ใบความรู้ที่ 3

เรื่อง  ความรู้เกี่ยวกับโครงงาน

       

โครงงาน

 

         วิชาการ , กรม.  ( 2543 )  ได้กล่าวเกี่ยวกับ

ความหมายของโครงงานไว้  ดังนี้

         ความหมาย  คำว่า  “โครงงาน”  ไม่มีปรากฏในพจนานุกรม  ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.  2525  ทั้งนี้เนื่องมาจากการเรียนรู้โดย

โครงงานนี้  นำมาจากทฤษฎีและแนวคิดของนัดศึกษาชาวตะวันตก  

มาจากคำในภาษาอังกฤษว่า  Project  Approach  ซึ่งตามปกติคำว่า  Project  เราเคยคุ้นเคยและเข้าใจในความหมายว่า  “โครงงาน”  มากกว่า

         คำว่า  “การ”  เป็นคำนาม  มีความหมายว่า  งาน,  สิ่งหรือเรื่องที่ทำ  มักใช้คู้กับคำว่างาน  เช่น  การงาน  เป็นการเป็นงาน  ได้กานได้งาน

         คำว่า  “งาน”  เป็นคำนาม  มีความหมายว่า  สิ่งหรือเรื่องที่ทำ, การพิธีหรือการรื่นเริงที่คนมาชุมนุมกัน  งานการ  มีความหมายว่า  กิจการที่ทำ

         จากความหมายของคำว่า  “การ”  

การคำว่า  “งาน”  ที่ปรากฏในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน  พ.ศ.2525  ให้ความหมายไว้เช่นเดียวกัน  แต่การนำไปใช้อาจมีลายละเอียดปลีย่อยแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย

         คำว่า  “โครง”  เป็นคำนาม  หมายถึง  ร่างของสิ่งต่าง ๆ 

ที่คุ้มกันอยู่เป็นรูป  เช่น โครงกระดูก  โครงว่าว

         คำว่า  “โครงงาน”  เป็นคำนาม  หมายถึง  แผนหรือเค้าโครงตามที่กำหนดไว้   นอกจากนี้  ยังมีคำใกล้เคียงกันและมีความหมายเดียวกันอีกคำหนึ่ง  คือคำว่า  “แผนงาน” คำว่า  “แผนงาน”  มีความหมายว่า  แผนที่วางไว้เป็นแนวในการดำเนินงาน

         โดยสรุปแล้ว  การเรียนรู้แบบโครงงาน  หมายถึง  วิธีการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลุ่มลึกด้วยตนเอง  โดยวิธีการเรียนรู้จากแนวคิดวางแผนงานไว้ล่วงหน้า ใช้แหล่งการเรียนรู้อย่างหลากหลาย  นำผลการเรียนรู้ไปใช้ในชีวิตจริงได้


 ความเป็นมา


        การเรียนรู้แบบโครงงาน  หรือ  โครงงาน  มีมานานแล้ว  แล้วได้รับการพัฒนารูปแบบให้ชัดเจน  โดย  Lilian  Katz  ชาวอเมริกา  และ  Sylvia  Chard  ชาวแคนาดา  ซึ่งทั้งสองคนได้แรงบันดาลใจจากการศึกษาดูงานโรงเรียนก่อนประถมศึกษาและประถมศึกษาในเมือง Reggio  Emilia  ทางตอนเหนือของอิตาลี

 

         วิชาการ, กรม  ( 2543 )  ได้กล่าวไว้เกี่ยวกับความแตกต่างของโครงงานและโครงงานอาชีพได้ดังนี้

         โครงงาน  กับ  โครงงานอาชีพ

         การเรียนและทำโครงงานอาชีพในรายวิชาการปฏิบัติงานอาชีพ...(ง 33101)  ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย  ลักษณะธรรมชาติวิชาจะคล้ายคลึงกับการเรียนและการทำโครงงานของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในรายวิชาโครงงาน  เพื่อป้องกันความสับสน  ในที่นี้จะชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างของ “โครงงาน”  กับ “โครงงานอาชีพ”  ดังนี้  

         1.  ความหมายของโครงงาน  หมายถึง  การทำงานโดยมีการวางแผน  เขียนเค้าโครงของงานที่จะทำไว้ล่วงหน้า  ก่อนที่จะลงมือทำ

         2.  ความหมายของโครงงานอาชีพ  คำว่า  “ อาชีพ ”  

ตามพจนานุกรม  หมายถึง การทำมาหากิน  หรืองานที่ทำเป็นประจำ

เพื่อเลี้ยงชีวิต  ดังนั้น  โครงงานอาชีพ  จึงหมายถึง การทำงานหารายได้โดยมีการวางแผน  เขียนเค้าโครงของงานที่จะทำไว้ล่วงหน้าก่อนที่จะลงมือทำงาน

         3.  ความแตกต่างของโครงงานในรายวิชาโครงงาน  กับโครงงานอาชีพในรายวิชาการปฏิบัติงานอาชีพ

         วิชาการ,  กรม.  ( 2543 )  ได้กล่าวไว้เกี่ยวกับลักษณะของโครงงาน  ขั้นตอนการจัดทำโครงงานและประโยชน์ไว้ดังนี้




         ลักษณะของโครงงาน


         การเรียนรู้โดยโครงงาน  ตามเอกสารทิศทางของหลังสูตร

การศึกษาขั้นพื้นฐาน  สามารถกระทำได้  2  ลักษณะ  คือ

 

         1.  โครงงานตามสาระการเรียนรู้  เป็นโครงงานที่นักเรียน

นำความรู้  ทักษะที่ได้เรียนในสาระการเรียนรู้มาจัดทำเป็นโครงงาน

         2.  โครงงานตามความสนใจ  เป็นโครงงานที่นักเรียนเลือกทำตามความสนใจของตนเอง ตามความต้องการและความถนัด

         นอกจากนี้  อาจจำแนกโครงงานตามลักษณะของการจัดทำ

ได้  4  ประเภท  คือ 

1.    โครงงานประเภทสำรวจ

2.    โครงงานประเภททดลอง

3.    โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์

4.    โครงงานประเภทพัฒนาผลงาน



ขั้นตอนการจัดทำโครงงาน   มีขั้นตอนดังนี้

 

1.  การเลือกโครงงาน  เป็นขั้นที่ครูผู้สอนจัสถานการณ์ต่าง ๆ  

ให้ผู้เรียนเกิดความสนใจเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  ซึ่งจะนำไปสู่การค้นหาและเลือกหัวข้อที่ตนสนใจ  เช่น  การอภิปราย  การใช้สื่อกรณีตัวอย่างยั่วยุให้เกิดความสงสัย  อยากรู้อยากหาคำตอบ  นำข้อสงสัยมากำหนดเป็นหัวข้อของโครงงาน

2.  การวางแผนโครงงาน  เป็นขั้นที่มีการอภิปรายและแลกเปลี่ยน

ความคิดเห็นเกี่ยวกับหัวข้อโครงงานที่ผู้เรียนเลือกศึกษา  หรือกำหนดวัตถุประสงค์  กำหนดกิจกรรม  ระยะเวลาดำเนินการ การเตรียมวัสดุอุปกรณ์  เครื่องมือ  เครื่องใช้ต่าง ๆ  หรือการฝึกทักษะที่จำเป็น

ในการทำโครงงานเพิ่มเติมให้กับผู้เรียน

       3.  การปฏิบัติ  เป็นขั้นที่ผู้เรียนดำเนินการตามแผนที่วางไว้  โดยมีครูผู้สอนดูแล  ให้คำปรึกษา  แนะนำ  หรือช่วยแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ  ให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติกิจกรรมตามโครงงานได้สำเร็จ

 

4.  การประเมินผล  เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลการดำเนินงาน

โครงงาน  เพื่อสรุปผลงานการปฏิบัติ  ว่าบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่  ผู้เรียนได้รับประโยชน์อะไรจากการทำโครงงานบ้าง มีปัญหา  อุปสรรคและแนวทางในหารปรับปรุงแก้ไขอย่างไร

       5.  การเสนอผลโครงงาน  เป็นการเสนอผลการดำเนินงานโครงงานในรูปแบบต่าง ๆ ตามลักษณะงาน  ซึ่งอาจจะมีการนำเสนอเฉพาะภายในชั้นเรียน  ภายในโรงเรียนหรือภายนอกโรงเรียน  ในโอกาสต่าง ๆ  

ตามความเหมาะสม  รูปแบบการนำเสนอผลงานสามารถทำได้หลาย

รูปแบบ  เช่น

           5.1  การรายงานด้วยเอกสาร

           5.2  การเล่าสู่กันฟัง

           5.3  นำเสนอในการประชุม

           5.4  การจัดนิทรรศการ

         5.5  การแสดงละคร

                         ฯลฯ

       การรายงานด้วยเอกสาร  เป็นการนำเสนอผลงานการศึกษาโดย

โครงงานวิธีการหนึ่ง ซึ่งอาจจะต้องจัดทำรายละเอียดของเอกสารโดยกำหนดหัวข้อแสดงรายละเอียด  ดังนี้

       1.   ชื่อโครงงาน

       2.   ชื่อผู้ทำโครงงาน / โรงเรียน / พ.ศ.  ที่จัดทำ

       3.   ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน

       4.   ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

       5.   จุดประสงค์ของโครงงาน

       6.   บทคัดย่อสั้น ๆ  บอกเค้าโครงอย่างย่อ ๆ  ประกอบด้วย  เรื่อง / วัตถุประสงค์ /วิธีการศึกษาและสรุปผลสั้น ๆ

       7.   กิตติกรรมประกาศ  แสดงความขอบคุณบุคคลหรือหน่วยงาน

ที่มีส่วนช่วยเหลือให้งานสำเร็จ

       8.   สมมุติฐาน  (คำตอบที่คาดเดาก่อนเริ่มลงมือปฏิบัติ)

       9.   ตัวแปรที่ศึกษา

       10. อุปกรณ์ที่ใช้

       11. แผนการทำงานของนักเรียน

                 -  ระบุงานที่นักเรียนคิดว่าจะทำ

                 -  ระบุระยะเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติงานตามแผนงาน

                 -  ระบุผู้รับผิดชอบ

       12. วิธีการศึกษา / ขั้นตอนการปฏิบัติ

       13.  สรุปผลการศึกษา

       14.  อภิปรายผล / ประโยชน์ที่ได้รับ / ข้อเสนอแนะ

       15.  เอกสารอ้างอิง

       การนำเสนอโดยวิธีอื่น ๆ  ก็อาจจะใช้หัวข้อดังกล่าวไว้แล้วข้างต้นและปรับปรุงตามความเหมาะสมของรูปแบบการนำเสนอในวิธีการนั้น ๆ



ประโยชน์ของโครงงาน

 

      1.  กิจกรรมโครงงานเหมาะกับการศึกษาในยุคข้อมูลข่าวสาร

       2.  เป็นกิจกรรมที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนได้เต็มที่

       3.  เกิดความรู้จริง  ซึ่งได้จากการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยการทดลอง  ปฏิบัติ  ค้นคว้า

       4.  สามารถใช้ความรู้ได้หลายด้าน  (หลายมิติ)

       5.  เกิดปัญญาเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน

       6.  ฝึกให้ผู้เรียนเป็นคนคิดเป็น  ทำเป็น  แก้ไขปัญหาเป็น

       7.  ผู้เรียนได้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์และเกิดความภาคภูมิใจ

ที่ทำงานสำเร็จ

       8.  ผู้เรียนเกิดความสนุกสนานจากการเรียนรู้

       9.  ช่วยสนับสนุนให้ผู้เรียนเป็นนักค้นคว้า  (นักวิทยาศาสตร์)