+โครงการยุววิจัยยางพารา (สกว.) 53

โรงเรียนประโคนชัยพิทยาคม อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ 31140

“ผลของการปลูกยางพาราในพื้นที่ทำนาเดิม กรณีศึกษาพื้นที่ อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์”

นิพนธ์ ประทุมวงค์* ภราดร พวงประโคน** นริศรา สุวรรณไตรย์ สุรัตน์วดี เวือนประโคน และทิพาธร ศิริเม

บทคัดย่อ

ยางพารานับว่าเป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ของพื้นที่เพาะปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัญหาอุปสรรคในการปลูกเพื่อให้ผลตอบคุ้มค่าเชิงเศรษฐกิจและเชิงสังคม ยังคงต้องมีการศึกษาข้อมูลเชิงวิเคราะห์อีกมาก เนื่องจากเป็นการปรับองค์ความรู้ในการปลูกจากพื้นที่ปลูกอื่นมาปรับใช้ ซึ่งบางพื้นที่อาจะเป็นพื้นที่ไม่เหมาะสมต่อการปลูกยางพารา เช่น การปรับพื้นที่นาที่เคยทำนาเดิมมาปลูกยางพารา เป็นต้น โดยได้ศึกษาสำรวจ วิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการปลูกยางพาราในพื้นที่ทำนาเดิม ในกรณีศึกษาพื้นที่ อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ โดยใช้แบบสัมภาษณ์เกษตรกรที่สร้างขึ้นเอง ลงพื้นที่ในสัมภาษณ์เกษตรกรตัวอย่างทำสวนยางพาราที่ประสบความสำเร็จในการปลูกยางพาราในพื้นที่เคยทำนามาก่อน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบสูง พบว่า ใน 2 ตำบล คือ ในตำบลโคกม้าและ ตำบลตะโกตาพิ มีเกษตรกร เพียง 2 ราย เท่านั้นที่ประสบความสำเร็จในการปลูกยางพาราในพื้นที่ที่เคยทำนามาก่อน โดยข้อมูลทั้งการเจริญเติบโตของต้นยางพาราสุ่มวัด 50 ต้นทั้งสวนมีความแตกต่าง และผลการวิเคราะห์ร้อยละปริมาณอินทรีย์วัตถุในดินและความเป็นกรด – ด่างก็มีความตกต่างกัน ซึ่งส่งทำให้การเจริญเติบโตของต้นยางพาราที่มีความแตกต่างกัน

สรุปจากข้อมูลการสัมภาษณ์และข้อมูลการเก็บตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นยางพาราสอดคล้องกับผลการศึกษานั้น ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการปลูกยางพาราในพื้นที่ทำนาเดิมของผู้จัยในครั้งนี้ สรุปว่า เกษตรกรต้องมี 1. เงินลงทุนในการปลูกสำหรับการดูแล บำรุงสวนยางพารา 2.การเอาใจดูแลที่ถูกต้องตามหลักวิชาการเกษตร ซึ่งในพื้นที่ที่ทำนามาก่อน นั้นเป็นพื้นที่ไม่เหมาะสมการปลูกยางพาราในด้านคุณภาพดินที่ไม่ดี เกษตรกรจึงจำเป็นต้องใช้ปัจจัยดังกล่าวมาหลักวิเคราะห์และใช้เป็นพื้นฐานในนำมาใช้ช่วยตัดสินใจในการปลูกยางพาราในพื้นที่ดังกล่าวให้ประสบความสำเร็จโดยคำนึงถึงความคุ้มทุนและจะช่วยลดความเสี่ยงจากความล้มเหลวในการปลูกยางพาราของเกษตรกรลงได้

สามารถโหลดบทความฉบับสมบูรณ์ได้ ด้านล่างนี้