ว9/2564 (PA)

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

1. ภาระงาน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 มีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 15.77 ชั่วโมง/สัปดาห์ ดังนี้

  • กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

- รายวิชาชีววิทยา 3 (ว32242) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 9.96 ชั่วโมง/สัปดาห์

- รายวิชาเทคนิคปฏิบัติการทางชีววิทยา 2 (ว31218) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 1.66 ชั่วโมง/สัปดาห์

- ติว 9 วิชาสามัญ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1.66 ชั่วโมง/สัปดาห์

  • กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

- รายวิชายุวกาชาด ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 0.83 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน รายวิชาชุมนุม Sci show ม.ปลาย จำนวน 0.83 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กิจกรรมสาธารณะประโยชน์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 0.83 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

- การมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

- ประชุมโรงเรียนประจำเดือน

1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 13 ชั่วโมง/สัปดาห์

- คณะทำงานงานห้องเรียนพิเศษ ITP จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

- คณะทำงานงานทะเบียนวัดผล จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

- คณะทำงานงานสิ่งแวดล้อม จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

- งานที่ปรึกษา งานดูแลนักเรียน งานโฮมรูม จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์

- งานตรวจการบ้านนักเรียน จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์

- งานเยี่ยมบ้าน งานติดตามนักเรียน

1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- งานห้องเรียนสีขาว จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

รวมชั่วโมงภาระงานทั้งหมด 31.77 ชั่วโมง/สัปดาห์


2. ภาระงาน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 มีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

2.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 16.6 ชั่วโมง/สัปดาห์ ดังนี้

  • กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

- วิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (ว30111) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 7.47 ชั่วโมง/สัปดาห์

- วิชาเทคนิคปฏิบัติการทางชีววิทยา 1 (ว31217) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 1.66 ชั่วโมง/สัปดาห์

- วิชาชีววิทยา 2 (ว32241) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 4.98 ชั่วโมง/สัปดาห์

  • กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

- รายวิชายุวกาชาด ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 0.83 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน รายวิชาชุมนุม Sci show ม.ปลาย จำนวน 0.83 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กิจกรรมสาธารณะประโยชน์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 0.83 ชั่วโมง/สัปดาห์

2.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

- การมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

- ประชุมโรงเรียนประจำเดือน

2.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 14 ชั่วโมง/สัปดาห์

- คณะทำงานงานห้องเรียนพิเศษ ITP จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

- คณะทำงานงานทะเบียนวัดผล จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

- หัวหน้างานงานสิ่งแวดล้อม จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์

- งานที่ปรึกษา งานดูแลนักเรียน งานโฮมรูม จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์

- งานตรวจการบ้านนักเรียน จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์

- งานเยี่ยมบ้าน งานติดตามนักเรียน

2.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- งานห้องเรียนสีขาว จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

รวมชั่วโมงภาระงานทั้งหมด 33.6 ชั่วโมง/สัปดาห์

ตารางสอน 2/2564

ตารางสอน 1/2565

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

ประเด็นท้าทาย : เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์และเจตคติที่ดีต่อวิชาชีววิทยา ในการเรียนเรื่องระบบย่อยอาหาร โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้เกมเป็นฐาน

1. สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้

ในการจัดการเรียนสอนวิชาชีววิทยา เรื่อง ระบบย่อยอาหาร เนื้อหาเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวและเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของผู้เรียนแต่มีกลไกระบบการทำงานที่ซับซ้อน เนื่องจากมีอวัยวะหลายส่วนที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน มีเอนไซม์ที่ใช้ในการย่อยอาหารหลายชนิด จึงเป็นเรื่องที่ยากสำหรับนักเรียนที่จะมองเห็นภาพรวมทั้งระบบและสามารถจดจำเนื้อหาได้ ทำให้ในการเรียนเรื่องระบบย่อยอาหารเป็นเรื่องที่ยากและน่าเบื่อสำหรับนักเรียน ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ที่ต่ำและมีเจตคติที่ไม่ดีต่อวิชาชีววิทยา ผู้สอนจึงต้องการพัฒนาให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ระบบย่อยอาหารที่ดี และส่งเสริมให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีววิทยา โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่มีเกมเป็นฐานเพื่อส่งเสริมให้มีการเรียนการสอนที่สนุกสนานและได้ความรู้ไปพร้อม ๆ กัน

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

1. ออกแบบแผนการสอนที่ใช้เกมเป็นฐาน

2. ออกแบบเกม ทดลองใช้ ปรับปรุงแก้ไข

3. สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

4. สร้างแบบสอบถามวัดเจตคติต่อรายวิชาชีววิทยา 3

5. วัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียน เทียบกับเกณฑ์ผ่านร้อยละ 60

6. วัดเจตคติหลังเรียนของผู้เรียนต่อรายวิชาชีววิทยา 3 หลังจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน

ปริศนาสายฟ้าแลบ !!.pdf
ปริศนาสายฟ้าแลบ !!.pptx

เกมปริศนาฟ้าแลบ เรื่องการย่อยในลำไส้เล็ก

ภาพขณะทำกิจกรรมโดยใช้เกมปริศนาฟ้าแลบ เรื่องการย่อยในลำไส้เล็ก

3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

3.1 เชิงปริมาณ

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ นนทบุรี จำนวนร้อยละ 70 ขึ้นไป มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเรื่อง ระบบย่อยอาหาร โดยใช้เกมเป็นฐานผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 และมีผลการประเมินเจตคติที่ดีของผู้เรียนต่อวิชาชีววิทยา ระดับมากขึ้นไป

3.2 เชิงคุณภาพ

การจัดการเรียนรู้เรื่อง ระบบย่อยอาหารโดยใช้เกมเป็นฐานสามารถพัฒนาเจตคติที่ดีต่อวิชาชีววิทยาได้