ด้านที่ 2 ครูผู้สอน

ตัวชี้วัดที่ 1 การบริหารจัดการชั้นเรียน หมายถึง การจัดสภาพ บรรยากาศในชั้นเรียนที่ส่งเสริมและเอื้อต่อการเรียนรู้ กระตุ้นความสนใจใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา อบรมบ่มนิสัย ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิด ทักษะชีวิต ทักษะการทำงาน มีคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ค่านิยมที่ดีงาม ปลูกฝังความเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สร้างแรงบันดาลใจ และเสริมแรงให้ผู้เรียนมีความมั่นใจในการพัฒนาตนเองเต็มตามศักยภาพ มีความปลอดภัย และมีความสุข ประเด็นการพิจารณา ดังนี้

1. ผู้เรียนและผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ ในการจัดสภาพแวดล้อม บรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีความปลอดภัยและมีความสุข

2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิด มีทักษะชีวิต และทักษะการทำงาน

3. อบรมบ่มนิสัยให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ค่านิยมที่ดีงาม ปลูกฝังความเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

4. เสริมแรงให้ผู้เรียนมีความมั่นใจในการพัฒนาตนเองเต็มตามศักยภาพ เกิดแรงบันดาลใจ

5. เป็นแบบอย่างที่ดี ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน


ตัวชี้วัดที่ 2 การจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนหมายถึง การดำเนินการดูแลช่วยเหลือผู้เรียนอย่างเป็นระบบ โดยการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ จัดทำและให้สารสนเทศของผู้เรียน

จัดทำโครงการและกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ ด้วยวิธีการที่หลากหลาย เพื่อส่งเสริม ป้องกัน และแก้ปัญหา

ของผู้เรียนรายบุคคล ประเด็นการพิจารณา ดังนี้

1. รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ จัดทำและใช้ข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนในระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน

2. มีโครงการและจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

3. ส่งเสริม ป้องกัน และแก้ปัญหาผู้เรียนอย่างเป็นระบบ

4. นำข้อมูลไปประยุกต์ใช้ในบริบทใกล้เคียง

5. เป็นแบบอย่างที่ดี และเป็นผู้นำ


ตัวชี้วัดที่ 3 การจัดทำข้อมูลสารสนเทศ และเอกสารประจำชั้นเรียนหรือประจำวิชา หมายถึง การดำเนินการรวบรวมข้อมูลของผู้เรียนในทุกด้าน ที่ผ่านการวิเคราะห์ สังเคราะห์อย่างเป็นระบบ มีความถูกต้องและเป็นปัจจุบัน เพื่อเป็นสารสนเทศในการเสริมสร้างและพัฒนาผู้เรียนประจำชั้น หรือ ประจำวิชาที่รับผิดชอบ ประเด็นการพิจารณา ดังนี้

1. จัดทำข้อมูลสารสนเทศ และเอกสารประจำชั้นเรียน หรือ ประจำวิชา อย่างเป็นระบบถูกต้องและเป็นปัจจุบัน

2. ใช้สารสนเทศในการเสริมสร้างและพัฒนาผู้เรียน

3. ให้คำปรึกษาแก่ครู ผู้ร่วมงานด้านการจัดทำข้อมูลสารสนเทศ

4. เป็นแบบอย่างที่ดี และเป็นผู้นำ


ตัวชี้วัดที่ 4 การพัฒนาตนเองและวิชาชีพ หมายถึง กระบวนการ พัฒนาสมรรถนะของครูรายบุคคล โดยมีแผนการพัฒนาตนเอง และดำเนินการตามแผนอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง สอดคล้องกับสภาพการปฏิบัติงาน ความต้องการจำเป็น สร้างองค์ความรู้ใหม่โดยการนำความรู้ ความสามารถ ทักษะ ที่ได้จากการพัฒนาตนเองมาพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนมีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในระดับสถานศึกษา หรือ ระดับเครือข่าย หรือ ระดับชาติ และแสดงบทบาทในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) ประเด็นการพิจารณา ดังนี้

1. ประพฤติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพและมาตรฐานตำแหน่ง

2. จัดทำแผนพัฒนาตนเองที่สอดคล้องกับสภาพการปฏิบัติงาน ความต้องการจำเป็น หรือตามแผนกลยุทธ์ของหน่วยงานการศึกษา หรือส่วนราชการต้นสังกัด

3. พัฒนาตนเองตามแผน

4. เข้าร่วมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

5. เป็นแบบอย่างที่ดี และเป็นผู้นำ


ตัวชี้วัดที่ 5 การพัฒนานวัตกรรม องค์ความรู้ใหม่ และการจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน ประเด็นการพิจารณา ดังนี้

1. ครูมีการสร้างองค์ความรู้ใหม่ เพื่อแก้ปัญหาและหรือพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยใช้วิธีการที่ถูกต้อง และเหมาะสมกับสภาพปัญหาและความต้องการจำเป็น

2. ครูมีการนำผลการแก้ปัญหาหรือการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน หรืผลการวิจัยไปใช้ในการวางแผนการจัดการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียน

3. ครูมีการเผยแพร่นวัตกรรมและผลงานการใช้นวัตกรรมสู่สาธารณะ

4. ครูเป็นแบบอย่างและผู้นำ ให้คำแนะนำในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ เพื่อแก้ปัญหา และหรือพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน