1. ทําการเขียนโปรแกรมเพื่อทดสอบการทํางาน ลงในโปรแกรม Arduino (IDE) ดังนี้
void setup() {
Serial.begin(9600);
}
void loop() {
Serial.println("Welcome to Arduino");
Serial.println("Congratulations, you've done a great job!"); while(1);
}
รูปที่ 2.14 ตัวอย่างการเขียนโปรแกรม Arduino (IDE)
2. เมื่อเขียนโปรแกรมเสร็จเรียบร้อยแล้วให้ทําการคอมไพล์โปรแกรม โดยคลิกปุ่มเครื่องหมายถูก หรือคลิกที่เมนูSketch คลิกเลือก Verify/Compile หรือกดปุ่ม Ctrl+R เพื่อตรวจสอบว่าโปรแกรมที่เขียนมีข้อผิดพลาดหรือไม่
รูปที่ 2.15 การคอมไพล์โปรแกรม
3. เมื่อเขียนโปรแกรมถูกต้อง โปรแกรมแสดงข้อความว่า Done Compiling
รูปที่ 2.16 การเขียนโปรแกรมถูกต้อง
4. จากนั้นทําการอัปโหลดโปรแกรมที่คอมไพล์เรียบร้อยแล้ว โดยการกดที่ปุ่ม Upload
รูปที่ 2.17 การอัปโหลดโปรแกรม
5. เมื่อทําการอัปโหลดเสร็จเรียบร้อยแล้ว โปรแกรมแสดงข้อความว่า Done uploading
รูปที่ 2.18 การอัปโหลดเสร็จเรียบร้อย
สรุป
ซอฟต์แวร์ Arduino (IDE) เป็นซอฟต์แวร์แบบโอเพ่นซอร์ซ ซึ่งง่ายต่อการเขียนโค้ดและการอัปโหลดของผู้พัฒนาโปรแกรม มีตัวช่วยสําหรับการพัฒนาโปรแกรมให้มีการตรวจสอบ ความถูกต้อง แม่นยํา รวดเร็วมากขึ้นอีกด้วย ผู้พัฒนาโปรแกรมต้องศึกษาในหัวข้อต่าง ๆ ต่อไปนี้
1. การติดตั้งโปรแกรม Arduino (IDE)
2. ส่วนประกอบและแถบเครื่องมือของโปรแกรม Arduino (IDE)
3. การเขียนโปรแกรมและการอัปโหลดโปรแกรม