ด้านที่ 3 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้

ตัวชี้วัดที่ 1 การสร้างและหรือพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การจัดทำและหรือพัฒนาหลักสูตรรายวิชา หรือ สาระการเรียนรู้ที่รับผิดชอบ โดยมีการวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัด เพื่อจัดทำคำอธิบายรายวิชาหน่วยการเรียนรู้ รวมทั้งมีการประเมินความสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด หรือ ผลการเรียนรู้ ประเด็นการพิจารณา ดังนี้

1. วิเคราะห์หลักสูตร มาตรฐานและตัวชี้วัด และนำไปจัดทำหน่วยประสบการณ์ ให้สอดคล้องกับมาตรฐาน ตัวชี้วัด

2. ปรับประยุกต์หลักสูตรและหน่วยประสบการณ์ให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ผู้เรียน ท้องถิ่น และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง

3. ประเมินผลการใช้หลักสูตรอย่างเป็นระบบและนำผลการประเมิน การใช้หลักสูตรมาปรับปรุงให้มีคุณภาพสูงขึ้น

4. ร่วมแลก เปลี่ยนเรียนรู้ด้านหลักสูตร หน่วยประสบการณ์ที่สอน


ตัวชี้วัดที่ 2 การออกแบบหน่วยประสบการณ์ / หน่วยการเรียนรู้ หมายถึง การจัดทำและหรือพัฒนาหน่วยประสบการณ์ / หน่วยการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวบ่งชี้ ธรรมชาติของการเรียนรู้ เหมาะสมกับช่วงวัยผู้เรียน บริบทของสถานศึกษาและท้องถิ่น มีกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการปฏิบัติ (Active learning) โดยเลือกรูปแบบการจัดการเรียนรู้ สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี แหล่งเรียนรู้และการวัดและประเมินผล เพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ บรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้ และประเมินผลหน่วยการเรียนรู้ ประเด็นการพิจารณา ดังนี้

1. ออกแบบหน่วยประสบการณ์โดยการปรับประยุกต์ให้สอดคล้องกับ บริบทของสถานศึกษาท้องถิ่นและเหมาะสมกับผู้เรียน

2. มีประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยวิธีการปฏิบัติที่สอดคล้องกับธรรมชาติของสาระการเรียนรู้อย่างหลากหลายและสามารถนำไปปฏิบัติจริง

3. ประเมินผลการใช้หน่วยประสบการณ์และนำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนาให้มีคุณภาพสูงขึ้น

4. เป็นแบบอย่างที่ดีเป็นผู้นำ เป็นพี่เลี้ยงหรือร่วมปรึกษา ด้านการออกแบบหน่วยประสบการณ์


ตัวชี้วัดที่ 3 การจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ หมายถึง การกำหนดแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหน่วยการเรียนรู้เป็นการเตรียมการสอนหรือการกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ล่วงหน้า อย่างเป็นระบบ และเป็นลายลักษณ์อักษร / การกำหนดแนวทางการจัดประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการที่สมดุลทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และ สติปัญญา ผ่านกิจกรรมการเล่นที่เหมาะสมกับวัยและความแตกต่างระหว่างบุคคล ประเด็นการพิจารณา ดังนี้

1. วิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล

2. จัดทำแผนการจัดประสบการณ์สอดคล้องกับการออกแบบหน่วยประสบการณ์ ธรรมชาติของเด็ก และบริบทของสถานศึกษาและท้องถิ่น ที่มีองค์ประกอบครบถ้วนตามรูปแบบที่หน่วยการศึกษาหรือต้นสังกัดกำหนด และสามารถนำไปปฏิบัติจริง

3. มีกิจกรรมการจัดประสบการณ์ด้วยวิธีการปฏิบัติที่สร้างสรรค์อย่างหลากหลาย สอดคล้องกับธรรมชาติของสาระการเรียนรู้และผู้เรียน

4. มีบันทึกหลังการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้และนำผลมาปรับประยุกต์แผนการจัดประสบกาณ์ให้มีคุณภาพสูงขึ้น

5. เป็นแบบอย่างที่ดี และให้คำแนะนำด้านการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์


ตัวชี้วัดที่ 4 กลยุทธ์ในการจัดประสบการณ์/การเรียนรู้ หมายถึง วิธีการจัดการเรียนรู้ที่แยบยลโดยใช้เครื่องมือ รูปแบบ เทคนิค และวิธีการอย่างหลากหลาย ที่มีประสิทธิภาพ บรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้ประเด็นการพิจารณา ดังนี้

1. จัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบ เทคนิค และวิธีการที่เน้นวิธีการปฏิบัติ มีความหลากหลาย ใช้สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีการจัดการเรียนรู้ การวัดผลและประเมินผลตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด หรือผลการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้ และสอดคล้องกับธรรมชาติของเด็กและพัฒนาการ

2.ประเมินผลการใช้กลยุทธ์ในการจัดประสบการณ์และนำผลการประเมินมาปรับปรุงให้มีคุณภาพสูงขึ้น

3. นิเทศการจัดประสบการณ์ในสถานศึกษา

4. กลยุทธ์การจัดประสบการณ์สามารถนำไปใช้ได้ในสถานศึกษาที่มีบริบทใกล้เคียง

5. เป็นแบบอย่างที่ดี และ เป็นผู้นำ


ตัวชี้วัดที่ 5 การสร้างและการพัฒนา สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษา และแหล่งเรียนรู้ หมายถึง การเลือก คัดสรร ใช้ สร้างและพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษา และแหล่งเรียนรู้ เพื่อนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนสอดคล้องกับเนื้อหาสาระ มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด และจุดประสงค์การเรียนรู้ ประเด็นการพิจารณา ดังนี้

1. สร้างและพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษา และแหล่งเรียนรู้ นำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ เหมาะสมกับผู้เรียน สอดคล้องกับเนื้อหาสาระมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด หรือผลการเรียนรู้และจุดประสงค์การเรียนรู้

2. ประเมินผลการใช้สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษา และแหล่งเรียนรู้ และนำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนาให้มีคุณภาพสูงขึ้น

3. สามารถนำสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษา และแหล่งเรียนรู้ ไปปรับประยุกต์ใช้ในสถานศึกษาที่มีบริบทใกล้เคียง

4. เป็นแบบอย่างที่ดี และ เป็นผู้นำ


ตัวชี้วัดที่ 6 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการที่ได้มาซึ่งข้อมูลสารสนเทศ ที่เป็นผลจากการจัดการเรียนรู้ เพื่อปรับปรุง พัฒนา ตัดสินผลการเรียนรู้ ความก้าวหน้า และพัฒนาการของผู้เรียน ที่สะท้อนระดับคุณภาพของผู้เรียน โดยใช้วิธีการ เครื่องมือวัดและประเมินผลที่หลากหลาย เหมาะสม และสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด และจุดประสงค์การเรียนรู้ ประเด็นการพิจารณา ดังนี้

1. สร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผล ที่หลากหลาย เหมาะสม และสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด และหรือ ผลการเรียนรู้ และจุดประสงค์การเรียนรู้

2. มีการประเมินตามสภาพจริง

3. มีการประเมินคุณภาพของเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ และนำผลการประเมินคุณภาพของเครื่องมือวัด และประเมินผลการเรียนรู้ ไปปรับปรุงพัฒนาให้มีคุณภาพสูงขึ้น

4. เป็นแบบอย่างที่ดี เป็นผู้นำ เป็นพี่เลี้ยง และให้คำปรึกษาด้านการวัดและประเมินผล


ตัวชี้วัดที่ 7 การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการแก้ปัญหา หรือ พัฒนาการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนได้เต็มตามศักยภาพ ประเด็นการพิจารณา ดังนี้

1. สร้างองค์ความรู้ใหม่ เพื่อแก้ปัญหาและหรือพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยใช้วิธีการที่ถูกต้อง และเหมาะสมกับสภาพปัญหาและความต้องการจำเป็น

2. ใช้กระบวนการวิจัย วิธีการที่ถูกต้อง และเหมาะสมกับสภาพปัญหาและความต้องการจำเป็น

3. นำผลการแก้ปัญหา หรือ การพัฒนา การเรียนรู้ของผู้เรียน หรือผลการวิจัยไปใช้

4. เป็นผู้นำ และ ให้คำแนะนำในการใช้กระบวนการวิจัย หรือดำเนินการวิจัยในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ เพื่อแก้ปัญหา และหรือพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน