ประจำปีงบประมาณ 2566

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน 

ระเด็นท้าทาย เรื่อง  การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาสังคมศึกษา ส21101  เรื่องภัยพิบัติทางธรรมชาติในทวีปเอเชีย    ทวีปออสเตรเลียและโอเชียเนีย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคแผนผังกราฟิก


1. สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้

         จากการจัดการเรียนการสอนรายวิชาสังคมศึกษา ส21101 ที่ผ่านมาพบว่านักเรียนไม่ชอบเรียนวิชาภูมิศาสตร์และสังคมศึกษา  เนื่องจากคิดว่าเป็นวิชาที่น่าเบื่อ นักเรียนจำแต่เนื้อหาเพียงอย่างเดียวโดยไม่เข้าใจความหมายสภาพพื้นที่ภูมิศาสตร์นั้นจริง อาจจะเป็นเพราะนักเรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์ที่ยังไม่ดีพอ และจากการสอบถามนักเรียนพบว่านักเรียนจะชอบทำใบงาน ตกแต่งระบายสีสวยงาม ชอบวาดภาพตกแต่งในชิ้นงานที่ให้ทำ จึงคิดนำการใช้แผนผังกราฟิกมาเป็นการพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ของนักเรียน ซึ่งจะนำมาใช้เป็นแกนในการพัฒนาผู้เรียน จะช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรมและจะช่วยแก้ปัญหาเพื่อการจำแนกแยกแยะ ค้นหาองค์ประกอบและความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบช่วยให้เกิดความเข้าใจในเรื่องนั้นได้ดียิ่งขึ้น การใช้ผังกราฟิกจะเป็นการจัดข้อมูลสั้น ๆ ที่ง่ายต่อการจัดเก็บไว้ในความจำระยะยาวได้ดีกว่าข้อมูลที่เป็นข้อความยาว ๆ การใช้ผังกราฟิก จึงช่วยทำให้เกิดความคงทนในการเรียนรู้ ดังนั้นครูผู้สอนจึงทำข้อตกลงในการพัฒนางานประเด็นท้าทาย การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาสังคมศึกษา ส21101 เรื่องภัยพิบัติทางธรรมชาติในทวีปเอเชีย ทวีปออสเตรเลียและโอเชียเนีย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคแผนผังกราฟิก 

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล  (ตามกระบวนการคุณภาพ PDCA)

📚Plan

1. สร้างและพัฒนาหลักสูตรรายวิชาโดยวิเคราะห์หลักสูตรสถานศึกษา ผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551            (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) และหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา 

2. ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตามประเด็นท้าทาย ดังนี้

      1) การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม      2) การจัดการเรียนรู้แบบ  Active Learning

     3) ทักษะการคิดวิเคราะห์     4) งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

3. ออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติในทวีปเอเชีย ทวีปออสเตรเลียและโอเชียเนีย และในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ตลอดจนสร้าง/พัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ และสร้าง/พัฒนาเครื่องมือการวัดและประเมินผล

4.จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม  เพื่อร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องเชิงเนื้อหาและจุดประสงค์การเรียนรู้ในด้านเนื้อหา ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ด้านสื่อการเรียนรู้ที่เป็นนวัตกรรม และเครื่องมือการวัดและประเมินผล พร้อมทั้งนำข้อเสนอแนะจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาพัฒนาและปรับปรุงให้เกิดความสมบูรณ์ก่อนนำไปใช้

📝Do

5. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ออกแบบไว้ ในรายวิชา สังคมศึกษา ดำเนินการใช้นวัตกรรมที่ได้จากการสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning  และใช้เทคนิคแผนผังกราฟิก เรื่องภัยพิบัติทางธรรมชาติในทวีปเอเชีย ทวีปออสเตรเลียและโอเชียเนีย เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1 ในรายวิชา สังคมศึกษา รหัสวิชา ส21101 โดยปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับผลที่ได้จากการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ตลอดจนบริบทของโรงเรียน และเปิดชั้นเรียนให้สมาชิกในกลุ่ม PLC ได้เข้าร่วมสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันแล้วสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ของครู

📌Check 

6. วัดและประเมินผลการเรียนรู้หลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ออกแบบไว้ โดยจัดทำสารสนเทศข้อมูล ให้ข้อมูลสะท้อนกลับ เพื่อให้ผู้เรียนปรับปรุงการเรียนรู้ของตนเองให้ผู้เรียนพัฒนาการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

📋Act

7. บันทึกผลการเรียนรู้ สรุปผลการวัดและประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน นำผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงการจัดการเรียนรู้และพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ในปีการศึกษาต่อไป


8. รายงานผลการดำเนินการตามข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทาย ในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน 

3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

             3.1 เชิงปริมาณ

    ผู้เรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ แบบ Active Learning โดยใช้เทคนิคแผนผังกราฟิก เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติในทวีปเอเชีย 

    ทวีปออสเตรเลียและโอเชียเนีย มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70


             3.2 เชิงคุณภาพ

               ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติในทวีปเอเชีย ทวีปออสเตรเลียและโอเชียเนียและช่วยให้มีทักษะการคิด ช่วยในด้าน

การจำทำให้เกิดความคงทนในการเรียนรู้เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ในระดับสูงต่อไป

4. ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น 

               4.1 เชิงปริมาณ

ผู้เรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ แบบ Active Learning   โดยใช้เทคนิคแผนผังกราฟิก เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติในทวีปเอเชีย ทวีปออสเตรเลีย

                    และโอเชียเนีย มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นร้อยละ 85.54 


4.2 เชิงคุณภาพ

       ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติในทวีปเอเชีย ทวีปออสเตรเลียและโอเชียเนียและช่วยให้มีทักษะการคิด ช่วยในด้าน

                     การจำทำให้เกิดความคงทนในการเรียนรู้เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ในระดับสูงต่อไป

รายงานวิจัยชั้นเรียน 

งานวิจัยกราฟิก66.pdf

ภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้