เป็นกฎเกณฑ์ในการสร้างประโยคขึ้นมาอธิบายความหมายของโปรแกรม มีดังต่อไปนี้
- เครื่องหมาย ; (เซมิโคล่อน) เป็นการจบคำสั่งในบรรทัดนั้น ๆ
ตัวอย่าง
int ledPin = 13;
ข้อควรระวัง ถ้าไม่ได้พิมพ์เครื่องหมาย ; ปิดท้ายคำสั่งในบรรทัดใดบรรทัดหนึ่งส่งผลให้โปรแกรม นั้นคอมไพล์โปรแกรมไม่ผ่าน ตามรูปที่ 3.1
รูปที่ 3.1 ตัวอย่างการแจ้งข้อผิดพลาดเมื่อไม่พิมพ์เครื่องหมาย ;
- เครื่องหมาย { } (วงเล็บปีกกา) เป็นการกำหนดบล็อกของคำสั่ง ใช้กับคำสั่ง if, else,while หรือ for มีรูปแบบคำสั่งดังนี้
ตำแหน่งการเขียนวงเล็บปีกกา
รูปแบบฟังก์ชัน (function)
void ฟังก์ชันต่าง ๆ (รูปแบบข้อมูล)
{
คำสั่งที่ให้ทำงาน
}
รูปแบบคำสั่งเงื่อนไข
if (นิพจน์บูลีน)
{
คำสั่งที่ให้ทำงาน
}
else
{
คำสั่งที่ให้ทำงาน
}
รูปแบบฟังก์ชัน loop
while (นิพจน์บูลีน)
{
คำสั่งที่ให้ทำงาน
}
do
{
คำสั่งที่ให้ทำงาน
}
while (นิพจน์บูลีน);
for (ค่าเริ่มต้น; เงื่อนไขการทำซ้ำ, การเพิ่มหรือลดค่าตัวแปรในแต่ละรอบ)
{
คำสั่งที่ให้ทำงาน
}
ข้อควรระวัง การใส่วงเล็บปีกกาต้องใส่ทั้งวงเล็บปีกกา { และ } ให้ครบคู่ กรณีที่ใส่ไม่ครบคู่ส่งผลให้โปรแกรมนั้นคอมไพล์โปรแกรมไม่ผ่าน ตามรูปที่ 3.2
รูปที่ 3.2 ตัวอย่างการแจ้งข้อผิดพลาด กรณีใส่วงเล็บปีกกาไม่ครบ ๆ
- เครื่องหมาย // (หมายเหตุบรรทัดเดียว) เป็นส่วนของผู้เขียนโปรแกรมอธิบายเพิ่มเติม ในคำสั่งต่าง ๆ ว่าโปรแกรมทำงานอย่างไรในแต่ละบรรทัด เมื่อทำการคอมไพล์โปรแกรมประโยคที่อยู่ หลังเครื่องหมาย //ไม่ได้ถูกนำไปคอมไพล์ด้วย การใส่เครื่องหมาย // (หมายเหตุ) มีประโยชน์สำหรับ การตรวจสอบโปรแกรมภายหลัง หรือให้ผู้พัฒนาโปรแกรมท่านอื่นสามารถเข้าใจการเขียนโปรแกรม นั้น ๆ ได้
- เครื่องหมาย /* */ (หมายเหตุหลายบรรทัด) เป็นส่วนของผู้เขียนโปรแกรมอธิบาย เพิ่มเติม ในคำสั่งต่าง ๆ ว่าโปรแกรมทำงานอย่างไรสามารถอธิบายได้หลายบรรทัด
- เครื่องหมาย #defne เป็นคำสั่งในการกำหนดค่าคงที่ให้กับโปรแกรม มีรูปแบบคำสั่งดังนี้
#define ชื่อตัวแปรค่าคงที่ ค่าคงที่
- เครื่องหมาย #include เป็นคำสั่งให้นำไฟล์อื่นเข้ามาร่วมกับไฟล์โปรแกรมหลักมีรูปแบบคำสั่งดังนี้
#include <ชื่อไฟล์)