ไขข้อสงสัย... กับคำถามที่พบบ่อย

ไขข้อสงสัย... ร้านค้าจะดูยอดการโอนเงินได้จากที่ไหน? ในแอปฯ ไม่เห็นมี

ไขข้อสงสัย... อยู่ดี ๆ ทำไมมียอดหักลบ เกิดจากอะไร? มีรายละเอียดแจ้งไหม?

ไขข้อสงสัย... ในรายงานสรุปยอดขาย ทำไมยอดรวมสุทธิถึงติดลบ?

ไขข้อสงสัย... รู้หรือไม่? ลูกค้าสามารถส่งคำร้องขอคืนเงินผ่านแอปฯ ได้นะ

ไขข้อสงสัย... รายได้สุทธิเมื่อเข้าร่วมโปรคูปองเรียกยอด คำนวณยังไง?

ปัญหาเกี่ยวกับการโอนเงิน

การโอนเงิน 

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการโอนเงิน

ไม่ได้รับยอดเงินทำอย่างไร?


ติดต่อฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ ผ่านทาง Live Chat บนแอปฯ Shopee Partner ตั้งแต่วันจันทร์ - อาทิตย์ เวลาทำการ 07:00-22:00 น.

ไปที่ศูนย์ช่วยเหลือ > เกี่ยวกับ ShopeeFood > ติดต่อเจ้าหน้าที่ 

หรือกรอกแบบฟอร์มร้องเรียนปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับการเงินของ ShopeeFood คลิก

ระยะเวลาในการโอนเงินให้ร้านค้า

ShopeeFood จะดำเนินการโอนเงินให้ร้านค้า โดยตัดรอบทุกวันเวลา 0.00 น. เงินจะถูกโอนเข้าบัญชีที่ลงทะเบียนไว้ในวันถัดไป (T+1) รวมทั้งวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก

ยอดเงินไม่ตรงกับรายงานคำสั่งซื้อ?


ติดต่อฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ ผ่านทาง Live Chat บนแอปฯ Shopee Partner ตั้งแต่วันจันทร์ - อาทิตย์ เวลาทำการ 07:00-22:00 น.

ไปที่ศูนย์ช่วยเหลือ > เกี่ยวกับ ShopeeFood > ติดต่อเจ้าหน้าที่ 

หรือกรอกแบบฟอร์มร้องเรียนปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับการเงินของ ShopeeFood คลิก

การเรียกคืนเงินจากรายการเคลม (Chargeback) คำนวณอย่่างไร ?

การเรียกคืนเงินจากรายการเคลม มี 2 แบบ

1. การเรียกคืนเงินเต็มจำนวน

2. การเรียกคืนเงินบางส่วน 


กรณีร้านค้าได้รับการแจ้ง เรียกคืนเงินจากการเคลม (Chargeback)

สามารถตรวจสอบอีกครั้ง โดยวิธีการคำนวณ ดังรายละเอียด

ปัญหาเกี่ยวกับรายงานการโอนเงิน 

รายงานการโอนเงิน (Settlement Report)

รายงานการโอนเงิน (Settlement Report)

วันที่ส่ง: ร้านค้าจะได้รับรายงานการโอนเงินเวลา 7 โมงเช้า ของทุกวัน และจะได้รับเงินโอนเวลาเดิม 


รูปแบบการส่ง: รายงานการโอนเงิน ส่งผ่านทางที่อยู่อีเมลที่ลงทะเบียนไว้ ดังนั้นหากร้านค้าใดที่ไม่ได้แจ้งอีเมลมา จะไม่ได้รับรายงานนี้ 


รายละเอียดที่แสดง:

โดยในอีเมล มีรายละเอียดการโอนเงิน และจะมีไฟล์ Excel แนบทั้งหมด 2 ไฟล์

1. รายงานการชำระเงิน (Transaction Report) : 📊 รายงานสรุปยอดขายรายวัน และ  รายงานสะสมยอดขายประจำเดือน 

ให้ร้านค้าเห็นภาพรวมทั้ง “รายงานสรุปยอดขายรายวัน” และ ”รายงานสะสมยอดขายประจำเดือน” ใน 1 อัเมล 

📊 รายงานสรุปยอดขายรายวัน คือ รายงานแสดงยอดรายการ เงินอุดหนุนค่าอาหาร ค่าส่ง ค่าธรรมเนียม ภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมทั้งยอดหักลบ ยอดบวกเพิ่ม และยอดรวมจ่ายออก โดยแสดงยอดแบบวันต่อวัน

📊 รายงานยอดขายสะสมประจำเดือน คือ รายงานแสดงยอดรายการ เงินอุดหนุนค่าอาหาร ค่าส่ง ค่าธรรมเนียม ภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมทั้งยอดหักลบ ยอดบวกเพิ่ม และยอดรวมจ่ายออก โดยแสดงยอดแบบสะสมประจำเดือน เช่น รายงานยอดขายสะสมประจำเดือน ตั้งแต่วันที่ 01.08.2022 ถึง วันที่ 09.08.2022 หรือ ถึงวันที่ 31.08.2022 เป็นต้น


2. รายงานประกอบไปด้วย Addition (ยอดบวกเพิ่ม) ซึ่งจะเป็นการ refund เงินคืนให้ร้าน และ Deduct (ยอดหักลบ) ในกรณีที่จะต้องทำการ chargeback หักเงินจากร้านค้า

ตัวอย่าง Email รายงานการโอนเงิน (Settlement Report)

ตัวอย่างรูปแบบการส่งรายงานการโอน

🗓 วันที่ได้รับอีเมลรายงานการโอน (Settlement Report) = 2 ส.ค.

📊 รายงานสรุปยอดขายรายวัน = 1 ส.ค.

📊 รายงานยอดขายสะสมประจำเดือน = 1 ส.ค.

________________________

🗓  วันที่ได้รับอีเมลรายงานการโอน (Settlement Report) = 3 ส.ค.

📊 รายงานสรุปยอดขายรายวัน = 2 ส.ค.

📊 รายงานยอดขายสะสมประจำเดือน= 1 - 2 ส.ค.

________________________

🗓  วันที่ได้รับอีเมลรายงานการโอน (Settlement Report) = 31 ส.ค.

📊 รายงานสรุปยอดขายรายวัน = 30 ส.ค.

📊 รายงานยอดขายสะสมประจำเดือน  = 1 - 30 ส.ค.

ไม่ได้รับรายงานการโอนเงินทำอย่างไร?


หมายเหตุ: ร้านค้าจะต้องดำเนินการเปลี่ยนอีเมลให้เสร็จเรียบร้อย แล้วจึงกรอกข้อมูลในฟอร์มเพื่อดำเนินเกี่ยวกับเอกสารรายงานยอดขาย มิฉะนั้นเอกสารของท่านจะถูกจัดส่งในอีเมลที่ลงทะเบียนไว้ในระบบ


ร้านค้าสามารถติดต่อฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ผ่าน Live chat หรือกรอกแบบฟอร์มร้องเรียนปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับรายงานยอดขายของ ShopeeFood คลิก

ปัญหาเกี่ยวกับค่าธรรมเนียม 

ค่าธรรมเนียม 

การคิดค่าธรรมเนียม 

รายได้ค่าอาหารรวมภาษีมูลค่าเพิ่มที่ร้านค้าได้รับทั้งหมดจากคำสั่งซื้อผ่านแอปพลิเคชัน จะถูกนำมาคิดเป็นจำนวนเงินที่ขายได้ทั้งหมด หักค่าบริการ และหักภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% 


ตัวอย่างวิธีการคำนวณยอดสุทธิ

ร้านค้ามียอดขายที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 300 บาท (ค่าอาหาร 280.37 บาท + ค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม 19.63 บาท)

โดยมีค่าธรรมเนียม  32% และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%

ค่าค่าธรรมเนียม คิดเป็น = (300*32%) = 96 บาท

ภาษีมูลค่าเพิ่ม คิดเป็น = (96*7%) = 6.72 บาท

ดังนั้น ยอดสุทธิของออเดอร์นี้ที่ร้านค้าจะได้รับ = 300 - 96 - 6.72 = 197.28 บาท


เงินสนับสนุนค่าอาหารร้านค้า

การคิดค่า co-fund


รายได้ค่าอาหารที่ร้านค้าได้รับจากคำสั่งซื้อผ่านแอปพลิเคชันหักด้วยสนับสนุนจากร้านค้าที่ร่วมรายการ จะถูกนำมาคิดเป็นจำนวนเงินที่ขายได้ทั้งหมด หักค่าบริการ และหักภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%


ตัวอย่างวิธีการคำนวณยอดสุทธิ


ร้านค้ามียอดขายที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 300 บาท (ค่าอาหาร 280.37 บาท + ค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม 19.63 บาท) โดยมีเงินสนับสนุนจากร้านค้า100 บาท ค่าธรรมเนียม 32% และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%


ค่าอาหาร 300.00 บาท

(หัก) เงินสนับสนุนจากร้านค้า                           (100.00) บาท

รายได้สุทธิหลังหักเงินสนับสนุนจากร้านค้า              200.00 บาท

ค่าธรรมเนียม คิดเป็น (200*32%)                    (64.00) บาท

ภาษีมูลค่าเพิ่ม คิดเป็น  (64*7%)                        (4.48) บาท

ยอดสุทธิของออเดอร์ที่ร้านค้าจะได้รับ 131.52 บาท

เงินสนับสนุนค่าส่งร้านค้า

รายได้ค่าอาหารที่ร้านค้าได้รับจากคำสั่งซื้อผ่านแอปพลิเคชันจะถูกหักด้วยเงินสนับสนุนจากร้านค้าที่ร่วมรายการ ก่อนจะถูกนำมาคิดเป็นจำนวนเงินที่ขายได้ทั้งหมด 

หักค่าบริการ และหักภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% และหักเงินสนับสนุนค่าส่งร้านค้า *ซึ่งเงินสนับสนุนค่าส่งร้านค้าจะไม่ถูกนำไปคิดค่าธรรมเนียม*


ตัวอย่างวิธีการคำนวณยอดสุทธิ   


ค่าอาหาร                                               300.00 บาท  


(หัก) เงินสนับสนุนจากร้านค้า                        (100.00) บาท  


รายได้สุทธิหลังหักเงินสนับสนุนจากร้านค้า          200.00 บาท  ( ค่าอาหาร - เงินสนับสนุนจากร้านค้า)   


ค่าธรรมเนียมคิดเป็น (200*32%)                   (64.00) บาท  


ภาษีมูลค่าเพิ่มคิดเป็น  (64*7%)                    (4.48) บาท


(หัก) เงินสนับสนุนค่าส่งจากร้านค้า                 (6.00) บาท 


ยอดสุทธิของออเดอร์ที่ร้านค้าจะได้รับ125.52 บาท *คำนวณจาก : ค่าอาหาร - เงินสนับสนุนจากร้านค้า - ค่าธรรมเนียม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม - เงินสนับสนุนค่าส่งจากร้านค้า*

ปัญหาเกี่ยวกับใบกำกับภาษี 

ใบกำกับภาษี

ใบกำกับภาษีคืออะไร

ใบกำกับภำษี คือ เอกสารหลักฐานที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มีหน้าที่ต้องจัดทำ และออกให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ทุกครั้งที่ขายสินค้าหรือให้บริการ และต้องจัดทำอย่างช้าในทันทีที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น เพื่อแสดงมูลค่า ของสินค้าหรือบริการ และจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม

สำหรับ ShopeeFood จะออกใบกำกับภาษีตามวันที่เกิดรายการขาย อ้างอิงตามข้อหารือของสรรพากรที่เป็นค่าบริการในลักษณะเดียวกัน

https://www.rd.go.th/41442.html

ทำอย่างไรหากต้องการใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงิน?

ร้านค้าสามารถรับรายละเอียดใบกำกับภาษี ได้ 2 ช่องทาง 

ทำอย่างไรเมื่อใบกำกับภาษีไม่ถูกต้อง

ติดต่อฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ ผ่านทาง Live Chat บนแอปฯ Shopee Partner ตั้งแต่วันจันทร์ - อาทิตย์ เวลาทำการ 07:00-22:00 น.

ไปที่ศูนย์ช่วยเหลือ > เกี่ยวกับ ShopeeFood > ติดต่อเจ้าหน้าที่ หรือกรอกแบบฟอร์มแจ้งปัญหาในกรณีที่ข้อมูลใบกำกับภาษีไม่ถูกต้องของ ShopeeFood ได้ที่ คลิก และ ShopeeFood จะจัดส่งเอกสารที่แก้ไขเรียบร้อยแล้วให้ทางอีเมลที่ร้านค้าลงทะเบียนไว้

ต้องการเปลี่ยนแปลงข้อมูลผู้เสียภาษีในใบกำกับภาษีทำอย่างไร 

ติดต่อฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ ผ่านทาง Live Chat บนแอปฯ Shopee Partner ตั้งแต่วันจันทร์ - อาทิตย์ เวลาทำการ 07:00-22:00 น.

ไปที่ศูนย์ช่วยเหลือ > เกี่ยวกับ ShopeeFood > ติดต่อเจ้าหน้าที่ หรือกรอกแบบฟอร์มแจ้งปัญหาในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนแปลงข้อมูลผู้เสียภาษี ของ ShopeeFoodได้ที่ คลิก 


* หากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลทาง ShopeeFood ขอสงวนสิทธิ์ในการออกใบกำกับภาษีย้อนหลังให้แก่ท่าน ยกเว้นกรณีที่ใบกำกับภาษีมีข้อมูลไม่ถูกต้องเท่านั้น

เลขที่ใบกำกับภาษี และวันที่ของใบกำกับภาษี กรณีมีการแก้ไข

เนื่องจากใบกํากับภาษีที่ ShopeeFood ออกให้นั้นเป็น ใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อมีการแก้ไขใบกํากับภาษีจะใช้เลขที่ใหม่และลงวันที่ วันเดือนปีที่ออกใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ใหม่ 

เรียนรู้เพิ่มเติม คลิก

ไม่ได้รับใบกำกับภาษีทำอย่างไร 


หมายเหตุ: ร้านค้าจะต้องดำเนินการเปลี่ยนอีเมลให้เสร็จเรียบร้อย แล้วจึงกรอกข้อมูลในฟอร์มเพื่อดำเนินเกี่ยวกับเอกสารด้านภาษี มิฉะนั้นเอกสารของท่านจะถูกจัดส่งในอีเมลที่ลงทะเบียนไว้ในระบบ


ติดต่อฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ ผ่านทาง Live Chat บนแอปฯ Shopee Partner ตั้งแต่วันจันทร์ - อาทิตย์ เวลาทำการ 07:00-22:00 น.

ไปที่ศูนย์ช่วยเหลือ > เกี่ยวกับ ShopeeFood > ติดต่อเจ้าหน้าที่ หรือกรอกแบบฟอร์มแจ้งปัญหาในกรณีที่ข้อมูลใบกำกับภาษีไม่ถูกต้องของ ShopeeFoodได้ที่ คลิก

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (Withholding Tax) สำหรับร้านค้านิติบุคคล

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คืออะไร และใครเป็นผู้มีหน้าที่ในการหักและนำส่งแก่กรมสรรพากร? 


ตัวอย่างเช่น ผู้ขายมีรายการขายสินค้าเกิดขึ้นบนแพลตฟอร์มของ ShopeeFood ส่งผลให้มีค่าคอมมิชชั่น และ ค่าธรรมเนียมอื่นๆ(รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ดังนั้นผู้ขายมีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (ตามมาตรา 50 ทวิแห่งประมวลรัษฎากร) ด้วยอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย  3%  และผู้ขายมีหน้าที่นำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายให้แก่กรมสรรพากรตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดด้วยแบบ ภ.ง.ด.53 

มีการเก็บภาษีหัก ณ ที่จ่าย (Withholding Tax) 3% อย่างไร?

การนำส่งเอกสารยื่นแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย 

เนื่องจาก ShopeeFood ต้องการเอกสารยื่นแบบแสดงรายการหัก ณ ที่จ่ายตัวจริง ดังนั้นผู้จ่ายเงินจะต้องส่งเอกสาร ดังต่อไปนี้


การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด.3 และ ภ.ง.ด.53) จะต้องยื่นภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป ในกรณียื่นแบบออนไลน์จะสามารถขยายเวลาออกไปอีก 8 วัน หรือตามประกาศของกรมสรรพากร (ถ้ามี)


ร้านค้าจะต้องนำส่งสำเนาเอกสารหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่ายพร้อมทั้งแนบรายละเอียดของรายการ Etax พร้อมหมายเลขจัดส่งพัสดุ (tracking no.) ผ่านทางฟอร์ม คลิก และส่งเอกสารฉบับจริง ให้แก่ Shopee ภายใน 30 วันนับจากวันที่ใบกำกับภาษี  โดยสามารถดูยอดหัก ณ ที่จ่าย ได้จากรายงานการโอนเงิน  (Settlement Report)
ที่ร้านได้รับทุกวัน

ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือ Withholding tax (WHT) เมื่อไร?

เมื่อจ่ายเงินที่เกิน 1,000 บาทในคราวเดียว หรือหลายคราวรวมกันก็แล้วแต่ เช่นถ้าร้านค้าแบ่งจ่ายบริการมูลค่า 1,200 บาท 2 ครั้ง ครั้งละ 600 บาท ร้านค้าต้องหักไว้ทั้ง 2 ครั้งด้วย แม้ว่าแต่ละครั้งจะไม่เกิน 1,000 บาทก็ตาม เนื่องจากเป็นสัญญาระยะยาว จึงต้องทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย ทุกรายการ

การคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย

การคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายสามารถอ้างอิงได้จากใบกำกับภาษีที่ ShopeeFoodออกให้ โดยใช้ยอดก่อนภาษีมูลค่าเพิ่ม คูณ อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย 3%

วิธีคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย

คอมมิชชั่น                                 100 บาท 

ภาษีมูลค่าเพิ่ม                                7 บาท

รวมเป็นเงิน                                107 บาท 

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (100 x 3%)         3 บาท 

คำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายอย่างไรเมื่อยังไม่ได้ใบกำกับภาษีเนื่องจากไม่ถึงรอบการส่งใบกำกับภาษี

ร้านค้าสามารถอ้างอิงดูยอดเงินได้จากรายงานยอดขาย (settlement report ) ที่ร้านค้าได้รับทุกวัน โดยลงวันที่ตามวันที่ขาย หรืออ้างอิงจากรายงานสรุปใบกำกับภาษีที่ได้รับในสัปดาห์หลังจากสิ้นเดือนทางอีเมล 

วันที่ในหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่ายกรณีแก้ไขใบกำกับภาษี

ร้านค้าสามารถใช้วันที่ตามใบกำกับภาษีก่อนการแก้ไข อย่างไรก็ตาม สำหรับการยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มจะใช้วันที่ตามใบกำกับแก้ไข


ตัวอย่างเช่น ใบกำกับภาษีที่ร้านค้าได้รับ ลงวันที่ 10 มกราคม 2565 และเช่น ใบกำกับภาษีแก้ไขลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565

ในหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่ายจะลงวันที่ 10 มกราคม 2565 

ส่วนในรายงานภาษีซื้อสำหรับยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม จะลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565

สามารถออกหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่ายโดยรวมทั้งเดือนได้หรือไม่

ร้านค้าสามารถออกหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่ายตามวันที่ใบกำกับภาษี หรือออกหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่ายรวมยอดทั้งเดือนเป็น 1 ใบ พร้อมทั้งแนบตารางสรุปใบกำกับภาษีอันเป็นรายละเอียดประกอบการขอคืนเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย โดยแนบมาพร้อมกับหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ร้านค้าจัดส่งให้ ShopeeFood


หมายเหตุ หากออกหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่ายเป็นรายเดือนจะต้องคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากยอดรวมคอมมิชชั่นทั้งเดือน 

ตัวอย่าง ตารางแสดงรายละเอียดประกอบการขอคืนเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย

การนำส่งหนังสือรับรองการหักภาษีหัก ณ ที่จ่าย (Withholding Tax)

ร้านค้าจะต้องส่งหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายฉบับจริงให้กับ ShopeeFood ภายในระยะเวลา 45 วันหลังจากวันสุดท้ายของเดือนที่ได้ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย โดย ShopeeFood อนุโลมให้ร้านค้านำส่งไฟล์สำเนาหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายผ่านทาง แบบฟอร์มออนไลน์ (“ฟอร์ม”)  และรวบรวมส่งเอกสารฉบับจริงมาภายหลัง โดย ShopeeFood จะอ้างอิงจากวันที่นำส่งไฟล์สำเนาเอกสารผ่านฟอร์ม  อย่างไรก็ตาม ShopeeFood จะจ่ายเงินคืน ร้านค้าเมื่อได้รับเอกสารตัวจริงเท่านั้น (หากร้านค้าจัดส่งเอกสารก่อน หรือพร้อมกันกับการส่งไฟล์สำเนาผ่านฟอร์ม ShopeeFood ขอความกรุณา ร้านค้าในการกรอกหมายเลขพัสดุ (Tracking no.) เพื่อใช้สำหรับติดตามสถานะพัสดุ/เอกสาร (Track and Trace) จากผู้ให้บริการขนส่ง)


ทั้งนี้ ร้านค้าต้องจัดส่งหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย 2 ฉบับ ให้ Shopee Food ดังนี้


โดยระบุชื่อและที่อยู่ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนี้


บริษัท ช้อปปี้ (ประเทศไทย) จำกัด (สำนักงานใหญ่)

89 อาคาร เอไอเอ แคปปิตอล เซ็นเตอร์ ชั้นที่ 24

ถ.รัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

เลขประจำตัวผู้เสียภาษี 0105558019581


รายละเอียดในการจัดส่งเอกสารมาให้ ShopeeFood

ข้อมูลชื่อและที่อยู่ในการจัดส่งหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายมาให้ ShopeeFood


บริษัท ช้อปปี้ (ประเทศไทย) จำกัด (ShopeeFood Finance Ops Offline)

Finance Operations Team (Offline) - ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 

1788 อาคารสิงห์ คอมเพล็กซ์ ชั้น 26

ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310


เพื่อความสะดวกต่อการตรวจสอบเอกสารเพื่อโอนเงินคืนแก่ร้านค้า ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 

(รายการหัก ณ ที่จ่ายของรอบเดือน ตุลาคม 2565) ShopeeFood ขอความร่วมมือร้านค้ารวบยอดของรายการเป็นยอดเดียวโดยลงวันที่ 

เป็นวันที่สุดท้ายของเดือนนั้นๆ ( เช่น ใบกำกับภาษี 1 - 31 ตุลาคม 2565 จะออกใบหักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นวันที่ 31 ตุลาคม 2565 

โดยใช้ยอดทั้งเดือน ตุลาคม 2565 มาเป็นยอดรวมในการออกใบหักภาษี ณ ที่จ่าย ) 

ในส่วนการแนบรายละเอียดของรายการใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt/e-Tax invoice) 

ที่ร้านค้าทำการออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย สรุปเป็นใบปะหน้าเอกสาร โดยมีรายละเอียดดังนี้


ท่านสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มเพื่อใช้ในการออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ได้ ที่นี่


ร้านค้าสามารถศึกษาวิธีการในการออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 ทวิแห่งประมวลรัษฎากร 

เพื่อการออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายได้อย่างถูกต้องตามลิงก์ต่อไปนี้

https://www.rd.go.th/fileadmin/images/image_law/images/guide100248.pdf 


เมื่อ ShopeeFood ได้รับเอกสารและทำการตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว 

ShopeeFood จะโอนเงินคืนให้กับร้านค้าผ่านช่องทางรับเงินที่ร้านค้าได้แจ้งไว้ 

ซึ่งจะมีรายละเอียดระยะเวลาการรับ/ตรวจสอบเอกสาร และการโอนเงิน 

(โดยจะโอนรวมเป็นยอดเดียวคืนให้แก่ร้านค้า) ภายใน 45 วันทำการ


หมายเหตุ : ShopeeFood ขอสงวนสิทธิในการไม่คืนเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย ให้แก่ร้านค้า

ในกรณีที่ร้านค้าไม่จัดทำและนำส่งเอกสารหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้แก่ ShopeeFood 

หรือไม่ได้นำส่งเอกสารให้แก่ ShopeeFood ภายในระยะเวลาที่กำหนด 

หรือเอกสารมีการระบุข้อมูลที่ไม่ถูกต้องครบถ้วนด้วยรายละเอียดหรือจำนวนใดๆ 

รวมถึง ShopeeFood ไม่มีส่วนร่วมในการรับผิดชอบทางกฎหมายใดๆ 

ในกรณีที่ร้านค้าไม่ปฏิบัติตามระเบียบหรือข้อกำหนดของกรมสรรพากร


กรณีร้านค้าต้องการติดตามยอดภาษีหัก ณ ที่จ่ายโปรด คลิก โดยเลือกหัวข้อ “ติดตามสถานะเงินคืนภาษีหัก ณ ที่จ่าย”