ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ของผู้จัดทำข้อตกลงซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งครู (ยังไม่มีวิทยฐานะ) ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวัง คือ

การปรับประยุกต์

การจัดการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น (ทั้งนี้ ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับ
การปฏิบัติที่คาดหวังที่สูงกว่าได้)

ประเด็นท้าทาย

เรื่อง การพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์ ด้วยกระบวนการ STEAM to Innovator

รายวิชาชีววิทยา ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้

ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาชีววิทยา 1 และชีววิทยา 2 รูปแบบออนไลน์ พบว่า ในภาคการศึกษาที่ผ่านมาการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อผสมที่หลากหลาย (GG. Meet, GG. Site, GG. From และ Application line เป็นต้น) ซึ่งผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านการสื่อสารกับครูผู้สอนในรูปแบบ On-line (สอนสดผ่านสื่อ และแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ที่นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง) และอาจทำให้นักเรียนมีความสนใจในการเรียนค่อนข้างน้อย ประกอบกับธรรมชาติของเนื้อหาที่มีความเข้าใจยาก เนื่องจากมีการเปรียบเทียบสัญลักษณ์ คำศัพท์เฉพาะทางชีววิทยา และมีการคำนวณหาความน่าจะเป็นของโอกาสที่เกิดขึ้น ถึงแม้ว่าเนื้อหาจะเป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวนักเรียนก็ตาม จึงทำให้ครูผู้สอนเกิดความสนใจในการปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนการสอน ที่จะกระตุ้นความสนใจของนักเรียน
จัดกิจกรรมการทดลองอย่างง่ายที่นักเรียนสามารถนำสิ่งของที่อยู่ในที่พักอาศัยมาปรับประยุกต์ใช้ออกแบบในการเรียนรู้ของนักเรียนได้ โดยเชื่อมโยงให้เข้ากับบริบทของผู้เรียนเอง และคาดหวังให้นักเรียนสามารถพัฒนาต่อยอดความรู้ไปสู่การจัดทำโครงงานหรือนวัตกรรมได้อย่างยั่งยืน (SDGs) โดยใช้กระบวนการ STEAM to Innovator (ดัดแปลงจาก STEAM4INOVATOR; สำนักนวัตกรรมแห่งชาติ) ซึ่งสอดคล้องกับหลักสูตรฐานสมรรถนะที่เป็นการเรียนรู้แบบ Active Learning ในยุคศรรตวรรษที่ 21 อีกทั้งยังส่งเสริมให้ครูผู้สอนและนักเรียนเป็นนวัตกรอันเป็นผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อสังคม

วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล (PDCA)

ผลลัพธ์การพัฒนางานในเป็นประเด็นท้าทาย

ผลลัพธ์เชิงปริมาณ

1. ผู้เรียนร้อยละ 80 ผ่านเกณฑ์การประเมินตามทักษะทางวิทยาศาสตร์ในระดับดีขึ้นไป (คะแนนคุณภาพ 3)

พบว่า 1.นักเรียนร้อยละ 86.11 ผ่านเกณฑ์การประเมินตามทักษะทางวิทยาศาสตร์ในระดับดีมาก
2.นักเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงสุดด้านการจัดการอารมณ์และความเครียด (ค่าเฉลี่ย 4.69) และค่าเฉลี่ยต่ำสุดด้านการตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น (ค่าเฉลี่ย 4.19)

2. ผู้เรียนร้อยละ 100 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์การผ่าน ร้อยละ 50 และร้อยละ 75 ของผู้เรียนที่ได้ผลการเรียนระดับ 3 ขึ้นไป

พบว่าผู้เรียนร้อยละ 100 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์การผ่านร้อยละ 50 (ามค่าคาดหวัง)

พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับ 3 ขึ้นไป ของนักเรียนทั้ง 3 ชั้นเรียน มีค่าเฉลี่ยร้อยละเท่ากับ 77.24 (สูงกว่าค่าคาดหวัง)

ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ

3. ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนด้วยกระบวนการ STEAM to Innovator

การปฏิบัติงานตามมาตรฐานตำแหน่งครูและมีภาระงานตาม ก.ค.ศ. กำหนด