ฮอร์โมนที่ควบคุมการสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต

3. ฮอร์โมนที่ควบคุมการสืบพันธุ์

และการเจริญเติบโต

3.1 กลุ่มฮอร์โมนจากอวัยวะสืบพันธุ์

อัณฑะ (testis) และ รังไข่ (ovary)

--- เพศชาย --- เมื่อเข้าสู่วัยหนุ่มเซลล์อินเตอร์สติเชียล (interstitial cell) หรือ เซลล์เลย์ดิก (Leydig cell) ได้รับการกระตุ้นโดย LH จากต่อมใต้สมองส่วนหน้าให้สร้างฮอร์โมนเพศชาย เรียกว่า แอนโดรเจน (androgen) ที่สำคัญคือ เทสโทสเทอโรน (testosterone) ทำหน้าที่ควบคุมลักษณะเพศชาย มีความสามารถในการสืบพันธุ์ กระตุ้นการสร้างสเปิร์ม

--- เพศหญิง --- แหล่งสร้างฮอร์โมนเพศ คือ ฟอลลิเคิลและ คอร์ปัสลูเทียม ในรังไข่ โดยระยะก่อนการตกไข่เซลล์ฟอลลิเคิลจะสร้างฮอร์โมนเพศหญิง คือ อีสโทรเจน (estrogen) ทำหน้าที่ทำให้เพศหญิงมีความสามารถในการสืบพันธุ์ และ มีลักษณะของเพศหญิง มีส่วนช่วยในการควบคุมการเปลี่ยนแปลงรังไข่ เมื่ออีสโทรเจนสูง ต่อมใต้สมองส่วนหลังจะหลั่ง LH มากระตุ้ใให้เกิดการตกไข่

3.2 กลุ่มฮฮร์โมนจากต่อมหมวกใตส่วนนอก

แอนโดรเจน >> มีผลต่อลักษณะทางเพศ

3.3 กลุ่มฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า

G R O W T H H O R M O N E : GH

มีหน้าที่สำคัญในการควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย อาจเรียกฮอร์โมนชนิดนี้อีกชนิดหนึ่งว่า โซมาโทโทรฟิน (somatotrophin: STH) ทำหน้าที่ กระตุ้นให้ตับสังเคราะห์สารไปกระตุ้น การเจริญเติบโตของร่างกาย

กรณีมี GH มากเกินไปในวัยเด็กจะทำให้ร่างกายสูงผิดปกติ หรือ สภาพร่างยักษ์ (gigantism)

หากมีน้อยเกินไปจะมีลักษณะเตี้ยแคระหรือ สภาพแคระ (dwarfism)

3.4 กลุ่มฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์

ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกายและการรเจริญของสมอง การขาดไทรอกซินในวัยเด็กจะมีผลให้พัฒนาการทางร่างกายและสมองด้วยลง การเจริญเติบโตช้ากว่าปกติและปัญญาอ่อน