การบูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 

การบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการจัดการศึกษา

     แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้นสามารถนำไปบูรณาการได้ในหลาย ๆ แนว โดยในที่นี้จะ กล่าวถึงเฉพาะการบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในด้านการจัดการศึกษา การขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปในการจัดการศึกษานั้นเป้าหมายสำคัญ คือ การทำให้ เด็กรู้จักการพอเพียง ปลูกฝัง อบรม เพื่อทำให้เด็กมีความสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และ วัฒนธรรมโดย สอดแทรกแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบูรณาการให้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร สาระการเรียนรู้ต่างๆ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 : 162)ซึ่งการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้แบบบูรณาการ มีความสอดคล้องกับมาตรา 24 ของ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ 2545 (กระทรวงศึกษาธิการ, 2546 : 12) ดังนี้ 

1. จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดย คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล 

2. ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ ความรู้มาใช้ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา 

3. จัดกิจกรรมให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้จักประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง 

4. จัดการเรียนการสอน โดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุล กันรวมทั้ง ปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา 

5. ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สนใจสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียนและ อำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถทำการวิจัยเป็นส่วน หนึ่งของ กระบวนการเรียนรู้ ทั้งผู้สอนและผู้เรียนเกิดการเรียนอาจเรียนรู้ไม่พร้อมกัน จากสื่อการเรียนการสอน และแหล่งวิทยาการประเภทต่างๆ 

6. จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาและทุกสถานที่ มีการประสานความรวมมือกับ บิดามารดา ผู้ปกครอง แลบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมมือกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพกิจกรรม ทั้งหมดนี้คือ ต้อง เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย โดยสถานศึกษาตั้งเป้าหมายให้เกิดการจัดการเรียนรู้ สอนให้เด็ก พึ่งตนเองได้ก่อน จนสามารถเป็นที่พึ่งของผู้อื่นในสังคมได้ต่อไปนอกจากนี้ ผู้บริหาร และครู สามารถ 15 นำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้และบูรณาการในการจัดการศึกษา และจะต้องมี เป้าหมายหลักที่การพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมุ่งให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามแนวปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง