หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโปรแกรมสื่อประสม

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโปรแกรมสื่อประสม

บทนำ

ในปัจจุบันมีการผลิตซอฟต์แวร์สื่อประสมเป็นจำนวนมาก โดยได้จัดทำในหลายรูปแบบ ได้แก่ แผ่นซีดีหรือดีวีดี หรือจะเป็นรูปแบบของ e-Learning ซึ่งล้วนแต่เป็นรูปแบบที่น่าสนใจ ทำให้เกิดความต้องการใช้งานมากยิ่งขึ้น

ความหมายของโปรแกรมสื่อประสมสื่อประสม หมายถึง การนำเสนอที่ประกอบด้วย ข้อความ ภาพ ภาพเคลื่อนไหว วีดีโอ เสียงมาผสมผสานกัน เพื่อสร้างเป็นสื่ออย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น สื่อโทรทัศน์ ภาพยนตร์ โฆษณา เว็บต่างๆ เป็นต้น ซึ่งสื่อเหล่านี้จะเป็นสื่อทางธุรกิจเป็นส่วนใหญ่ และมักจะมีคำจำกัดความที่มีความเหมาะสมมากกว่าคำว่า "สื่อประสม" สื่อประสม มักใช้กับสื่อการเรียนการสอน ซึ่งมีความหมายว่า การนำเอาสื่อหลายๆ ประเภทมาประยุกต์ใช้ร่วมกัน เพื่อให้เกิดคุณค่าและส่งเสริมซึ่งกันและกัน โดยสื่ออย่างหนึ่งอาจใช้เพื่อให้เกิดสิ่งเร้าความสนใจ ส่วนสื่ออย่างหนึ่งอาจใช้เพื่อนำเสนอข้อมูลสารสนเทศ และอีกส่วนเพื่อเพิ่มความเข้าใจให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นคอมพิวเตอร์สื่อประสม สื่อประสมโดยทั่วไปมักจะบรรจุอยู่ในสื่อบันทึก เช่น แผ่นซีดีและดีวีดี หรืออาจจะอยู่ในอินเทอร์เน็ต สื่อประสมเป็นการนำตัวอักษร ภาพ ภาพเคลื่อนไหว วีดีโอ มาผสมผสานกัน เพื่อนำเสนอทางจอภาพ

องค์ประกอบของสื่อประสม

องค์ประกอบของสื่อประสมได้แก่

1. ข้อความ เกี่ยวกับ ตัวอักษร การใช้รูปแบบของข้อความแบบต่างๆ

2. รูปภาพ การจัดการเกี่ยวกับรูปภาพไม่ว่าจะเป็นการปรับแต่ง การจัดเก็บ การสร้าง ซึ่งภาพที่นิยม คือ แบบ Bitmap หรือ Raster และแบบ Vector

3. ภาพเคลื่อนไหว หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าภาพ " แอนนิเมชั่น" (Animation) ภาพเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ในการจำลองสถานการณ์จริง เช่น ขั้นตอนการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์

4. ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดีทัศน์ การใช้ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดีทัศน์จะต้องมีอุปกรณ์เฉพาะในการจัดทำ เช่น กล้องถ่ายวีดีโอ ภาพประเภทจะมีขนาดใหญ่จำเป็นจะต้องบีบอัดไฟล์ก่อนใช้งานซึ่งไฟล์ที่บีบอัดและนิยมใช้ได้แก่ AVI, MPGE และ QuickTime เป็นต้น

5. เสียง การใช้เสียงในงานสื่อประสมจำเป็นจะต้องมีการบันทึกและจัดรูปแบบเฉพาะเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจและใช้ได้ เช่น .WAV, .SWA, .VOX, .PCM, AIFF เป็นต้น

6. ส่วนประสาน สื่อประสมบางอย่างจำเป็นต้องมีส่วนประสานเพื่อโต้ตอบกับผู้ใช้งาน เช่น การเลือกบทเรียนที่ต้องการเรียนในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)


หลักการทำงานของระบบสื่อประสม

1. กำหนดความต้องการและกำหนดเป้าหมาย

ในขั้นตอนนี้เป็นการกำหนดจุดประสงค์ของชิ้นงานว่าต้องการสื่อในเรื่องใด ต้องการให้ผู้เรียนรู้อะไร กลุ่มเป้าหมายคือใคร เช่น ต้องการผลิตซอฟต์แวร์สื่อประสม วิชาการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ สำหรับนักศึกษาในระดับ ปวช. จะต้องหาความต้องการของผู้เรียนโดยการศึกษาถึงปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชาประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งเมื่อพบปัญหา เช่น นักศึกษาไม่สามารถรู้จักอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ได้เนื่องจากไม่สามารถมองเห็นอุปกรณ์ได้ครบทุกตัว อีกทั้งเป็นการสอนแบบบรรยายจึงทำให้นักศึกษาไม่สนใจการเรียนเท่าที่ควร และนักศึกษาไม่สามารถทดลองประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ครบทุกคนเนื่องจากสื่อการเรียนมีจำนวนจำกัด แบบนี้เป็นต้น ดังนั้นจึงควรกำหนดจุดประสงค์หรือกำหนดเป้าหมายเพื่อสามารถแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้ เช่น

- ให้ผู้เรียนทราบองค์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์

- ให้ผู้เรียนสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้

2. รวบรวมทรัพยากรต่างๆ

เป็นการรวบรวมทรัพยากรต่างๆ ที่นำมาใช้เพื่อการผลิตซอฟต์แวร์สื่อประสมเช่น อุปการณ์คอมพิวเตอร์ เครื่องแสกนเนอร์ กล้องดิจิตอล กล้องถ่ายวีดีโอ ไมโครโฟน ซอฟต์แวร์และเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

3. เรียนรู้เนื้อหาที่แท้จริง

เป็นการศึกษาที่จะใช้ในการสร้างซอฟต์แวร์สื่อประสม สมมุติว่าต้องการสร้างซอฟต์แวร์สื่อประสม วิชาการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ จะต้องศึกษาว่าอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยอะไรบ้าง อุปกรณ์แต่ละตัวมีหน้าที่อย่างไร และการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องมีหลักการประกอบอย่างไร เป็นต้น

4. การสร้างแนวคิด (Generate Ideas)

เป็นการคิดเพื่อที่จะสื่อความหมายให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาให้มากที่สุด การสร้างแนวคิดนั้นต้องมีความรู้ด้านศิลปะและต้องมีจินตนาการพอสมควร แต่ถ้าไม่มีความรู้ด้านศิลปะก็อาศัยประสบการณ์จากสื่ออื่นๆ ที่เคยพบเห็นมาประกอบการทำงาน เช่น ถ้าต้องการให้นักศึกษาสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ จะต้องทำอย่างไร ซึ่งอาจจะมีแนวความคิดที่จะนำภาพอุปกรณ์เมนบอร์ดมาวางไว้เป็นตัวหลัก และระบุตำแหน่งที่จะให้เสียบในสล็อตต่างๆ หรือต่อพ่วงอุปกรณ์ โดยให้นักศึกษาคลิกเลือกอุปกรณ์ที่คิดว่าถูกต้อง ซึ่งแนวคิดนี้ช่วยให้นักศึกษาสามารถทดลองประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อนประกอบจริงได้

5. การออกแบบ

เป็นการออกแบบหน้าต่างการใช้แต่ละส่วน โดยควรออกแบบให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและเนื้อหาของบทเรียน เช่น ถ้ากลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษาในระดับชั้นปวช. ควรออกแบบชิ้นงานที่มีการนำเสนอสบายๆ ไม่เครียดมากนัก มีสีสันสวยงามและมีความตื่นเต้นเร้าใจ

6. จัดวางลำดับ

การจัดวางลำดับ เป็นการลำดับขั้นตอนการทำงานว่าขั้นตอนไหนควรทำก่อน ขั้นตอนไหนควรทำทีหลัง เช่น เมื่อเข้าไปในซอฟต์แวร์สื่อประสม วิชาการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีขั้นตอนการทานดังนี้

- การนำเข้าบทเรียน

- การรับข้อมูลของผู้เรียน เช่น ชื่อ-สกุล, เลขที่, ห้อง

- การเลือกบทเรียน


การเขียน Story Board

Story Board หมายถึง การลำดับเนื้อหา หรือลำดับเหตุการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในงานว่าต้องการให้มีภาพอะไรบ้าง ภาพใดควรอยู่ก่อนภาพใดควรอยู่หลัง

Script หมายถึง สิ่งที่บรรยายข้อความลงไปในงาน เพื่อให้เข้าใจในเนื้อหาที่ต้องการทำ ดังนั้น Story Board จึงหมายถึง เอกสารที่ใช้เป็นเครื่องมือจัดลำดับแนวความคิด ในรูปแบบของการจัดลำดับภาพ ตัวอักษร เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ ของผู้ออกแบบอย่างเป็นระบบ หรือเป็นสื่อกลางระหว่างผู้ออกแบบและผู้ผลิตสื่อ เช่น การสร้างงานนำเสนอเพื่อนำเข้า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาการประกอบคอมพิวเตอร์มีลำดับขั้นตอน ดังนี้

1. กำหนดพื้นที่การทำงานของแต่ละขั้นตอนให้มีขนาดเท่ากัน

2. ใส่เหตุการณ์ที่ต้องการเกิดขึ้นในลำดับขึ้นตอนที่ 1 เช่นกำหนดให้เส้นวิ่งมาจากด้านซ้ายมือบนจากนั้นให้ตัวข้อความคำว่า computer วิ่งมาจากด้านซ้ายมือเหมือนกันแต่ให้วิ่งมาทีละตัวโดยให้ตัวอีกษร C มีขนาดใหญ่กว่าตัวอักษรตัวอื่นๆ พร้อมทั้งมีเสียงประกอบเพื่อให้เกิดความตื่นเต้นเร้าใจ

3. ใส่เหตุการณ์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในลำดับขั้นตอนที่ 2 เช่นกำหนดให้เส้นแนวตั้งปรากฏขึ้นมาด้านขวามือจากนั้นกำหนดเส้นแนวนอนวิ่งมาจากด้านซ้ายมือโดยให้ปลายของแนวนอนชนเส้นแนวตั้ง ให้ข้อความคำว่า ช่วยสอน วิ่งจากด้านซ้ายมือโดยให้หยุดที่ปลายเส้นแนวนอนให้เส้นและข้อความกระโดดไปยังตำแหน่งบนพร้อมกันและกลับมาที่ตำแหน่งเดิม

4. ใส่เหตุการณ์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในลำดับขั้นตอนที่ 3 เช่น ให้ข้อความคำว่า วิชา... ปรากฏขึ้นโดยให้ปรากฏเป็นตัวอักษรขนาดใหญ่แล้วค่อยๆ เล็กลง

5. ใส่เหตุการณ์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในลำดับขั้นตอนที่ 4 เช่น ให้ข้อความว่า วิชา... แปลงร่างเป็นข้อความ การประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ 6. ใส่เลขลำดับของแต่ละขั้นตอน

ตัวอย่าง Story Board



ภาพประกอบที่ 1.1 ตัวอย่าง Story Board

1. จัดทำโปรแกรมให้กับชิ้นงาน

เป็นขั้นตอนการสร้างซอฟต์แวร์สื่อประสม โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการจัดทำซึ่งจะต้องเลือกโปรแกรมที่เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น ใช้โปรแกรม Macromedia Flash ในการสร้างการนำเข้าสู่บทเรียนหรือใช้สร้างการอธิบายเนื้อหาส่วนที่ต้องการให้เข้าใจลึกซึ้ง ใช้โปรแกรม Macromedia Authorware ในการควบคุมประสานงานกับโปรแกรมต่างๆ เพื่อให้เกิดเป็นโครงสร้างของซอฟต์แวร์สื่อประสมตามต้องการ

2. ประเมินผลและทบทวน

ปฏิบัติการทดสอบการงานซอฟต์แวร์สื่อประสมที่ผลิตขึ้น โดยปฏิบัติการทดอบหลายๆ ครั้งกับกลุ่มผู้ใช้เพื่อหาข้อผิดพลาด เมื่อพบข้อผิดพลาดให้ปฏิบัติการแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์

3. เผยแพร่

หลังจากที่ผลิตซอฟแวร์สื่อประสมและปฏิบัติการทดสอบจนได้ซอฟต์แวร์สื่อประสมที่ถูกต้องและสมบูรณ์แล้ว ให้เผลแพร่ซอฟแวร์สื่อประสมโดยการจำหน่ายหรือใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนก็ได้

การใช้โปรแกรมสื่อประสมกับงานธุรกิจ

ในยุคปัจจุบันมีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้การสื่อสารมีการวิวัฒนาการไปอย่างรวดเร็ว โดยโต้ตอบกันภายใต้ระบบงานแบบมัลติมีเดียหรือแบบสื่อประสม ซึ่งงานมัลติมีเดียที่ดีนั้นไม่ได้มุ่งเน้นที่ความสวยงามเพียงอย่างเดียว หัวใจของงานมัลติมีเดียอยู่ที่การนำเสนอข้อมูลสารสนเทศให้น่าสนใจ มีการบอกเล่าเรื่องราวเป็นขั้นตอน มีการแบ่งเนื้อหาเป็นส่วนต่างๆ ออกเป็นหมวดหมู่ที่ชัดเจนและครบถ้วน จึงจะถือว่าเป็นงานออกแบบมัลติมีเดียอย่างแท้จริง ส่วนที่เหลือคือการดึงดูดใจให้น่าใช้งาน ชวนตื่นตาตื่นใจในการติดตาม ซึ่งสามารถแบ่งงานด้านมัลติมีเดียหรืองานด้านสื่อประสมได้ ดังนี้

1. ธุรกิจรับจ้างพัฒนาระบบมัลติมีเดียให้แก่องค์กรต่างๆ หน่วยงานที่จ้างส่วนใหญ่เป็นบริษัทขนาดใหญ่หรือองค์การของรัฐบาล ซึ่งเป็นธุรกิจที่ได้ค่าจ้างค่อนข้างแพงแต่ต้องใช้เวลาการทำงานและต้นทุนค่อนข้างสูง เนื่องจากเป็นงานที่ต้องได้มาตรฐาน เช่น งานสื่อสิ่งพิมพ์

2. ธุรกิจงานโฆษณา หลายบริษัทได้นำสื่อมัลติมีเดียไปช่วยในงานโฆษณาขายสินค้าทางโทรทัศน์หรือตามบูธขายสินค้าต่างๆ เพื่อให้ข้อมูลสินค้าน่าสนใจ

3. ธุรกิจผลิตโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aided Instruction หรือ CAI) ซึ่งเป็นสื่อที่มีขายตามท้องตลาดทั่วไป โดยสื่อมัลติมีเดียจะสามารถเข้าใจได้ง่าย เช่น สื่อจะผลิตในเรื่องของ สัตว์โลกล้านปี การทำอาหาร การแต่งหน้า ก็ได้ 4. ธุรกิจรับจ้างจัดทำเว็บเพจปัจจุบันการโฆษณาสินค้าทางโทรทัศน์หรือทางนิตยสารจะต้องเสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง จึงมีหลายบริษัทที่หันมาพึ่งโฆษณาสินค้าผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะมีการนำเสนอสินค้าได้มากและน่าสนใจไม่แพ้ทางโทรทัศน์ และยังลดค่าใช้จ่ายได้เป็นจำนวนมากอีกด้วย