+โครงการยุวิจัยยางพารา (สกว.)55

“แนวทางการปลูกยางพาราในนาบนพื้นที่ราบสูง กรณีศึกษา อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ”

นิพนธ์ ประทุมวงค์* ราชวัตร อสิพงษ์ พิษนุ เกิดกล้า เพ็ญนภา ทองแย้ม และกัลยา จำนงค์

โรงเรียนมัธยมบักดองวิทยา อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ 33150

บทคัดย่อ

ยางพารานับว่าเป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ของพื้นที่เพาะปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่สร้างรายได้ให้เกษตรกรที่ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา มีการขยายพื้นที่ปลูกในพื้นที่แห่งใหม่ ที่มีลักษณะต่าง ๆ ซึ่งบางพื้นที่อาจเป็นพื้นที่ไม่เหมาะสมต่อการปลูกยางพารา เช่น การปรับพื้นที่นาที่เคยทำนามาก่อน มาปลูกยางพารา เป็นต้น โดยการศึกษาสำรวจ วิเคราะห์ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อความสำเร็จ เป็นแนวทางการปลูกยางพาราในพื้นที่ทำนาที่มีลักษณะพื้นที่ราบสูง กรณีศึกษา อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ นั้น ดำเนินการศึกษาโดยใช้แบบสัมภาษณ์เกษตรกรที่สร้างขึ้นเอง สัมภาษณ์เกษตรกรตัวอย่างทำสวนยางพาราที่ประสบความสำเร็จในการปลูกยางพาราในพื้นที่เคยทำนามาก่อน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบสูง และลงพื้นที่ภาคสนามเก็บข้อมูลการเจริญเติบโตของ ต้นยางพารา เปรียบเทียบข้อมูลคุณภาพดิน รูปแบบการจัดการสวนยางพารา พบว่า พื้นที่ตำบลตัวอย่างใน 1 ตำบล คือ ในตำบลขุนหาญ โดยเลือกเฉพาะเกษตรกรที่มีการปลูกยางพาราในพื้นที่นาลักษณะ ดังกล่าวเบื้องต้นมีเพียง 2 ราย เท่านั้นที่ประสบความสำเร็จในการปลูกยางพาราในพื้นที่ลักษณะดังกล่าว ซึ่งอายุการปลูก 7 ปี และทำการเปิดหน้ายางกรีดแล้ว มีการปลูกยางพาราใน 2 รูปแบบ ได้แก่ (1)การปลูกบนคันนาขนาดใหญ่+ทำนา (สวนลุงสมุห์ ศรีภักดิ์) และ (2) การปลูกเต็มพื้นที่โดยไม่มีการทำนา (ลุงทวี เรืองฤทธิ์) โดยข้อมูลทั้งการเจริญเติบโตของต้นยางพาราสุ่มวัด 50 ต้นทั้ง สวนมีความแตกต่างกัน และผลการวิเคราะห์ธาตุอาหารหลักในดินและความเป็นกรด – ด่างก็มีความแตกต่างกัน ซึ่งมีอิทธิพลทำให้ปลูกยางพาราในพื้นที่ลักษณะดังกล่าวประสบความสำเร็จได้แตกต่างกัน

ดังนั้น ในแนวทางของการปลูกยางพาราในนาบนพื้นที่ราบสูงนั้น เกษตรกรควรจะคำนึงถึงปัจจัยดังนี้ (1)ควรเลือกรูปแบบการปลูกให้เหมาะสมของ

พื้นที่ (2) ควรมีทุนสำหรับการดูแล บำรุงสวนยางพาราอย่างเพียงพอ (3) ควรมีการเอาใจดูแลที่ต่อเนื่องในการบริหารจัดการสวนยางพารา ดังนั้น เกษตรกร

จึงจำเป็นต้องใช้ปัจจัยดังกล่าวมาหลักวิเคราะห์และใช้เป็นแนวทางพื้นฐานที่จะนำมาใช้ช่วยตัดสินใจในการปลูกยางพาราในพื้นที่ดังกล่าวให้ประสบความสำเร็จ

โดยคำนึงถึงความคุ้มทุนและจะช่วยลดความเสี่ยงจากความล้มเหลวในการปลูกยางพาราของเกษตรกรลงได้

โหลดบทความฉบับสมบูรณ์ ด้านล่างนี้...