Biodiversity learning space

กิจกรรมการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น การสำรวจปริมาณคาร์บอนสะสม 

ในปี 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดได้จัดทำโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นระยะที่ 2 สำรวจปริมาณคาร์บอนสะสมในป่าโคกทุ่งปะและพื้นที่รอบมหาวิทยาลัย ระยะที่ 2 และ การพัฒนาฐานข้อมูลความหลากหลายของพรรณไม้ในมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ระยะที่ 1 ซึ่งเป็นโครงการที่ดำเนินการต่อเนื่องมาจากปี 2022  พบว่าในเขตพื้นที่สำรวจมีพรรณพืชจำนวน 76 ชนิด 60 สกุล 38 วงศ์ มีปริมาณคาร์บอนสะสมคิดเป็น 70.37 ตัน/เฮกแตร์  ซึ่งทำให้มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดกลายเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ เป็นแหล่งให้ความรู้เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพของพืช และเป็นสถานที่อนุรักษ์พันธุกรรมพืชท้องถิ่น สร้างความตระหนักให้กับเยาวชนและประชาชนในการอนุรักษ์และใช้งานทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศทางบกอย่างยั่งยืน

เห็ดปะการัง (ซ้าย) และเห็ดโคน (กลางและขวา) ซึ่งพบในบริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

ภาพโดย ผศ.ดร.เอื้อมพร จันทร์สองดวง (2023)

นอกจากนั้นในพื้นที่ดังกล่าว  มีการค้นพบพืชที่อยู่ในรายการชนิดพันธุ์เปราะบางตาม UICN redlist เช่น ต้นคำมอกหลวง (Gardenia sootepensis) และพบพืชโบราณ ซึ่งเป็นพืชไม่มีดอก เช่น ต้นมะเมื่อย (Gnetum montanum) เป็นต้น

ต้นมะเมื่อย (Gnetum montanum

ภาพโดย ผศ.ดร.เอื้อมพร จันทร์สองดวง (2023)

ตัวเงินตัวทอง (Asian Water Manitor) ที่พบในมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ซึ่งเป็นสัตว์คุ้มครองตาม พรบ.สัตว์คุ้มครอง พ.ศ.2562