+โครงการครุวิจัย(สกว.)53

การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของแพลงก์ตอนสัตว์

บริเวณหาดท่าวังกับหาดถ้ำพัง เพื่อใช้ในการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำ ของเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี

Diversity of zooplankton in Tha Wang and Thum pang Beachfor use in monitoring water quality at koh Sichang, Chonburi Province.

นิพนธ์ ประทุมวงค์ โรงเรียนประโคนชัยพิทยาคม อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ 31140

บทคัดย่อ

การใช้ดัชนีทางชีวภาพเป็นตัวบ่งชี้คุณภาพน้ำ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งสำหรับตรวจสอบคุณภาพของแหล่งน้ำที่ทำการศึกษาได้เนื่องจากราคาประหยัดและคนในพื้นที่นั้นๆ สามารถทำการติดตามตรวจสอบเองได้ หากได้รับความรู้ และการอบรมที่ทุกต้อง ซึ่งจากการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของแพลงก์ตอนสัตว์ บริเวณหาดท่าวังกับหาดถ้ำพัง เพื่อใช้ในการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำ ของเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี ชนิดแพลงก์ตอนสัตว์ที่พบมากที่สุดและเป็นแพลงก์ตอนสัตว์กลุ่มเด่นในบริเวณอ่าวอัษฎางค์ (หาดถ้ำพัง)กับสะพานอัษฎางค์ (หาดท่าวัง)ได้แก่ แพลงก์ตอนสัตว์ไฟลัม Arthopoda ในกลุ่ม Copepodชนิด Cycloploid Copepod และ nauplii ซึ่งพบมากทั้ง 2 บริเวณ ชนิดและปริมาณของแพลงก์ตอนสัตว์ที่พบนั้น สามารถนำมาบ่งชี้คุณภาพน้ำทะเลโดยเปรียบเทียบกับข้อมูลปริมาณธาตุอาหารได้แก่ ปริมาณฟอสเฟต ไนเตรท แอมโมเนีย และ ไนไตรท์ และคุณภาพน้ำทั่วไปที่สำคัญได้แก่ ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ ความเค็ม ความเป็นกรดด่าง และอุณหภูมิ ซึ่งพบว่ามีค่าใกล้เคียงกัน ยกเว้น ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำและปริมาณไนเตรท พบว่าความหนาแน่นของแพลงก์ตอนสัตว์ชนิดเด่นในกลุ่ม Copepod มีความหนาแน่นแตกต่างกันในสองบริเวณ ผลการศึกษานี้สามารถนำข้อมูลชนิดและความหนาแน่นของแพลงก์ตอนสัตว์ทั้งหมด และ ความหนาแน่นของแพลงก์ตอนสัตว์ชนิดเด่นที่พบมาเป็นดัชนีทางชีวภาพ (Bioindicator) สำหรับร่วมชี้วัดระดับคุณภาพของน้ำทะเลได้ในระดับหนึ่ง โดยหาด ถ้ำพังมีระดับคุณภาพน้ำดีกว่าสะพานอัษฎางค์

สามารถโหลดเอกสารบทความฉบับสมบูรณ์ ได้จาก ลิ้งได้ล่างนี้ บทความครุวิจัย (อ.นิพนธ์ )อ.สมภพ อ.ณิช ปรับ27เมษา53.pdf