ฮอร์โมนและการทำงานของฮอร์โมน

จุดประสงค์การเรียนรู้

สืบค้นและอธิบายเกี่ยวกับประเภทและหน้าที่ของฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและเนื้อเยื่อที่สร้างฮอร์โมน

เราสามารถแบ่งฮอร์โมนตามโครงสร้างของสารโมเลกุล ได้เป็น 3 ประเภท

เ พ ป ไ ท ด์

เป็นฮอร์โมนมีสมบัติละลายน้ำ เช่น FSH LH TRH GH ADH อินซูลิน

เ อ มี น

เป็นฮอร์โมนที่เป็นอนุพันธ์ของกรดแอมิโน หรือ กรดไขมัน เช่น เอพิเนฟริน นอร์เอพิเนฟริน มีสมบัติละลายในน้ำ และไทรอยด์ มีสมบัติละลายในลิพิด

ส เ ต อ ร อ ย ด์

เป็นฮอร์โมนที่สังเคราะห์มาจากคอเลสเตอรอล เช่น อีสโทรเจน เทสโทสเทอโรน มีสมบัติละลายในลิพิด

การออกฤทธิ์ของฮอร์โมนต่อเซลล์เป้าหมาย

    • ฮอร์โมนที่แพร่ออกจากระบบหมุนเวียนเลือดจะไปจับกับตัวรับที่เซลล์เป้าหมายที่จำเพาะกับฮอร์โมนนั้น เซลล์ใดที่ไม่ใช่เซลล์เป้าหมายของฮอร์โมนนั้นจะไม่มีตัวรับทำให้ฮอร์โมนไม่สามารถออกฤทธิ์ต่อเซลล์นั้นได้
    • ตัวรับที่เซลล์เป้าหมายมักอยู่ที่บริเวณเยื่อหุ้มเซลล์ (ฮอร์โมนจำพวกละลายน้ำได้) และภายในเซลล์ (ฮอร์โมนจำพวกละลายในลิพิด)
  • ฮอร์โมนชนิดเดียวกันมีผบต่อเซลล์เป้าหมายได้หลายชนิด และ ออกฤทธิ์ให้มีการตอบสนองที่แตกต่างกัน เช่น อินซูลิน เมื่อจับกับตัวรับที่เซลล์ตับจะออกฤทธิ์ที่ยับย้ังการสร้างกลูโคส แต่จะกระตุ้นการสร้างไกลโคเจน ถ้าอินซูลินจับกับตัวรับที่เซลล์กล้ามเนื้อโครงร่างจะออกฤทธิ์ให้นำกลูโคสไปใช้เป็นพลังงานหรือเก็บสะสมไว้ในรูปไกลโคเจนเพื่อใช้ในเวลาจำเป็น และถ้าอินซูลินจับกับตัวรับที่เซลล์ไขมันจะออกฤทธิ์ให้นำกลูโคสไปใช้ในการสังเคราะห์ลิพิด

ฟี โ ร โ ม น (p h e r o m o n e)

สารเคมีที่สัตว์ใช้สื่อสารระหว่างสัตว์สปีชีส์เดียวกัน ซึ่งเป็นสารเคมีที่ผลิตจากต่อมมีท่อของสัตว์ที่สร้างออกมาแล้วไม่มีผลต่อร่างกายสัตว์เอง แต่มีผลต่อสัตว์ตัวอื่น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีระและพฤติกรรม