Import to > Slide

2.4. เลือกไฟล์เสียง mp3 จากในเครื่องคอมพิวเตอร์

2.5. การนำเข้าในแผ่น Slide มีลักษณะ ดังนี้


- ถ้า Project นั้น มี Slide แผ่นเดียว หรือ Slide ที่จะนำเสียงเข้านั้น เป็น Slide แผ่นสุดท้ายโปรแกรมจะนำเสียงเข้าทันที และถ้าความยาวของ Slide น้อยกว่า ความยาวของเสียงโปรแกรมจะขยายความยาวของ Slide ให้เท่ากับเสียง

- ถ้า Project นั้นมีแผ่น Slide หลายแผ่น และ Slide ที่นำเสียงเข้า ไม่ใช่แผ่นสุดท้าย และSlide นั้น มีความยาวมากกว่าไฟล์เสียง โปรแกรมจะนำเสียงเข้าที่ Slide นั้นตามปกติ โดยจะปรากฏหน้าจอให้ปรับแต่งเสียงได้ ก่อนนาเข้า ดังนี้

หน้าจอนี้ สามารถปรับแต่งเสียงได้ เมื่อคลิก Close โปรแกรมจะนำเสียงเข้า Slide ทันที

- ถ้า Project นั้นมีแผ่น Slide หลายแผ่น และ Slide ที่นำเสียงเข้า ไม่ใช่แผ่นสุดท้าย แต่Slide นั้น มีความยาวน้อยกว่าไฟล์เสียง โปรแกรมจะให้เลือกลักษณะที่นำเสียงเข้า 3 ลักษณะดังนี้


1) นำสียงเข้าที่ Slide นั้น และจะขยายความยาวของ Slide นั้นให้เท่ากับความยาวของเสียง

2) เฉลี่ยเสียงออกตามจำนวน Slide ที่เหลือ โดยจะนำเสียงทั้ง หมดเข้าใน Slide ที่เลือกก่อน

จากนั้น จะเปิดหน้าจอให้ปรับว่าจะนำเสียงไปไว้ Slide แผ่นใด อย่างไร

3) รักษาความยาวของ Slide ที่เลือกไว้เหมือนเดิม แต่เฉลี่ยเสียงออกไปตาม Slide ที่เหลือ ดังภาพ


ข้อควรระวัง เมื่อนำเสียงที่มีความยาวมากกว่า ความยาวของ Slide เข้า Slide แล้ว ให้ตรวจสอบ

ตำแหน่งของวัตถุต่าง ๆ ที่มีอยู่ก่อนนำเสียงเข้า และเลื่อนปรับตำแหน่งของวัตถุต่างๆ ให้เหมาะสม

2.6. ถ้าต้องการเอาเสียงประจำ Slide ออก ให้ไปที่ Audio > Remove > Slide

3. เสียงประจำวัตถุบน Slide เสียงสามารถนำเข้ากับวัตถุ เช่น ภาพ ข้อความ ได้ โดยเฉพาะ

ข้อความที่ใช้เป็น Feedback สำหรับข้อสอบ ก็สามารถนำเสียงเข้าได้ เช่นกัน วิธีการนำเข้าเสียงประจำวัตถุ

มีดังนี้

3.1. เปิด Project ใหม่

3.2. นำเข้าภาพ โดยไปที่ Insert > Image … และเลือกภาพที่ต้องการ

3.3. คลิกที่ภาพ

3.4. ที่แถบ PROPERTIES คลิกเปิดแถบ AUDIO และคลิก Add Audio


3.5. โปรแกรมจะเปิดหน้าจอให้เลือกและปรับแต่งไฟล์เสียง


3.6. คลิกปุ่ม Import เพื่อเลือกไฟล์เสียง

3.7. โปรแกรม Captivate มีเสียงประกอบเตรียมไว้ให้เลือก อยู่ในห้องโปรแกรมของ Captivate /

Gallery /Sound

3.8. ถ้าต้องการปรับแต่ง ให้คลิกแถบ Edit

3.9. จากนั้นให้กดปุ่ม Save และ Close ตามลำดับ โปรแกรมจะกลับมาที่หน้าจอเดิม

3.10. ทดสอบโดยไปที่ File > Preview > Project