แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA)

ตำแหน่งครู (ยังไม่มีวิทยฐานะ)

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565

ข้อตกลงในการพัฒนางาน ไม่มีวิทยฐานะ วีณา เรี่ยวแรง.pdf

แบบรายงานข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) ตำแหน่งครู

(ยังไม่มีวิทยฐานะ)

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565


ผู้จัดทำข้อตกลง

ชื่อ นางสาววีณา นามสกุล เรี่ยวแรง ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครู (ยังไม่มีวิทยฐานะ)

กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ สถานศึกษา โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ นนทบุรี
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี

รับเงินเดือนใน อันดับ คศ. อัตราเงินเดือน 22,610 บาท


ประเภทห้องเรียนที่จัดการเรียนรู้ : ห้องเรียนวิชาสามัญหรือวิชาพื้นฐาน

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564

1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 15 ชั่วโมงสัปดาห์ดังนี้

1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 11 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565

1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 15 ชั่วโมงสัปดาห์ดังนี้

1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 11 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

ลักษณะงานที่ปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งครู

องค์ประกอบที่ 1

การจัดการเรียนการสอน

การส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้

การพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพ

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทาย

ในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

ประเด็นท้าทาย

เรื่อง

พัฒนาทักษะทางนาฏศิลป์ โดยการเสริมแรงทางบวก
ผสานกับแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อการแก้ปัญหาพฤติกรรมต่อความสนใจในการเรียนนาฏศิลป์ไทย รายวิชาศิลปะ 3
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

1. สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้

จากประสบการณ์การสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และได้ทำการสำรวจถึงสภาพปัญหาของนักเรียนที่มีพฤติกรรมต่อความสนใจ ในรายวิชาศิลปะ (นาฏศิลป์) สภาพปัจจุบันของนักเรียน มีนักเรียนที่มีพฤติกรรมไม่ตั้งใจเรียนในรายวิชาและขาดความรับผิดชอบในการเรียน ไม่ทำงานที่ได้รับมอบหมาย ทำให้บรรยากาศการเรียนรู้ไม่เอื้อต่อการเรียนการสอน ทำให้เกิดปัญหาในการจัดการเรียนรู้ วิธีหนึ่งที่อาจจะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้ คือการเสริมแรงทางบวก เพราะการเสริมแรกทางบวกจะช่วยให้ผู้เรียนมีทัศนคติที่ดีขึ้นต่อการเรียนรู้ และอีกวิธีหนึ่งที่ผู้สอนจะนำมาใช้คือแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อให้เป็นการพัฒนาพฤติกรรมและส่งเสริมศักยภาพของผู้เรียน ให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะที่มากขึ้นจกาการเรียนรู้แบบร่วมมือ

2. วิธีการดำเนินการ

2.1 วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2561) หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ นนทบุรี และเอกสารหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

2.2 ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับหลักการ แนวคิด การเสริมแรงทางบวก และวิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ จากเอกสารที่เกี่ยวข้อง

2.3 สร้างแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การเสริมแรงทางบวกผสานกับแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ

2.4 ให้หัวหน้ากลุ่มสาระศิลปะ ครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ช่วยกันตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา และกิจกรรม พร้อมทั้งขอคำแนะนำเพิ่มเติม เพื่อปรับปรุง แก้ไขให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

2.5 นำแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การเสริมแรงทางบวกผสานกับแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ ที่ได้ปรับปรุงและแก้ไขแล้วไปจัดพิมพ์ เพื่อนำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายต่อไป

2.6 นำแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การเสริมแรงทางบวกผสานกับแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ ไปใช้กับกลุ่มเป้าหมาย

2.7 บันทึกผลการเรียนรู้ของนักเรียน ที่เกิดขึ้นจาก โดยใช้การเสริมแรงทางบวกผสานกับแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ และสะท้อนผลการเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ

2.8 ให้นักเรียนตอบแบบสอบถามวัดความพึงพอใจต่อการเรียนโดยแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การเสริมแรงทางบวกผสานกับแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ


3. ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนที่คาดหวัง

3.1 เชิงปริมาณ

นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 8 ห้อง รวมจำนวนนักเรียนทั้งหมด 350 คน ได้รับการพัฒนาความสนใจในการเรียนนาฏศิลป์ไทย รายวิชาศิลปะ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยมีคะแนนเก็บผ่านเกณฑ์ (ร้อยละ 80 ของคะแนนเต็ม) คิดร้อยละ 80 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด

ตอนที่ 1 ความพึงพอใจต่อครูผู้สอน นางสาววีณา เรี่ยวแรง นักเรียนทั้งหมดมีความพึงพอใจต่อครูผู้สอน ในการเรียนนาฏศิลป์ไทย รายวิชาศิลปะ 3 มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มาก โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.93 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ในระดับ มาก เท่ากับ 0.97

ตอนที่ 2 ความพึงพอใจต่อการพัฒนาการแสดงรำวงจากการปฏิบัติรำวงโรงเรียน รายวิชาศิลปะ 3 มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มาก โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.88 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ในระดับ มาก เท่ากับ 0.98

3.1 เชิงคุณภาพ

นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 8 ห้อง รวมจำนวนนักเรียนทั้งหมด 350 คน ได้รับการพัฒนาทักษะความสามารถในกาแสดงออกทางนาฏศิลป์ไทย และให้ความสำคัญกับวิชานาฏศิลป์ไทยมากขึ้น และสามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ไปเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน และบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ ได้ (ตัวอย่างผลงานนักเรียน)

ผลงานท่ารำของห้องเรียน ม. 2 ที่ได้จากประสบการณ์ การเรียนรู้ในคาบเรียนนาฏศิลป์

และระดมความคิดสร้างสรรค์ท่ารำ รวมทั้งการแปรแถว โดยครูเป็นผู้ชี้แนะ

ผลงานการสรุปบทเรียน รำวงคืนสู่เหย้า
จากท่ารำ สู่การบันทึกความรู้ และวิเคราะห์