1.1 การสร้างและพัฒนาหลักสูตร

1. วิเคราะห์หลักสูตร มาตรฐานการเรียนรู้และผลการเรียนรู้

2. จัดทำหน่วยการเรียนรู้ ในรายวิชาชีววิทยาเพิ่มเติม1

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2550

หลักสูตรสถานศึกษา

ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาชีววิทยา

1.2 การออกแบบการจัดการเรียนรู้

1. วิเคราะห์ผู้เรียนตามบริบทแวดล้อมและศักยภาพของแต่ละบุคคล (อ้างอิงจากภาคการศึกษา 2/2563)

2. ออกแบบหน่วยการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วม (Active Learning) กระบวนการกลุ่ม และการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อเป็นการฝึกให้ผู้เรียนได้ทั้งทักษะความรู้และกระบวนการส่งเสริมให้สมาชิกภายในกลุ่มแสดงบทบาทหน้าที่ชัดเจน ช่วยเหลือกันและมีส่วนร่วมทุกคน

แผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสิ่งแวดล้อม.pdf

1.3 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้

1. ออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักสูตรฐานสมรรถนะและ STEAM to Innovator รายวิชาชีววิทยาเพิ่มเติม1 เช่น

- การรับฟังบรรยายโดยตรงจากครูผู้สอน/ออนไลน์ โดยมีการใช้คำถามกระตุ้น (RCA: reflex, check, apply) และการสรุปบทเรียน (RAA: review, analyze, apply)

- ชุดกิจกรรมการทดลอง ชุดใบงานส่งเสริมกระบวนการคิดและออกแบบโครงงาน/นวัตกรรม ชุดแบบฝึกหัดทดสอบความเข้าใจ และแบบทดสอบความเข้าใจหลังเรียน/กิจกรรม


ตัวอย่างผลงานนักเรียน

1.4 สร้างและหรือพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้

1. ครูสร้างห้องเรียนออนไลน์ผ่าน Google Classroom เป็นสื่อกลางในการสื่อสาร/แจ้งกำหนดการต่าง ๆ และการส่งงานของผู้เรียน โดยออกแบบให้เหมาะสมและน่าสนใจ และสอนออนไลน์ผ่าน Google Meet ร่วมกับ Mentimeter เป็นต้น

- สร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านแอพพลิเคชั่นและแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ เพื่อนำเสนอสื่อและผลงานของผู้เรียนผ่าน Google Site และ E-book

- สร้างแบบทดสอบที่หลากหลาย ผ่าน Google From และ Quizizz เป็นต้น


รายวิชาชีววิทยาเพิ่มเติม 1

รายวิชาชีววิทยาเพิ่มเติม 2

1.5 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

1. การคิดค้นพัฒนารูปแบบการวัดและประเมินผลผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลายตามศักยภาพของแต่ละบุคคล/กลุ่ม ให้สอดคล้องกับหลักสูตรและวิธีการจัดการเรียนการสอน โดยใช้เครื่องมือแบบสังเกต/แบบประเมินผลต่าง ๆ เช่น

- แบบประเมินการนำเสนอผลงาน/ชิ้นงาน/โครงงาน/นวัตกรรมของผู้เรียน

- แบบฝึกหัด และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์กลางภาคและปลายภาคเรียนได้ผ่านเกณฑ์การประเมิน

แบบบันทึกคะแนนนักเรียนรายวิชาชีววิทยา ระดับชั้น ม.1 และ ม.4

คะแนน-1-65.xlsx

แบบบันทึกคะแนนนักเรียนรายวิชาชีววิทยา ระดับชั้น ม.1 และ ม.4

บบฝึกหัดเรื่องธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต

แบบฝึกหัดบทที่เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต

แบบฝึกหัดเรื่องการเคลื่อนที่ของสาร

แบบฝึกหัดเรื่องการแบ่งเซลล์

1.6 ศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ และสังเคราะห์ เพื่อแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้

1. ครูศึกษาข้อมูล แนะนำวิธีการสืบค้นข้อมูล/งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ สังเคราะห์ ข้อมูลผลการศึกษา และ จัดกระทำข้อมูลเพื่อนำเสนอตามหลักทางวิชาการ

2. แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และทักษะชีวิต เพื่อวิเคราะห์ผล ด้วยกระบวนการวิจัยพัฒนาหรือแก้ปัญหาผู้เรียน

การติดตาม ประเมินผล และแก้ไขปัญหาผู้เรียนในระหว่างเรียน ภาคเรียนที่ 1/2565

นักเรียนมีคะแนนเก็บก่อนกลางอยู่ระหว่างร้อยละ 83.33-100 ทั้งนี้ได้มีการเปิดโอกาสให้นักเรียนซ่อมเสริมจนทุกคนมีคะแนนมากกว่าร้อยละ 70 ของคะแนนเก็บ

นักเรียนที่มีคะแนนสอบกลางภาคต่ำกว่าเกณฑ์การผ่าน ทั้งนี้ได้มีการให้นักเรียนได้ซ่อมเสริมตามตัวชี้วัด และมีคะแนนผ่านเกณฑ์การผ่านร้อยละ 50 ทุกคน

การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และแก้ไขปัญหาพัฒนาผู้เรียน ภาคเรียนที่ 2/2564

64-รายงานวิจัยในชั้นเรียนประจำปีการศึกษา 2564.pdf

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาคเรียนที่ 1 และ 2 ปีการศึกษา 2564 พบว่าผลการเรียนระดับเกรด 3 ขึ้นขึ้นไป ซึ่งในภาคเรียนที่ 2/65 มีค่าเท่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ ร้อยละ 77.24 (ประกันคุณภาพที่ร้อยละ 70 ขึ้นไป)

1.7 จัดบรรยากาศ ที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน

1. ครูใช้เทคนิคการตั้งคำถาม (RCA) และเทคนิคการสรุปบทเรียน (RAA) โดยให้นักเรียนค้นหาคำตอบสะท้อน ความคิด ความรู้สึกเชื่อมโยงและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

2. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ให้คำปรึกษา แนะนำ พัฒนาจนดำเนินกิจกรรมสำเร็จ และมีการสร้างแรงจูงใจเชิงบวกแก่ผู้เรียน

3. ให้ผู้เรียนทำแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน เพื่อสะท้อนการดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู

เวรประจำวันการดูแลความสะอาดของห้องเรียน

การจัดการเรียนรู้ในบรรยากาศที่หลากหลาย

1.8 อบรมและพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของผู้เรียน

ครูสอดแทรกคุณธรรมอัตลักษณ์ จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ในการจัดการเรียนการสอนมีการ เช่น ความมีจิตอาสา/จิตสาธารณะ การใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า และมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ เป็นต้น และสามารถ แก้ไขปัญหาผู้เรียนที่มีปัญหาในด้านต่างๆ ได้

ส่งเสริมนักเรียนร่วมกิจกรรมทางสิ่งแวดล้อม

กิจกรรม HOME ROOM ชั้น ม.1/2