การบูรณาการป้องกันและปราบปรามการทุจริต 

การบูรณาการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

1. ความละอายต่อการทุจริตหรือการกระทำที่ไม่ถูกต้อง “ความละอาย” หมายถึง ความละอายและความเกรงกลัวต่อสิ่งที่ไม่ดี ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม เพราะเห็นถึงโทษหรือผลกระทบที่จะได้รับจากการกระทำนั้น จึงไม่กล้าที่จะกระทำ ทำให้ตนเองไม่หลงทำในสิ่งที่ผิด นั่นคือ มีความละอายใจ ละอายต่อการทำผิด

2. ความหมายของการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม “การขัดกันแห่งผลประโยชน์ส่วนบุคคลและผลประโยชน์ส่วนรวม” หรือ “การขัดกันระหว่าง ประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม” หรือ “การขัดกันระหว่างผลประโยชน์สาธารณะและ ผลประโยชน์ส่วนบุคคล” หรือ “ประโยชน์ทับซ้อน” หรือ “ผลประโยชน์ทับซ้อน” หรือ “ผลประโยชน์ ขัดกัน” หรือ“ผลประโยชน์ขัดแย้ง” หรือ “ความขัดแย้งทางผลประโยชน์” นั้นมีลักษณะทํานองเดียวกันกับกฎศีลธรรม ขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี หลักคุณธรรม จริยธรรม กล่าวคือ การกระทำใด ๆ ที่เป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงไม่ควรจะกระทำ แต่บุคคลแต่ละคน แต่ละกลุ่ม แต่ละสังคม อาจเห็นว่าเรื่องใดเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับ ประโยชน์ส่วนรวมแตกต่างกันไป หรือเมื่อเห็นว่าเป็นการขัดกันแล้วยังอาจมีระดับของความหนักเบาแนวทางการจัดกิจกรรมส่งเสริมการป้องกันการทุจริตด้านอาชีวศึกษา 39 แตกต่างกัน อาจเห็นแตกต่างกันว่าเรื่องใดกระทำได้กระทำไม่ได้แตกต่างกันออกไปอีก และในกรณีที่มีการฝ่าฝืนบางเรื่องบางคนอาจเห็นว่าไม่เป็นไร เป็นเรื่องเล็กน้อย แต่บางคนอาจเห็นเป็นเรื่องใหญ่ ต้องถูกประณาม ตําหนิติฉินนินทา ว่ากล่าว ฯลฯ แตกต่างกันตามสภาพของสังคม

3. ความหมายของ “STRONG: จิตพอเพียงต้านทุจริต”

         S (sufficient): ความพอเพียง ผู้นํา ผู้บริหาร บุคคลทุกระดับ องค์กรและชุมชน น้อมนําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้เป็นหลักความพอเพียงในการทำงาน การดำรงชีวิต การพัฒนาตนเองและส่วนรวม รวมถึงการป้องกันการทุจริตอย่างยั่งยืน ความพอเพียงต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งของมนุษย์แม้ว่าจะแตกต่างกันตามพื้นฐาน แต่การตัดสินใจต่อ ความพอเพียงของตนเองต้องตั้งอยู่บนความมีเหตุมีผล รวมทั้งต้องไม่เบียดเบียนตนเอง ผู้อื่น และส่วนรวม ความพอเพียงดังกล่าวจึงเป็นภูมิคุ้มกันให้บุคคลนั้นไม่กระทำการทุจริต ซึ่งต้องให้ความรู้ความเข้าใจและปลุกให้ตื่นรู้

       T (transparent): ความโปร่งใส ผู้นํา ผู้บริหาร บุคคลทุกระดับ องค์กรและชุมชนต้องปฏิบัติงานบนฐานของความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ดังนั้นจึงต้องมีและปฏิบัติตามหลักปฏิบัติ ระเบียบ ข้อปฏิบัติ กฎหมายด้านความโปร่งใส ซึ่งต้องให้ความรู้ความเข้าใจและปลุกให้ตื่นรู้

        R (realize): ความตื่นรู้ ผู้นำ ผู้บริหาร บุคคลทุกระดับ องค์กรและชุมชน มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักรู้ถึงรากเหง้าของปัญหาและภัยร้ายแรงของการทุจริตประพฤติมิชอบภายในชุมชน และประเทศ ความตื่นรู้จะบังเกิดเมื่อได้พบเห็นสถานการณ์ที่เสี่ยงต่อการทุจริต ย่อมจะมีปฏิกิริยา เฝ้าระวังและไม่ยินยอมต่อการทุจริตในที่สุด ซึ่งต้องให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์การทุจริต ที่เกิดขึ้นความร้ายแรงและผลกระทบต่อระดับบุคคลและส่วนรวม

   O (onward): มุ่งไปข้างหน้า ผู้นํา ผู้บริหาร บุคคลทุกระดับ องค์กรและชุมชนมุ่งพัฒนาและปรับเปลี่ยนตนเองและส่วนรวมให้มีความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน บนฐานความโปร่งใส ความพอเพียงและร่วมสร้างวัฒนธรรมสุจริตให้เกิดขึ้นอย่างไม่ย่อท้อ ซึ่งต้องมีความรู้ความเข้าใจในประเด็นดังกล่าว

      N (knowledge): ความรู้ ผู้นํา ผู้บริหาร บุคคลทุกระดับ องค์กรและชุมชนต้องมีความรู้ความเข้าใจ สามารถนําความรู้ไปใช้ สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินได้อย่างถ่องแท้ ในเรื่องสถานการณ์การทุจริต ผลกระทบที่มีต่อตนเองและส่วนรวม ความพอเพียงต้านทุจริต การแยกแยะผลประโยชน์ส่วนตัวและผลประโยชน์ส่วนรวมที่มีความสำคัญยิ่งต่อการลดการทุจริตในระยะยาว รวมทั้งความอายไม่กล้าทำทุจริตและความไม่ทนเมื่อพบเห็นว่ามีการทุจริตเกิดขึ้น เพื่อสร้างสังคมไม่ทนต่อการทุจริต

       G (generosity): ความเอื้ออาทร คนไทยมีความเอื้ออาทร มีเมตตา น้ำใจต่อกันบนฐานของจิตพอเพียงต้านทุจริต ไม่เอื้อต่อการรับหรือการให้ผลประโยชน์ต่อบุคคลหรือต่อพวกพ้อง

4. พลเมืองกับความรับผิดชอบต่อการทุจริต ดังที่กล่าวแล้วว่าประเทศที่กําลังพัฒนามีแนวโน้มที่จะเกิดการทุจริตขึ้นได้อย่างมาก เนื่องจากมีปัจจัยภายในที่เอื้อหรือสนับสนุนต่อการเกิดการทุจริตหลายปัจจัย ได้แก่

4.1 ปัจจัยด้านประชาชนหรือพลเมือง เช่น อยากมีรายได้มากขึ้นเพราะความยากจน ค่าจ้างแรงงานหรือรายได้ต่างมีความเสี่ยงสูงในด้านต่าง ๆ เช่น ความเจ็บป่วย อุบัติเหตุหรือการว่างงาน ความเจริญทางวัตถุทำให้อยากได้อยากมีนําไปสู่ปัญหาหนี้สิน

        4.2 ปัจจัยด้านการเมืองการปกครองประเทศ เช่น มีสถานการณ์หรือโอกาสที่อาจก่อให้เกิดการ ทุจริตได้เป็นจำนวนมาก มีกฎระเบียบต่าง ๆ ที่อาจนําไปสู่การทุจริต มีกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมที่ไม่เข้มแข็ง มีกฎหมายและประมวลจริยธรรมที่ล้าสมัย การเมืองไม่มีเสถียรภาพและมีเจตจํานงที่ไม่เข้มแข็ง ชัดเจน การสร้างความเป็นพลเมืองที่ไม่ทนต่อการทุจริต จะต้องเริ่มต้นจากการปรับกระบวนการคิด ตั้งแต่เด็ก ๆ โดยการปลูกฝังเรื่องคุณธรรม จริยธรรม จัดการศึกษาอบรมส่งเสริมให้ประชาชนทุกระดับ คิดได้ คิดดีและคิดเป็น เพื่อให้สามารถแยกแยะประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ ส่วนรวมได้ นําไปสู่สังคมปลอดการทุจริตในที่สุด