วงจรป้องกันไฟกลับขั้ว

วงจรป้องกันการต่อไฟกลับขั้วที่ใช้งานในวงจรเอฟเฟค ใช้ไดโอดเพียงตัวเดียว

วงจรสำหรับชาว ดี ไอ วาย บางวงจรก็มีใส่ไว้ แต่บางวงจรก็ไม่มี

ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้อุปกรณ์เสียหายอันเกิดมาจากความพลั้งเผลอหรือต่อผิดพลาด ผมจึงขอแนะนำให้ใส่ไว้ดีกว่าครับ

ก่อนอื่นมาดูว่าวงจรป้องกันไฟกลับขั้วที่ใช้กันอยู่มีกี่แบบ

วงจรป้องกันการต่อไฟกลับขั้วโดยใช้ไดโอดมีการต่อ 2 แบบ

คือแบบอนุกรม และแบบขนาน

หลักการทำงาน อาศัยคุณสมบัติของไดโอด คือเมื่อไดโอดได้รับไบอัสตรง เหมือนสวิตช์ต่อวงจรมัน

จะยอมให้กระแสไฟไหลผ่านตัวมัน และเมื่อได้รับไบอัสกลับ เหมือนสวิตช์ตัดวงจร จะไม่มีกระแสไหลผ่าน

กรณีต่อไดโอดอนุกรมกับแหล่งจ่ายไฟ

ถ้าเราจ่ายไฟถูกขั้วคือไฟบวกเข้าที่ขาอาโนดของไดโอด ทำให้มันได้รับไบอัสตรง เหมือนสวิตช์ต่อวงจรกระแสไฟจึงสามารถวิ่งผ่านตัวมันเข้าไปยังวงจรได้

หากเราจ่ายไฟผิดโดยต่อไฟลบเข้าที่ขาอาโนดของไดโอด ทำให้มันได้รับไบอัสกลับ

เหมือนสวิตช์ตัดวงจร กระแสไฟจึงไม่สามารถวิ่งผ่านตัวมันเข้าไปยังวงจรได้

วงจรจึงไม่เสียหาย

ข้อดี ของการต่อแบบนี้อย่างหนึ่งคือหากมีการผิดพลาดใช้ไฟกระแสสลับ (AC) จ่ายให้วงจร

ไดโอดมันจะทำหน้าที่แปลงไฟกระแสสลับนั้น ให้เป็นไฟกระแสตรง จึงไม่ทำให้วงจรเสียหาย

การต่อแบบนี้มีความปลอดภัยมากเพราะว่าไม่ทำให้อุปกรณ์ใดๆเสียหาย แต่มีข้อเสียอยู่เล็กน้อยคือ

มันจะมีแรงดันตกคร่อมไดโอดอยู่ประมาณ 0.6V -0.7V ทำให้ไฟที่จ่ายเข้าไปยังวงจรเหลือไม่ถึง 9V

ซึ่งบางท่านอาจจะเกรงว่ามันจะทำให้วงจรทำงานไม่เต็มที่

ทางแก้ไขคือเปลี่ยนมาใช้ไดโอดที่ค่าแรงดันตกคร่อมต่ำๆเข่นเบอร์ 1N5817 .BAT42เป็นต้น

หรือในกรณีที่เราทำแหล่งจ่ายไฟใช้เองก็ปรับแรงดันเอ้าท์พุทให้สูงกว่า 9V เล็กน้อย (9.6V)

เพื่อชดเชยแรงดันที่ตกคร่อมไดโอด

กรณีต่อไดโอดขนานกับแหล่งจ่ายไฟ

ปกติถ้าจ่ายไฟถูกขั้ว ไดโอดจะได้รับไบอัสกลับ เหมือนสวิตช์ถูกตัด กระแสไฟสามารถจ่ายเข้าวงจรได้

หากจ่ายไฟกลับขั้ว ไดโอดจะได้รับไบอัสตรง เหมือนสวิตช์ต่อวงจร กระแสไฟขั้วบวก ลบ จะลัดวงจรถึงกันผ่านทางไดโอด ทำให้ไม่มีไฟจ่ายเข้าวงจร ตัววงจรจึงปลอดภัย

แต่หากปล่อยทิ้งไว้นานๆ ตัวไดโอดจะร้อนและไหม้ได้ รวมถึงตัวจ่ายไฟด้วย

หากไดโอดไหม้แล้วไฟจากตัวจ่ายไฟก็จะสามารถเข้าไปทำให้วงจรเสียหายได้อีก

ผมจึงไม่แนะนำให้ต่อวิธีนี้ครับ

new_pedal