นวตกรรม/CQI"การติดตามผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ"

ประเภทผลงาน CQI การติดตามผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

สรุปผลงานโดยย่อ การติดตามผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเพื่อค้นหาสาเหตุและให้คำแนะนำเพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำซ้ำ

ชื่อหน่วยงาน งานตึกผู้ป่วยนอก

เป้าหมาย :

1.เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

2. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำไม่เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำซ้ำ

3..เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจเรื่องโรคเบาหวาน ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ การป้องกันและการแก้ไข

ปัญหาและสาเหตุโดยย่อ : โรคเบาหวานเป็นโรคที่มีผู้ป่วยมารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกมากเป็นอันดับแรก พบว่าจากจำนวนประชากร 66,296 คน มีผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 4,357 คน และโรคเบาหวานจัดเป็นโรคที่มีจำนวนผู้ป่วยมา นอนรักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำจำนวนมาก และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่า อัตราการกลับมารักษาซ้ำด้วยภาวะ Hypoglycemia ภายใน 28 วัน ของโรคเบาหวานยังมีแนวโน้มไม่คงที่ ดังข้อมูลแสดงให้เห็นต่อไปนี้ พ.ศ. 2560 พ.ศ.2561 พ.ศ.2562 พ.ศ.2563 จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานAdmitted ด้วย Hypoglycemia ร้อยละ2.94, 1.08, 1.76, 2.15 ตามลำดับตราการกลับมารักษาซ้ำ ภายใน 28 วัน Hypoglycemia ร้อยละ8.18, 20.45, 5.33, 6.30ตามลำดับจากการวิเคราะห์สาเหตุพบว่า เกิดจากการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ดี ทำให้ส่งผลต่อระบบต่างๆ ของร่างกาย และเกิดภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ ได้แก่ การมีแผลเรื้อรังที่มือหรือเท้า ต้องรับการรักษาหรือต้องส่งต่อ จนมีผลทำให้ผู้ป่วยต้องสูญเสียอวัยวะ ก่อให้เกิดปัญหาทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ เศรษฐกิจ และสังคม รวมทั้งสูญเสียงบประมาณในการดูแลผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ซึ่งสาเหตุที่ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้แก่ 1. การขาดความรู้ ความตระหนักในการดูแลตนเองอย่างเหมาะสมทั้งทางด้าน พฤติกรรมการรับประทานอาหาร ภาวะแทรกซ้อนของโรค 2. มีการซ้ำซ้อนในการได้รับยา เช่น แพทย์ปรับยาแต่ผู้ป่วยมียาเดิมชนิดเดียวกันที่บ้าน ผู้ป่วยจึงรับประทานยาทั้งใหม่และเก่า ทำให้ได้รับยาเกินขนาด 3. มีความบกพร่องในการดูแลตนเอง เช่น ในผู้สูงอายุ 4. ขาดการดูแลด้านการดำเนินชีวิต เศรษฐกิจและฐานะของผู้ป่วย 5. ขาดกำลังใจในการดูแลตนเอง เนื่องจากเป็นโรคเรื้อรัง ท้อแท้ 6. ขาดผู้ดูแล จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ได้นำมาวิเคราะห์การดำเนินงานที่ผ่านมาจึงมีความสนใจที่จะพัฒนาคุณภาพแนวทางการติดตามหาสาเหตุและให้คำแนะนำเพื่อให้ผู้ป่วยและญาติมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ

กิจกรรมการพัฒนา

1.ติดตามเยี่ยมผู้ป่วยค้นหาสาเหตุในการมานอนรักษาโรงพยาบาลตามCPG

2.ส่งต่อข้อมูลไปยัง รพ.สต.โดยผ่านทาง line, Smart COC ,สมุดบันทึกประจำตัว

3.ติดตามประเมินผลในนัดครั้งหน้า

4.การใช้ใบนัดแจ้งเตือนให้นำยาเก่าที่เหลือมายื่นพยาบาลหน้าห้องตรวจโรค

5.พยาบาลประเมินสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับยาที่เหลือ.ส่งพบเภสัชกรร่วมประเมินในรายที่ทานยาไม่ถูกต้อง

6.ประเมินผลลัพธ์จาการไม่เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำซ้ำ