ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็ป ฐานการเรียนรู้ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

ศาสตร์พระราชา

"ขาดทุนคือกำไร"

“...ประเทศต่างๆ ในโลกในระยะ ๓ ปีมานี้ คนที่ก่อตั้งประเทศที่มีหลักทฤษฎีในอุดมคติที่ใช้ในการปกครองประเทศ ล้วนแต่ล่มสลายลงไปแล้ว เมืองไทยของเราจะสลายลงไปหรือ เมืองไทยนับว่าอยู่ได้มาอย่างดี เมื่อประมาณ 10 วันก่อน มีชาวต่างประเทศมาขอพบ เพื่อขอโอวาทเกี่ยวกับการปกครองประเทศว่าจะทำอย่างไร

จึงได้แนะนำว่า ให้ปกครองแบบคนจน แบบที่ไม่ติดกับตำรามากเกินไป ทำอย่างมีสามัคคีมีเมตตากัน ก็จะอยู่ได้ตลอด ไม่เหมือนกับคนที่ทำตามวิชาการที่เวลาปิดตำราแล้วไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร ลงท้ายก็ต้องเปิดหน้าแรกเริ่มต้นใหม่ ถอยหลังเข้าคลอง ถ้าเราใช้ตำราแบบอะลุ้มอะล่วยกัน ในที่สุดก็เป็นการดี

ให้โอวาทเขาไปว่า “ขาดทุนเป็นการได้กำไรของเรา” นักเศรษฐศาสตร์คงค้านว่าไม่ใช่ แต่เราอธิบายได้ว่า ถ้าเราทำอะไรที่เราเสีย แต่ในที่สุดที่เราเสียนั้น เป็นการได้ทางอ้อม

ตรงกับงานของรัฐบาลโดยตรง เงินของรัฐบาลหรืออีกนัยหนึ่งคือ เงินของประชาชน ถ้าอยากให้ประชาชนอยู่ดี กินดี ก็ต้องลงทุน ต้องสร้างโครงการซึ่งต้องใช้เงินเป็นร้อย พัน หมื่นล้าน ถ้าทำไปเป็นการจ่ายเงินของรัฐบาล แต่ในไม่ช้าประชาชนจะได้รับผล ราษฎรอยู่ดีกินดีขึ้น ราษฎรได้กำไรไป

ถ้าราษฎรมีรายได้ รัฐบาลก็เก็บภาษีได้สะดวก เพื่อให้รัฐบาลได้ทำโครงการต่อไป เพื่อความก้าวหน้าของประเทศชาติ ถ้ารู้รักสามัคคี รู้เสียสละ คือการได้ ประเทศชาติก็จะก้าวหน้า และการที่คนอยู่ดีมีสุขนั้น เป็นการนับที่เป็นมูลค่าเงินไม่ได้...”


พระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลที่ 9 พระราชทานแก่ตัวแทนของปวงชนชาวไทยที่ได้เข้าเฝ้าฯถวายพระพรเนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2534 ณ ศาลาดุสิดาลัย พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน

ครูที่ปรึกษา

ฐานการเรียนรู้ "ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

นางศศิธร ระดม

ตำแหน่ง ครู คศ.3


นายพงษ์ศักดิ์ หาจักร

ตำแหน่ง ครู คศ.1


นายรณชัย ญาติฉิมพลี

ตำแหน่ง ครู คศ.1

นางสาวมัลทินี วังคะฮาด

ตำแหน่ง ครู คศ.1


วิทยากรแกนนำ

1. นางศศิธร ระดม

2. นายพงษ์ศักดิ์ หาจักร

3. นายรณชัย ญาติฉิมพลี

4. นางสาวมัลทินี วังคะฮาด

1. วัตถุประสงค์ของแหล่ง / ฐานเรียนรู้

1.1 เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับโครงการในพระราชดำหริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

1.2 เพื่อให้นักเรียนได้เข้าใจถึงองค์ความรู้ของศาสตร์พระราชาในด้านต่างๆ

1.3 เพื่อให้นักเรียนได้เข้าใจหลักการเป้าหมายตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง


ข้อมูลความรู้

ฐานเรียนรู้ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นฐาน ที่แสดงเกี่ยวกับ โครงการตามพระราชดำริ ที่มีองค์ความรู้อยู่ใน ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในเรื่องของน้ำคือชีวิตแผ่นดิน เรื่องพิทักษ์ป่า พัฒนาสินสายน้ำ เรื่อง พืชพรรณ ปลูกชีวิตมั่นคง 9 คำพ่อสอน และ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนำทางชีวิต

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนับเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อให้ชีวิตดำเนินไปในทาง สายกลางที่เหมาะสมสอดคล้องกับวิถีความเป็นอยู่ อันเรียบง่ายของคนไทย ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ ใช้ให้เหมาะสมกับประชาชนทุกระดับ ทั้งระดับ บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กร และระดับ ประเทศได้ โดยมีคุณลักษณะที่สำคัญดังนี้

ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีต่อ ความจำเป็นและเหมาะสมกับฐานะของตนเอง สังคม สิ่งแวดล้อม รวมทั้งวัฒนธรรมในแต่ละ ท้องถิ่น ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป และต้อง ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น

ความพอประมาณ

1. พอประมาณ (พอดี) ด้านจิตใจ เข็มแข็ง มีจิตสำนึกที่ดี เอื้ออาทร ประนีประนอม นึกถึงประโยชน์ส่วนรวม

2. พอประมาณ (พอดี) ด้านสังคม ช่วยเหลือเกื้อกูล รู้รักสามัคคี สร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัวและชุมชน

3. พอประมาณ (พอดี) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รู้จักใช้และจัดการอย่างฉลาดและรอบคอบและเกิดความยั่งยืนสูงสุด

4. พอประมาณ (พอดี) ด้านเทคโนโลยี รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมและสอดคล้องต่อความต้องการเป็นประโยชน์ต่อสภาพแวดล้อมและเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมและพัฒนาจากภูมิปัญญาชาวบ้านก่อน

5. พอประมาณ (พอดี) ด้านเศรษฐกิจ เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ดำรงชีวิตอย่างพอควร พออยู่ พอกิน สมควรตามอัตตาภาพและฐานะของตนพอประมาณด้านสภาพธรรมชาติที่มีการเปลี่ยนแปลง พอประมาณกับสภาพ

ฤดูกาลที่ปรากฏ เช่น ในฤดูแล้งบางท้องที่แม่น้ำลำคลองแห้งขอดไม่มีน้ำใช้ทำนาทรงโปรดให้ทำฝนหลวง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน

ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจ ดำเนินการเรื่องต่างๆ อย่างมีเหตุผลตามหลัก วิชาการ หลักกฎหมาย หลักศีลธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมที่ดีงาม คิดถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้อง อย่างถ้วนถี่ โดยคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจาก การกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ

ภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี หมายถึง การเตรียมตัว ให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงในด้าน เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม เพื่อให้สามารถปรับตัวและรับมือได้อย่างทันท่วงที


เงื่อนไขสำคัญเพื่อให้เกิดความพอเพียง 2 เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ

1. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ

2. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิตคุณธรรมที่ปรากฏ คือ ความพากเพียรอดทนที่จะช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์

มิติด้านวัตถุ/เศรษฐกิจ ทำให้ประเทศชาติลดความเดือดร้อนจากภัยพิบัติทาง ธรรมชาติ สามารถประกอบอาชีพได้และดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข

มิติด้านสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมและเป็นตัวอย่างให้กับปวงชนชาวไทยให้รักและหวงแหนทรัพยากรสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ ให้เกิดความสมดุลและยั่งยืนชั่วลูกหลาน

มิติด้านสังคม ทำให้ปวงชนชาวไทยมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุข

มิติด้านวัฒนธรรม สร้างวัฒนธรรมความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เมตตาต่อกัน รักษาสิ่งแวดล้อมให้เกิดความยั่งยืน

แนวทางปฏิบัติ / ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุล และยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้ และเทคโนโลยี

3. วิธีการใช้ฐาน

1. สร้างความสนใจ (Engagement) (10 นาที)

1.1 ทีมนักเรียนแกนนำเครือข่ายความดีวิถีพอเพียง ชี้แจง แนะนำฐานให้กับกลุ่มนักเรียนหรือผู้สนใจ

1.2 นักเรียนรับชม คลิปวีดีโอ เรื่องหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนำทางชีวิต

2. สำรวจและค้นหา (Exploration) (15 นาที)

  • แบ่งกลุ่ม เป็น 5 กลุ่มเพื่อศึกษา เนื้อหาจากนิทรรศการที่แสดงเกี่ยวกับ โครงการตาม

พระราชดำริ ที่มีองค์ความรู้อยู่ใน ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในเรื่องของน้ำคือชีวิตแผ่นดิน เรื่องพิทักษ์ป่า พัฒนาสินสายน้ำ เรื่อง พืชพรรณ ปลูกชีวิตมั่นคง 9 คำพ่อสอน และ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

3. อธิบายความรู้ (Explanation) (5 นาที)

3.1 ทีมนักเรียนแกนนำเครือข่ายความดีวิถีพอเพียงและครูแกนนำ เพิ่มเติมความรู้เพื่อเกิดความชัดเจนมากยิ่งขึ้น

4. ขยายความเข้าใจ(ขยายความรู้) (Elaboration) (10 นาที)

4.1 นักเรียนร่วมกันถอดบทเรียนองค์ความรู้ ที่ได้รับตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ได้โดยใช้ รูปแบบ 2/3/4

2 คือ ความรู้...................................................................................................................................................................................................................................................................

คุณธรรม..............................................................................................................................................................................................................................................................

3 คือ พอประมาณ…………………………………………………………………………………………..

มีเหตุผล………………………………………………………………………………………………..

มีภูมิคุ้มกัน..........................................................................................................

4 คือ มิติด้านวัตถุ/เศรษฐกิจ.........................................................................................

มิติด้านสิ่งแวดล้อม..............................................................................................

มิติด้านสังคม .....................................................................................................

มิติด้านวัฒนธรรม ......................................................................................................

5. ตรวจสอบผล/ประเมิน (Evaluation) (10 นาที)

5.1 นักเรียนสรุปผลการศึกษาเรียนรู้ ได้แนวคิดอะไรและสามารถน้อมนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

5.2 ครูประเมินผลการเรียนรู้ ลงนามรับรองผลการศึกษาเรียนรู้ฐานศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

5.3 ครูสรุปผลการเรียนรู้ฐานศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

- เสนอผ่านหัวหน้าศูนย์การเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

- เสนอผ่านรองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารวิชาการ

- เสนอผู้อำนวยการโรงเรียนสุรวิทยาคาร