10 อาชีพที่ต้องการในตลาดแรงงาน

แบบทดสอบค้นหาตนเอง




                                                ใบความรู้ที่ 1          

    งานอาชีพ

 

 



อาชีพ หมายถึง งานซึ่งบุคคลใดบุคคลหนึ่งปฏิบัติอยู่ไม่หมายรวมถึงอุตสาหกรรม กิจการสถานภาพในการทำงาน หรือประสบการณ์ในการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน

 

งานอาชีพ หมายถึง การทำกิจกรรม การทำงาน การประกอบการที่ไม่เป็นโทษแก่สังคมและมีรายได้ตอบแทน โดยอาศัยแรงงาน ความรู้ ทักษะ อุปกรณ์ เครื่องมือ วิธีการแตกต่างกันไป


2. ความรู้เกี่ยวกับอาชีพ

อาชีพทั่วไปสามารถจัดแบ่งตามลักษณะได้เป็น 2 ลักษณะ

 

1. การแบ่งอาชีพตามเนื้อหาวิชาของอาชีพ

2. การแบ่งอาชีพตามลักษณะของการประกอบอาชีพ

 

1. การแบ่งอาชีพตามเนื้อหาวิชาของอาชีพ

1) การเกษตรกรรม

2) การประมง

3) การผลิตและจำหน่ายสินค้าบริโภค

4) การผลิตและจำหน่ายสินค้าอุปโภค

5) การผลิตและจำหน่ายสินค้างานฝีมือและสิ่งประดิษฐ์

6) การให้บริการ




2. การแบ่งอาชีพตามลักษณะของการประกอบอาชีพ

1. อาชีพอิสระ

2. อาชีพรับจ้าง


1. อาชีพอิสระ

อาชีพอิสระ หมายถึง อาชีพทุกประเภทที่ผู้ประกอบการดำเนินการด้วยตนเองแต่เพียงผู้เดียวหรือเป็นกลุ่มอาชีพอิสระเป็นอาชีพที่ไม่ต้องใช้คนจำนวนมาก แต่หากมีความจำเป็นอาจมีการจ้างคนอื่นมาช่วยงานได้ เจ้าของกิจการเป็นผู้ลงทุน และจำหน่ายเอง คิดและตัดสินใจด้วยตนเองทุกเรื่อง ซึ่งช่วยให้การพัฒนางานอาชีพเป็นไปอย่างรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ การประกอบอาชีพอิสระ เช่น ขายอาหาร ขายของชำ ซ่อมรถจักรยานยนต์ ผู้ประกอบการจะต้องมี

ความรู้ความสามารถเรื่องการบริหารการจัดการ เช่น การตลาด ทำเล ที่ตั้ง 

เงินทุน  การตรวจสอบ และประเมินผล

 

2. อาชีพรับจ้าง

อาชีพรับจ้าง หมายถึง อาชีพที่มีผู้อื่นเป็นเจ้าของกิจการโดยตัวเองเป็นผู้รับจ้างทำงานให้ และได้รับค่าตอบแทนเป็นค่าจ้าง หรือเงินเดือน อาชีพรับจ้างประกอบด้วย บุคคล ๒ ฝ่าย ซึ่งได้ตกลงว่าจ้างกัน บุคคลฝ่ายแรกเรียกว่า “นายจ้าง” หรือผู้ว่าจ้าง บุคคลฝ่ายหลังเรียกว่า “ลูกจ้าง” หรือผู้รับจ้าง มีค่าตอบแทนที่ผู้ว่าจ้าง  จะต้องจ่ายให้แก่ผู้รับจ้างเรียกว่า “ค่าจ้าง”

       ข้อดี คือ ไม่ต้องเสี่ยงกับการลงทุน เพราะลูกจ้างจะใช้

  เครื่องมือ อุปกรณ์ที่นายจ้างจัดไว้ให้ทำงานตามที่นายจ้างกำหนด

       ข้อเสีย คือ มักจะเป็นงานที่ทำซ้ำๆ เหมือนกันทุกวัน และต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบของนายจ้าง

 

การประกอบธุรกิจตามแนวปรัชญา

ของเศรษฐกิจพอเพียง


       กระแสโลกาภิวัฒน์ส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  มีการเคลื่อนย้ายคนและข้อมูลข่าวสารอย่างเสรี การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ  

เกินการสร้างทดแทน  ซึ่งส่งผลให้ธรรมชาติขาดสมดุล  เกิดภาวะโลกร้อน  

เกิดการเปลี่ยนแปลงจนกลายเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม  การประกอบธุรกิจ

ในยุคโลกาภิวัฒน์นั้น  ผู้ประกอบการต้องรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง มีความรอบคอบ  ตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลที่ถูกต้อง  และรู้จักปรับเปลี่ยนอย่างมีเหตุผลโดยนำแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการประกอบธุรกิจให้มีความมั่นคง  เข้มแข็ง  ยั่งยืน พออยู่  พอกิน  มีรายได้  มีการออม  

และมีทุนในการขยายกิจการ

 

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

       เศรษฐกิจพอเพียง  เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชากรในทุกระดับ  ตั้งแต่ระดับครอบครัว  ระดับชุมชน  จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินทางสายกลาง  เพื่อให้รอดพ้นและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ 

       ประโยชน์ของเศรษฐกิจพอเพียง  คือ  

การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้เทคโนโลยี  และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี”



 หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักพิจารณาอยู่ 5 ประกาดังนี้                                                                                      

1. กรอบแนวความคิด  เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตน

ในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สมารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลง

อยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อความมั่นคง 

และความยั่งยืน

ของการพัฒนา

2. คุณลักษณะ  เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้

ในทุกระดับโดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน

3. คำนิยาม  ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อม ๆ กัน ดังนี้

1) ความพอประมาณ: หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป

โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่นการผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับ

พอประมาณ 

2) ความมีเหตุผล: หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น

จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ 

3) การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว: หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ

และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้

ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

4. เงื่อนไข

การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้นต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ

1)     เงื่อนไขความรู้: ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ 

2)     เงื่อนไขคุณธรรม: ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย 

มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต 

5. แนวทางปฏิบัติ

ผลจากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม 

สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี

 การนำเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ ต้องคำนึงถึง 4 มิติ ดังนี้

1.ด้านเศรษฐกิจ 

ลดรายจ่าย / เพิ่มรายได้ / ใช้ชีวิตอย่างพอควร / คิดและวางแผนอย่างรอบคอบ/ มีภูมิคุ้มกัน/ ไม่เสี่ยงเกินไป/ การเผื่อทางเลือกสำรอง


2.ด้านสังคม

ช่วยเหลือเกื้อกูล / รู้รักสามัคคี / สร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัวและชุมชน 


3.ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

รู้จักใช้และจัดการอย่างฉลาดและรอบคอบ / เลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างรู้ค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด / ฟื้นฟูทรัพยากรเพื่อให้เกิดความยั่งยืนสูงสุด 


4.ด้านวัฒนธรรม

รักและเห็นคุณค่าในความเป็นไทย เอกลักษณ์ไทย / เห็นประโยชน์และคุ้มค่าของภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น/รู้จักแยกแยะและเลือกรับวัฒนธรรมอื่น ๆ 


การนำแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในระดับต่าง ๆ

1.      ระดับบุคคลและครอบครัว  เป็นความพอเพียงขั้นพื้นฐาน โดยการให้สมาชิกในครอบครัวมีความเป็นอยู่ในลักษณะพึ่งพาตนเองได้อย่างมีความสุขทั้งกายและใจ สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น

2.      ระดับชุมชนและองค์กร  เกิดขึ้นจากการที่สมาชิกของแต่ละครอบครัวในชุมชนมีความพอเพียงขั้นพื้นฐานก่อนแล้วจึงรวมกลุ่มกันทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม  เช่น  การใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นอย่างประหยัดและคุ้มค่า  เป็นต้น

3.      ระดับสังคมและประเทศ  เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มของชุมชนหลาย ๆแห่งที่มีความพอเพียงมาร่วมกันแลกเปลี่ยน

ความรู้  สืบทอดภูมิปัญญา และร่วมกันพัฒนาตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างชุมชนให้เกิดเป็นสังคมแห่งความพอเพียงโดยยึดคุณธรรมเป็นหลัก  เช่น  ช่วยเหลือเกื้อกูล  ประสานงาน  ประสานประโยชน์กัน  ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในความสุจริต  รักษากฏกติกา  และทำตามระเบียบแบบแผนโดยเท่าเทียมเสมอกัน 



การประกอบธุรกิจให้มีความยั่งยืน


      การประกอบธุรกิจตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท  โดยคำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ  และคุณธรรมประกอบการวางแผน 

การตัดสินใจ  จึงเป็นการดำเนินกิจกรรมโดยอาศัย

แนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่จะทำให้บุคคลสามารถประกอบอาชีพและธุรกิจได้อย่างยั่งยืน