ทรัยแอด (Triad)

ทรัยแอด คอร์ด (Triad chord) เป็นการประสานเสียง (Harmony) ของโน้ตจำนวน 3 ตัว ซึ่งทำหน้าที่เป็นโน้ตขั้นคู่ (Interval) ที่นำมาจากบันไดเสียง (Scale) แบบที่มีโครงสร้างที่แตกต่างกันตามชนิดของโน้ตขั้นคู่แต่ละชนิด จึงเกิดเสียงประสานที่ให้ความรู้สึกจากการได้ยินที่แตกต่างกัน ดังนี้โครงสร้างของคอร์ดเมื่อนำโน้ตบันไดเสียง (Scale) มาจัดเรียงกันตามลำดับ จากนั้น นำโน้ตจำนวน 3 ตัวมาวางเรียงเป็นโครงสร้างของโน้ตขั้นคู่ที่สำคัญได้แก่ โน้ตขั้นคู่ 3 และโน้ตขั้นคู่ 5

โครงสร้าง Major Triad Chord

C Major Scale

C E G

โน้ตขั้นคู่ 3 Major

C – D – E

โน้ตขั้นคู่ 3 Minor

E ^F– G


โครงสร้างของเมเจอร์ทรัยแอด คอร์ด (Major Triad Chord) ประกอบไปด้วย โน้ตขั้นคู่ 3 Major ได้แก่ C-D-E และโน้ตขั้นคู่ 3 Minor ได้แก่ E^F-G ซึ่งเมื่อนำมาบรรเลงประสานกัน จะได้เสียง C Major Triad Chord นอกจากนี้ สามารถวิเคราะห์ได้อีกว่า โครงสร้างของเมเจอร์ทรัยแอด คอร์ด (Major Triad Chord) เมื่อนำมาประสานกันแบบโน้ตขั้นคู่ 3 ต่างชนิดมาซ้อนกันแล้ว ยังเกิดโน้ตขั้นคู่ 5 Perfect ดังนี้

คู่ 3 Major คู่ 5 Perfect คู่ 3 Minor

C-D-E C-D-E^F-G E^F-G

โดยสรุปแล้ว ส่วนประกอบของโครงสร้างเมเจอร์ทรัยแอด คอร์ด (Major Triad Chord) การเริ่มต้นด้วยโน้ตขั้นคู่ 3 Major ตามด้วยโน้ตขั้นคู่ 3 Minor หรือเมื่อรวมโครงสร้างของโน้ตขั้นคู่ 3 ทั้ง 2 ชนิด จะได้โน้ตขั้นคู่ 5 Perfect คอร์ดนั้นๆจะมีคุณลักษณะของเสียงแบบเมเจอร์ หรือที่เรียกว่าเมเจอร์ทรัยแอด คอร์ด (Major Triad Chord)


โครงสร้าง Minor Triad Chord

C Major Scale

E G B

โน้ตขั้นคู่ 3 Minor

E^F– G

โน้ตขั้นคู่ 3 Major

G – A – B

โครงสร้างของไมเนอร์ทรัยแอด คอร์ด (Minor Triad Chord) ประกอบไปด้วย โน้ตขั้นคู่ 3 Minor ได้แก่ E^F-G และโน้ตขั้นคู่ 3 Major ได้แก่ G-A-B ซึ่งเมื่อนำมาบรรเลงประสานกัน จะได้เสียง E Minor Triad Chord นอกจากนี้ สามารถวิเคราะห์ได้อีกว่า โครงสร้างของไมเนอร์ทรัยแอด คอร์ด (Minor Triad Chord) เมื่อนำมาประสานกันแบบโน้ตขั้นคู่ 3 ต่างชนิดมาซ้อนกันแล้ว ยังเกิดโน้ตขั้นคู่ 5 Perfect ดังนี้

คู่ 3 Minor คู่ 5 Perfect คู่ 3 Major

E^F-G E^F-G-A-B G-A-B

โดยสรุปแล้ว ส่วนประกอบของโครงสร้างไมเนอร์ทรัยแอด คอร์ด (Minor Triad Chord) การเริ่มต้นด้วยโน้ตขั้นคู่ 3 Minor ตามด้วยโน้ตขั้นคู่ 3 Major หรือเมื่อรวมโครงสร้างของโน้ตขั้นคู่ 3 ทั้ง 2 ชนิด จะได้โน้ตขั้นคู่ 5 Perfect คอร์ดนั้นๆจะมีคุณลักษณะของเสียงแบบไมเนอร์ หรือที่เรียกว่าไมเนอร์ทรัยแอด คอร์ด (Minor Triad Chord)


สรุปแผนผังโครงสร้างของเมเจอร์ทรัยแอด คอร์ด และไมเนอร์ ทรัยแอด คอร์ด (Major and Minor Triad chords) มีดังนี้

Major Triad Minor Triad

นอกจากในเรื่องของโครงสร้างของเมเจอร์และไมเนอร์ทรัยแอด คอร์ด (Major and Minor Triad Chords)ในบทที่ผ่านมาแล้ว ยังมีโครงสร้างของทรัยแอด คอร์ด อีก 2 ชนิดที่มีความสำคัญ และให้เสียงที่ออกมาแตกต่างกันตามโครงสร้างนอกเหนือจากคอร์ดที่ทราบมาดังกล่าวแล้ว โดยดิมินิช ทรัยแอด คอร์ด (Diminished Triad chord) เป็นคอร์ดที่มีโครงสร้างของโน้ตขั้นคู่ 3 ไมเนอร์ทั้ง 2 คู่มาประสานกัน จะมีเสียงที่ออกมามีความตึงและเครียดกว่าเสียงของไมเนอร์ทรัยแอด (Minor Triad chord) อยู่มาก และอ็อกเมนเต็ด ทรัยแอด คอร์ด (Augmented Triad chord) ก็เช่นเดียวกัน จะให้เสียงที่ออกมาแปลกหูออกไป เมื่อเป็นไปตามโครงสร้างชนิดของทรัยแอด คอร์ด ตามคีย์หรือบันไดเสียงทางไมเนอร์ (Minor Scale)ที่ควรจะเป็น

โครงสร้าง Diminished Triad Chord

A Natural Minor Scale

B D F

โน้ตขั้นคู่ 3 Minor

โน้ตขั้นคู่ 3 Minor

B^C- D

D–E^F

โครงสร้างของดิมินิชทรัยแอด คอร์ด (Diminished Triad Chord) ประกอบไปด้วย โน้ตขั้นคู่ 3 Minor ได้แก่ B^C-D และโน้ตขั้นคู่ 3 Minor ได้แก่ D-E^F ซึ่งเมื่อนำมาบรรเลงประสานกัน จะได้เสียง B Diminished Triad Chord นอกจากนี้ สามารถวิเคราะห์ได้อีกว่า โครงสร้างของดิมินิชทรัยแอด คอร์ด (DiminishedTriad Chord) เมื่อนำมาประสานกันแบบโน้ตขั้นคู่ 3 Minor ที่เป็นชนิดเดียวกันทั้ง 2 คู่ซ้อนกันแล้ว ยังเกิดโน้ตขั้นคู่ 5 Diminished ดังนี้

คู่ 3 Minor คู่ 5 Diminished คู่ 3 Minor

B^C-D B^C-D-E^F D-E^F

โดยสรุปแล้ว ส่วนประกอบของโครงสร้างดิมินิชทรัยแอด คอร์ด (Diminished Triad Chord) การเริ่มต้นด้วยโน้ตขั้นคู่ 3 Minor ตามด้วยโน้ตขั้นคู่ 3 Minor เช่นเดียวกัน หรือเมื่อรวมโครงสร้างของโน้ตขั้นคู่ 3 Minor ทั้ง 2 ชนิด จะได้โน้ตขั้นคู่ 5 Diminished คอร์ดนั้นๆ จะมีคุณลักษณะของเสียงแบบดิมินิช หรือที่เรียกว่าดิมินิชทรัยแอด คอร์ด (Diminished Triad Chord)

โครงสร้าง Augmented Triad Chord


A Harmonic Minor Scale

C E G#

โน้ตขั้นคู่ 3 Major

C – D – E

โน้ตขั้นคู่ 3 Major

E^ F -^ G#

โครงสร้างของอ็อกเมนเต็ดทรัยแอด คอร์ด (Augmented Triad Chord) ประกอบไปด้วย โน้ตขั้นคู่ 3 Major ได้แก่ C-D-E และโน้ตขั้นคู่ 3 Major ได้แก่ E^F^-G# ซึ่งเมื่อนำมาบรรเลงประสานกัน จะได้เสียง C Augmented Triad Chord นอกจากนี้ สามารถวิเคราะห์ได้อีกว่า โครงสร้างของอ็อกเมนเต็ด ทรัยแอด คอร์ด (Augmented Triad Chord) เมื่อนำมาประสานกันแบบโน้ตขั้นคู่ 3 Major ที่เป็นชนิดเดียวกันทั้ง 2 คู่ซ้อนกันแล้ว ยังเกิดโน้ตขั้นคู่ 5 Augmented ดังนี้

คู่ 3 Major คู่ 5 Augmented คู่ 3 Major

C-D-E C-D-E^F-^G# E^F^-G

โดยสรุปแล้ว ส่วนประกอบของโครงสร้างอ็อกเมนเต็ด ทรัยแอด คอร์ด (Augmented Triad Chord) การเริ่มต้นด้วยโน้ตขั้นคู่ 3 Major ตามด้วยโน้ตขั้นคู่ 3 Major เช่นเดียวกัน หรือเมื่อรวมโครงสร้างของโน้ตขั้นคู่ 3 Major ทั้ง 2 ชนิด จะได้โน้ตขั้นคู่ 5 Augmented คอร์ดนั้นๆ จะมีคุณลักษณะของเสียงแบบอ็อกเมนเต็ด หรือที่เรียกว่าอ็อกเมนเต็ดทรัยแอด คอร์ด (Augmented Triad Chord)

โดยสรุปแล้ว ส่วนประกอบของโครงสร้างดิมินิชทรัยแอด คอร์ด (Diminished Triad Chord) จะเริ่มต้นด้วยโน้ตขั้นคู่ 3 ไมเนอร์ (Minor Third Interval) และตามด้วยโน้ตขั้นคู่ 3 ไมเนอร์ เช่นเดียวกัน จึงเกิดโครงสร้างรวมกันคือโน้ตขั้นคู่ 5 ดิมินิช (Diminished Fifth Interval) และโครงสร้างอ็อกเมนเต็ด ทรัยแอด คอร์ด (Augmented Triad Chord) จะเริ่มต้นด้วยโน้ตขั้นคู่ 3 เมเจอร์ (Major Third Interval) และตามด้วยโน้ตขั้นคู่ 3 เมเจอร์ ด้วยเช่นเดียวกัน จึงเกิดโครงสร้างรวมกันคือโน้ตขั้นคู่ 5 อ็อกเมนเต็ด (Augmented Fifth Interval) เป็นต้นสรุปแผนผังโครงสร้างของดิมินิช และอ็อกเมนเต็ด ทรัยแอด คอร์ด (Diminished and Augmented Triad chords) มีดังนี้

Diminished Triad Augmented Triad

เรียบเรียงโดย : ณัฐศรัณย์ ทฤษฎิคุณ (เรียบเรียงเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2561) ปรับปรุง 2564

ภาควิชาดนตรีตะวันตก วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา