ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทาย

ประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการ ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของวิทยฐานะชำนาญการ คือ การแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น (ทั้งนี้ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังที่สูงกว่าก็ได้)


ประเด็นท้าทาย การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาจีนพื้นฐาน เรื่อง การอ่านภาษาจีน ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)

1. สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้

ในการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาจีนพื้นฐาน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า ผู้เรียนขาดทักษะการอ่านภาษาจีน เนื่องจากอักษรจีนเป็นอักษรรูปภาพ จึงไม่สามารถสะกดคำอ่านได้โดยตรงเหมือนกับภาษาอื่น ๆ ผู้เรียนจำเป็นต้องจดจำตัวอักษรแต่ละตัวว่าอ่านอย่างไรและมีหมายความว่าอะไร ส่งผลให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาจีนพื้นฐานไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด ดังนั้นผู้สอนจึงจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาจีนพื้นฐาน เรื่อง การอ่านภาษาจีน ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

2.1 วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนสุรธรรมพิทักษ์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2561) ในเรื่องของมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด และผลการเรียนรู้รายวิชาภาษาจีน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

2.2 จัดทำหน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาจีนพื้นฐาน รหัสวิชา จ20208 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)

2.3 ให้ครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศช่วยประเมินและตรวจสอบความถูกต้องของหน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ พร้อมทั้งเสนอแนะเพื่อปรับปรุงแก้ไข

2.4 นำผลการประเมินหน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้มาปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

2.5 จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โดยจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับบริบทของห้องเรียน

2.6 บันทึกผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่เกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น

3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

3.1 เชิงปริมาณ

ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 7 ห้อง รวมจำนวนผู้เรียนทั้งหมด 228 คน ได้รับการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาจีนพื้นฐาน เรื่อง การอ่านภาษาจีน โดยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ดังนี้

1) ผู้เรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นไปตามค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด

2) ผู้เรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 มีความสามารถในการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียนเป็นไปตามค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด

3) ผู้เรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์เป็นไปตามค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด

3.2 เชิงคุณภาพ

ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้น กล้าแสดงออก กล้าคิด กล้าทำ มีความมั่นใจในการใช้ภาษาจีนมากขึ้น มีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบ สามารถปฏิบัติงานร่วมกับเพื่อนในกลุ่มได้ เกิดเจตคติที่ดีในการเรียนวิชาภาษาจีน ส่งผลให้ผู้สอนสามารถพัฒนาผู้เรียนได้อย่างเต็มศักยภาพ

คำอธิบายรายวิชา.pdf
แผนการสอน เรื่อง สัตว์-New.pdf

แผนการจัดการเรียนรู้

ค่าเป้าหมาย 2.pdf

ค่าเป้าหมาย

ผลลัพธ์เชิงปริมาณ

วผ.1-2564-Term-2.pdf
  • ผู้เรียนร้อยละ 94.30 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นไปตาม ค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด

  • ผู้เรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 95.61 มีความสามารถในการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียนเป็นไปตามค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด

  • ผู้เรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 100 มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์เป็นไปตามค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด

ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ

video_20220909_082522.mp4
video_20220909_124241.mp4

ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้น เพราะผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนการสอน

พูดสุนทรพจน์ มต้น โรงเรียนสุรธรรมพิทักษ์.mp4

ผู้เรียนมีความมั่นใจในการใช้ภาษาจีนมากขึ้น เข้าร่วมการแข่งขันทักษะทางภาษาจีน และกิจกรรมที่เกี่ยวกับภาษาจีน

ผู้เรียนสามารถปฏิบัติงานร่วมกับเพื่อนในกลุ่มได้

ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีในการเรียนวิชาภาษาจีน