เปิดทำการ จันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30 - 16.30 น.
สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์ 10/8/2020
ประวัติ
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพิธีกรรม ดำเนินงานภายใต้กรรมาธิการฝ่ายอภิบาลคริสตชน สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย ก่อตั้งอย่างเป็นรูปธรรม ปี ค.ศ 1976 โดย พระสังฆราชยอด พิมพิสาร (ประธานและผู้ดูแลฝ่ายพิธีกรรมในสภาพระสังฆราชฯ ในสมัยนั้น) ได้เรียกประชุมผู้เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 1976 เพื่อเลือกตั้งเลขาธิการ และจัดตั้งอนุกรรมการบริหารงานด้านต่างๆ ขณะเดียวกัน ได้แต่งตั้งให้ คุณพ่อสำราญ วงศ์เสงี่ยม ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ และจัดตั้งคณะอนุกรรมการเหล่านี้สังกัดอยู่ในคณะกรรมการฯ พิธีกรรม (แผนกพิธีกรรม, แผนกดนตรีศักดิ์สิทธิ์, แผนกศิลปะในพิธีกรรม) ต่อมา คุณพ่อไพศาล อานามวัฒน์ ได้รับหน้าที่เลขาธิการ ระหว่าง ปี ค.ศ. 2000 - 2007 หลังจากที่คุณพ่อไพศาลถึงแก่กรรม คุณพ่อเชษฐา ไชยเดช ได้มารักษาการแทนช่วงสั้น ๆ ต่อจากนั้น คุณพ่ออนุสรณ์ แก้วขจร ได้รับมอบหมายให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ ระหว่างปี ค.ศ. 2008 จนถึงปัจจุบัน คุณพ่ออันโตนีโอ วาลแซ็กกี ได้รับมอบหมายให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการ โดยมีพระคาร์ดินัล ฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช เป็นประธาน
วิสัยทัศน์
พิธีกรรมเป็นสื่อนำชีวิตคริสตชน เข้าสู่พระธรรมล้ำลึกปัสกาของพระเยซูเจ้า
พันธกิจ
1. ให้สัตบุรุษเข้าใจพระธรรมล้ำลึกปัสกาจากการร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณ และรู้คุณค่าอย่างแท้จริง จนสามารถเป็นประจักษ์พยานในทุกมิติของชีวิตในสังคม
2. ให้ความสำคัญกับการประกาศพระวาจาในพิธีกรรม
3. ทำให้กลุ่มคริสตชนเข้มแข็งด้วยศีลศักดิ์สิทธิ์
4. ส่งเสริมให้สัตบุรุษมีส่วนร่วมในพิธีบูชาขอบพระคุณวันอาทิตย์
เป้าหมาย
คริสตชนมีวุฒิภาวะของความเชื่อ และหมู่คณะคริสตชนเป็นประจักษ์พยานถึงคุณค่าพระวรสารและความเป็นพระศาสนจักร ในชีวิตประจำวัน
1. สร้างทีมงาน (เครือข่าย) ผู้อภิบาลด้านพิธีกรรม ระดับประเทศ สังฆมณฑล และระดับวัด
2. สร้างองค์ความรู้ด้านพิธีกรรม ปรับปรุงประสบการณ์ในพิธีกรรม
3. กระจายความรู้ด้านพิธีกรรมสู่เครือข่ายผู้อภิบาล สร้างประสบการณ์ด้านพิธีกรรม
นโยบายและแผนงาน
1. "สัตบุรุษเข้าใจพระธรรมล้ำลึกปัสกาจากการเข้าร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณตลอดปี"
แผนงาน
- ส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ "พระธรรมล้ำลึกปัสกา" หรือ การไถ่กู้ของพระคริสตเจ้า
- ส่งเสริมให้พระสงฆ์ตระหนักถึงหน้าที่ความสำคัญเป็นอันดับแรก ในการเป็นผู้ประกอบพิธีบูชาขอบพระคุณ และควรจะต้องมีการจัดเตรียมพิธีฯ ร่วมกับสัตบุรุษ
2. "ส่งเสริมความสำคัญของการประกาศพระวาจา และ ศีลมหาสนิท ในพิธีบูชาขอบพระคุณ"
แผนงาน
- ส่งเสริมให้ทุกวัดจะต้องตระหนักถึงการสื่อความหมายในภาควจนพิธีกรรม "การประกาศพระวาจา" และภาคบูชาขอบพระคุณ "พิธีศีลมหาสนิท" อย่างถูกต้องตามหลักพิธีกรรม
- ส่งเสริมให้คริสตชนรู้คุณค่าความหมายของบทอ่านทั้ง 3 บทในพิธีบูชาขอบพระคุณ
3. "ส่งเสริมให้กลุ่มคริสตชนเจริญชีวิตเข้มแข็งด้วยศีลศักดิ์สิทธิ์"
แผนงาน
- จัดการศึกษา วิจัย การอภิบาลศีลศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 7 ประการ พร้อมทั้งเผยแพร่ในโอกาสที่เหมาะสม
- สนับสนุนความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณค่า และความหมายของศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ แก่คริสตชน
4. "ส่งเสริมความสำคัญของการมีส่วนร่วมในพิธีกรรมของสัตบุรุษ"
แผนงาน
- จัดตั้งทีมงานพิธีกรรมระดับวัด ซึ่งจะต้องประกอบด้วยพระสงฆ์และสัตบุรุษ เพื่อจัดเตรียมพิธีกรรมในวัดของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งพิธีบูชาขอบพระคุณประจำสัปดาห์ จะได้มีการจัดเตรียมอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง ครอบคลุมทุกเทศกาลตลอดปี
- จัดให้ความรู้พระสงฆ์และทีมงานพิธีกรรมของวัด เพื่อพวกเขาจะสามารถจัดเตรียมพิธีบูชาขอบพระคุณ ได้อย่างตรงตามความหมายของหลักพิธีกรรม และส่งผลให้สัตบุรุษเข้าร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณด้วยความรู้ตัว ความเข้าใจ และมีส่วนร่วมด้วยความคิดและการกระทำ
- จัดทำหนังสือคู่มือเพื่ออธิบายความหมายของสัญลักษณ์ และขั้นตอนพิธีกรรม
5. "ศึกษา วิจัย การนำวัฒนธรรมไทยท้องถิ่นเข้าสู่พิธีกรรม"
แผนงาน
- จัดการศึกษา วิจัย ทดลอง เพื่อให้ได้องค์ความรู้เกี่ยวกับระบบสัญลักษณ์ในพิธีกรรมและศีลศักดิ์สิทธิ์และเผยแผ่องค์ความรู้แก่พระสงฆ์ นักบวช และคริสตชนทั่วไป
โครงสร้าง