บทที่ 2

ประเภทและเงื่อนไขของการประกันภัย


การประกันภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การประกันชีวิต (Life Insurance) (click ชื่อแล้วให้ link ไปยังหัวข้อ ประกันชีวิต)และการประกันวินาศภัย (Non-Life Insurance) (click ชื่อแล้วให้ link ไปยังหัวข้อ การประกันวินาศภัย) โดยธุรกิจการประกันภัยทั้ง 2 ประเภท มีหลักเกณฑ์และมีการกำกับดูแลภายใต้กฎหมายที่แตกต่างกัน การประกอบธุรกิจประกันชีวิตอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ พ.ร.บ. ประกันชีวิต พ.ศ. 2535 สำหรับการประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ พ.ร.บ. ประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535

ตามหลักการวิชาการประกันภัย ได้แบ่งประเภทของการประกันภัยออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

1. การประกันภัยบุคคล (Insurance of the person)

เป็นการประกันภัยเกี่ยวกับภัยที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือที่เกิดกับบุคคล ได้แก่

1.1 การประกันชีวิต

1.2 การประกันอุบัติเหตุ

1.3 การประกันสุขภาพ

2. การประกันภัยทรัพย์สิน (Property Insurance)

เป็นการประกันที่บริษัทผู้รับประกันภัยทำสัญญายินยอมที่จะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือชดใช้เงินจำนวนหนึ่งให้กับผู้เอาประกันภัย ในกรณีที่เกิดความเสียหายเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เอาประกัน ได้แก่เป็นการประกันที่บริษัทผู้รับประกันภัยทำสัญญายินยอมที่จะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือชดใช้เงินจำนวนหนึ่งให้กับผู้เอาประกันภัย ในกรณีที่เกิดความเสียหายเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เอาประกัน ได้แก่

2.1 การประกันอัคคีภัย

2.2 การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง

2.3 การประกันภัยรถยนต์

2.4 การประกันภัยเบ็ดเตล็ด

3. การประกันภัยเกี่ยวกับความรับผิดตามกฎหมาย (Liability Insurance)

เป็นการประกันภัยที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมาย ที่เกิดจากการประมาทเลินเล่อของผู้เอาประกันภัย บุคคลในครอบครัว หรือลูกจ้างของผู้เอาประกันภัยที่ทำให้ผู้อื่นเสียชีวิต ได้รับบาดเจ็บ เจ็บป่วย หรือทรัพย์สินเสียหาย ซึ่งสามารถแบ่งประเภทการประกันภัยเกี่ยวกับความรับผิดตามกฎหมาย แบ่งออกได้กว้างๆ ดังนี้

3.1 การประกันภัยความรับผิดต่อสาธารณะ (Public Liability Insurance)

3.2 การประกันภัยความรับผิดจากผลิตภัณฑ์ (Product Liability Insurance)

3.3 การประกันภัยความรับผิดจากวิชาชีพ (Professional Liability Insurance)

0