ใบความรู้

กลับหน่วยที่ 1

ความหมายทักษะกระบวนการ

ทักษะ (Skill) หมายถึง ความชัดเจน และความชำนิชำนาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งบุคคลสามารถสร้างขึ้นได้จากการเรียนรู้

ทักษะการทำงาน หมายถึง ความสามารถในการทำงานได้อย่างคล่องแคล่ว ว่องไว รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ และความชำนาญในการปฏิบัติจนเป็นที่เชื่อถือและยอมรับ

กระบวนการ หมายถึงแนวทางการดำเนินงานเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างมีขั้นตอน ซึ่งวางไว้อย่างเป็นลำดับตั้งแต่ต้นจนจบแล้วเสร็จตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ ขั้นตอนดังกล่าวช่วยให้การดำเนินการมีประสิทธิภาพนำไปสู่ความสำเร็จตามจุดประสงค์และเป้าหมายได้ โดยใช้เวลาและทรัพยากรน้อยที่สุด

การทำงาน (Work) หมายถึง กิจกรรมที่บุคลากรในบุคลากรหนึ่งกระทำขึ้นด้วยกำลังกายและกำลังใจ เพื่อจุดมุ่งหมายหนึ่งที่เขาต้องการ เช่น เพื่อการดำรงชีวิต เพื่อความสบายใจ หรือเพื่อช่วยส่งเสริมสังคม เป็นต้น

อาชีพ เป็น รูปแบบการดำรงชีพในสังคมมนุษย์ปัจจุบัน อาชีพเป็นหน้าที่ของบุคคลในสังคม การที่บุคคลประกอบอาชีพจะได้มาซึ่งค่าตอบแทน หรือ รายได้ เพื่อใช้จ่ายในการดำรงชีวิต

ทักษะที่จำเป็นต่อการการทำงาน มีดั้งนี้

ทักษะกระบวนการทำงาน หมายถึง การลงมือทำงานต่างด้วยตนเองบรรลุตามเป้าหมาย โดยมีขั้นตอนดังนี้

1.วิเคราะห์การทำงาน

2.การวางแผนในการทำงาน

3.การลงมือทำงาน

4.การประเมินการทำงาน

ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา หมายถึง การหาทางออกเมื่อพบปัญหาหรือสถานการณ์จริง โดยมีขั้นตอนดังนี้

1.สังเกต

2.วิเคราะห์

3.สร้างทางเลือก

4.การประเมินทางเลือก

ทักษะการร่วมทำงาน หมายถึง การร่วมกันทำงาน มีหลักการดังนี้

1.รู้จักบทบาทหน้าที่ภายในกลุ่ม

2.มีทักษะในการฟัง พูด เสดงความคิดเห็นและอธิปรายในกลุ่ม

3.มีคุณธรรมในการทำงานร่วมกัน

4.สรุป

5.นำเสนอ

ทักษะแสวงหาความรู้ หมายถึง การค้นคว้าหาความรู้เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สนใจหรือต้องการ สามารถปฏิบัติต่อไปนี้

1.กำหนดปัญหาในการสืบค้น

2.การวางแผนการสืบค้น

3.ดำเนินการสืบค้น

4.วิเคราะห์ข้อมูลจาการสืบค้น

5.สรุป

ทักษะการจัดการ หมายถึง ความสามารถของทุกคนที่สามารถจัดกระบวนการทำงาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้

1.การจัดระบบงาน(การทำงานเดี่ยว)

2.การจัดระบบคน(การทำงานกลุ่ม)

ความหมายของการวิเคราะห์และวางแผน

การวิเคราะห์งาน

หมายถึง กระบวนการกำหนดลักษณะขอบเขตของงานต่าง ๆ (The nature of a specific job) ทั้งนี้โดยมีการสำรวจและศึกษา เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานที่ผู้ทำงานจำต้องมีอยู่อย่างครบถ้วน คือ ทั้งในแง่ความชำนาญที่ต้องการ (skills), ความรู้ที่ต้องใช้ (knowledges) ความสามารถที่ต้องมี (abilities) และความรับผิดชอบที่ต้องมีอยู่ (responsibilities) ซึ่งจะช่วยให้พนักงานสามารถทำงานจนสำเร็จผลลงได้ และข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ที่วิเคราะห์ขึ้นมาสำหรับแต่ละงาน ในที่สุดก็จะชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างงานต่าง ๆ ด้วย

ความหมายของการวางแผน

การวางแผน คือ การหาทางเลือกที่ดีที่สุดในการปฏิบัติงาน โดยใช้ปัจจัยต่างๆและมี เหตุผลเพื่อให้การดำเนินงานในอนาคตเป็นไปโดยเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพที่สุด

การวางแผน คือ กระบวนการของการพิจารณาตัดสินใจล่วงหน้าว่าจะทำอะไร อย่างไร มีการเลือกวัตถุประสงค์ นโยบาย โครงการ และวิธีปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้นอย่างไร

การวางแผน หมายถึง กระบวนการกำหนดวัตถุประสงค์ สำหรับช่วงเวลาข้างหน้า และกำหนดสิ่งที่จะกระทำต่างๆ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์

การวางแผน เป็นกระบวนการเกี่ยวกับการคิดและการตัดสินใจที่ละเอียดอ่อน และต้องกระทำให้เสร็จสิ้น ก่อนจะมีการดำเนินกิจกรรม

การวางแผน หมายถึง วิธีการในการไปถึงเป้าหมาย

การวางแผน หมายถึง กระบวนการพิจารณาตัดสินใจในปัจจุบันว่าจะทำอะไร ทำโดยใคร และทำเพื่ออะไร สำหรับการปฏิบัติการที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

ขั้นตอนของกระบวนการทำงาน มีดังนี้

1) การวิเคราะห์งาน นักเรียนแต่ละคนหรือแต่ละกลุ่มจะต้องศึกษารายละเอียดของงานที่จะทำว่ามีลักษณะอย่างไร มีรายละเอียดปลีกย่อยอะไรบ้าง เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในการกำหนดวัตถุประสงค์ การเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือในการทำงาน พร้อมกับกำหนดวิธีการทำในขั้นการวางแผนในการทำงาน

2) การวางแผนในการทำงาน นักเรียนแต่ละคนหรือแต่ละกลุ่มควรร่วมกันวางแผนการทำงาน เพื่อกำหนดแนวทางในการปฏิบัติงานไว้ล่วงหน้าว่าจะทำอะไร ทำเมื่อไร ทำวิธีใด ใครเป็นผู้ทำ กำหนดระยะเวลาในการทำงานเสร็จเมื่อใด แล้วจึงกำหนดภาระงานหรือหน้าที่ความรับผิดชอบ ของแต่ละคน ได้แก่ รายการงานที่ต้องปฏิบัติ เวลาปฏิบัติงาน และผู้รับผิดชอบ

3) การปฏิบัติงาน เมื่อนักเรียนแต่ละคนหรือแต่ละกลุ่มได้รับมอบหมายหน้าที่และความ รับผิดชอบแล้วให้ลงมือปฏิบัติงานจริงตามแผนที่วางไว้

4) การประเมินผลการทำงาน หลังจากนักเรียนแต่ละคนหรือแต่ละกลุ่มปฏิบัติงานเสร็จแล้วให้ร่วมกันตรวจสอบผลการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่ ผลงานมีข้อดีหรือข้อบกพร่องอย่างไร และควรปรับปรุงผลงานส่วนใดบ้าง ถ้าพบข้อบกพร่องในส่วนใดจะต้องร่วมกันหาวิธีการปรับปรุงแก้ไขทันที

สรุป

1. การวิเคราะห์งาน คือ การที่ผู้เรียนสามารถแจกแจงที่จะทำว่าเป็นงานประเภทใด หรือลักษณะใด

ต้องใช้เครื่องมือและอุปกรณ์อะไรบ้าง มีขั้นตอนการปฏิบัติอย่างไร กล่าวคือ ฝึกให้ผู้เรียนมองงานโดยภาพรวมออกมาว่าจะต้องทำอย่างไร

2. การวางแผนในการทำงาน คือ การให้ผู้เรียนสามารถวางแผนว่าจะใช้กำลังงานในการทำงานอย่างไร

จะทำคนเดียวหรือต้องทำหลายคน ถ้าทำหลายคนจะแบ่งหน้าที่กันอย่างไร ต้องใช้วัสดุอุปกรณ์อะไรในการทำงานครั้งนี้ ต้องใช้เงินในการลงทุนมากน้อยอย่างไร ตลอดจนกำหนดวิธีการทำงานให้เป็นขั้นตอนจนงานสำเร็จ

3. การปฏิบัติงาน คือ การให้ผู้เรียนได้ทำงานตามลำดับขั้นตอนที่วางแผนไว้ ฝึกให้มีลักษณะนิสัยที่ดี

ในการทำงาน เช่น พูดจาสุภาพ เหมาะสม มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ขยัน อดทนซื่อสัตย์ ฯลฯ และสามารถตรวจสอบการทำงานของตนเป็นระยะ ๆ

4. การประเมินผลการทำงาน คือการให้ผู้เรียนได้ประเมินผลทั้งการวางแผนก่อนการทำงาน ขณะปฏิบัติงานและเมื่องานสำเร็จแล้ว โดยขั้นตอนในการวางแผนก่อนการทำงาน ให้ประเมินว่าได้วางแผนไว้รอบคอบรัดกุมหรือไม่จะต้องเตรียมอะไรบ้าง ตรวจสอบดูแผน ที่วางไว้ว่าเป็นไปได้หรือไม่ ขณะปฏิบัติให้ประเมินว่าวิธีการทำงานเป็นอย่างไรบ้างมีข้อบกพร่องที่จะต้องปรับปรุงอย่างไร และเมื่องานสำเร็จให้ประเมินว่าผลงานที่ออกมาเป็นไปตามจุดมุ่งหมายหรือไม่มีข้อดีข้อเสียอย่างไร เพื่อจะได้แก้ไขและปรับปรุงผลงานของตนให้ดีขึ้น