กศน.ตำบลวัดโบสถ์ ที่อยู่ หมู่ 4 ตำบลวัดโบสถ์ อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก

กศน.ตำบลวัดโบสถ์ เป็นอาคารปูนชั้นเดียวโครงสร้างหลังคาเป็นเหล็ก ภายในอาคารเป็นห้องโล่ง เดิมชื่อ“ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลวัดโบสถ์” ตั้งอยู่หมู่ 4 บ้านวัดโบสถ์ ตำบลวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก (ตั้งอยู่ด้านหลังศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอวัดโบสถ์และห้องสมุดประชาชนอำเภอวัดโบสถ์ ปัจจุบัน) ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2541 โดยรับการสนับสนุนวัสดุในการก่อสร้างจากพ่อค้าและประชาชนในตำบลวัดโบสถ์ร่วมกันดำเนินการก่อสร้าง มีชมนักศึกษา กศน.ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการก่อสร้าง และได้ดำเนินการจัดกิจกรรมต่างๆใน กศน.ตลอดมา และในปีพ.ศ.2552 สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ได้มีคำสั่งให้จัดตั้งศูนย์การเรียนชุมชนประจำตำบลเป็น “กศน.ตำบล” เพื่อเป็นศูนย์กลางในการจัดกิจกรรม กศน.ให้กับนักศึกษาและประชาชนในตำบลวัดโบสถ์และหน่วยงานที่ขอความร่วมมือและมีการปรับเปลี่ยน กศน.ตำบลวัดโบสถ์ ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ที่หลากหลาย ตามนโยบายของรัฐบาล

โดยปีงบประมาณ พ.ศ. 2557สํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งและสํานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ได้ทําบันทึกตกลงความร่วมมือเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2557 ณ ห้องเซฟไฟร์ 117 – 120 อาคารอิมเพค ฟอรั่ม 1 เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรีโ ดยกําหนดให้มีการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมพัฒนา ประชาธิปไตยและการเลือกตั้งตําบล จังหวัดละ 1 ตําบล (1 ศูนย์) ขึ้นในสํานักงานการศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัยตําบล มีการแต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยและการเลือกตั้งตําบล จํานวน 9 คน จากพลเมืองอาสาพัฒนาประชาธิปไตย ซึ่งจะเป็นผู้ที่ขับเคลื่อนเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาและ ให้ความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตยและการเลือกตั้งในตําบล และมีเป้าหมายจัดตั้งให้ครบทุกตําบลในปีงบประมาณ พ.ศ.2558 และพ.ศ.2559 ศปป.1 กอ.รมน. ร่วมกับการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) ถือเป็นสถาบันศึกษาเชื่อมโยงโดยตรงในระดับหมู่บ้าน ในการขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพื้นที่ กอ.รมน.4 กองทัพภาค จำนวน 34 โครงการ และจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเกษตรทฤษฎีใหม่ ประจำตำบล จำนวน 7,424 แห่งทั่วประเทศ พร้อมฝึกอบรมครู กศน.ตำบล และขยายผลสู่ประชาชนในทุกพื้นที่ และ กศน.ตำบล


ปี 2559 จะยกระดับศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชน เป็นศูนย์ดิจิทัลชุมชน 600 แห่ง แต่กระทรวงไอซีทีคัดเลือกศูนย์ที่พร้อมแล้วมี 268 แห่ง (กลุ่ม A และ B) ปัจจุบัน (2559) มีศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชน 1,980 แห่งในประเทศไทย และได้มีการตั้งศูนย์ไอซีทีชุมชนเพิ่มอีก 300 แห่ง โดย บริษัท สุพรีม ดิสทิบิวชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด เป็นผู้ชนะการประกวดราคา

บทบาทและภารกิจ กศน.ตำบลกศน.ตำบล จะมีการปรับบทบาทภารกิจให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและบริบทของพื้นที่ ตลอดจนรองรับการเป็นประชาคมอาเซียนมากขึ้น ภายใต้การขับเคลื่อนการดำเนินงาน 4 ศูนย์การเรียนรู้ ได้แก่ 1) ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ เป็นศูนย์กลางการส่งเสริม จัดกระบวนการการเรียนรู้ และหน่วยประสานงานแหล่งเรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงภายในชุมชน ดำเนินงานร่วมกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาจักร (กอ.รมน.) 2) ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยตำบล (ศส.ปชต.) เพื่อสร้างการเรียรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข โดยเฉพาะสิทธิและหน้าที่ในระบอบประชาธิปไตยบูรณาการความร่วมมือกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) 3) ศูนย์ดิจิทัลชุมชน ซึ่งบริหารจัดการฐานข้อมูลที่จำเป็นสำหรับ กศน. และชุมชน เพื่อให้มีความรู้และรับรู้ที่เท่าทันปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกยุคดิจิทัล 4) ศูนย์การศึกษาตลอดชีวิตชุมชน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาในระบบการศึกษา นอกระบบการศึกษา และการศึกษาตามอัธยาศัย ให้มีคุณภาพที่สอดคล้องกับนโยบายทางการศึกษา โดยยึดชุมชนเป็นฐานในการดำเนินงาน โดย กศน.ตำบลมีบทบาทเป็นผู้ประสานงานและอำนวยความสะดวกความร่วมมือของ ศธ. และ ทก. หารือความร่วมมือสนับสนุน ict เพื่อการศึกษา"

ผู้ให้ข้อมูล นายสงกรานต์ ชื่นใจชน

ผู้เขียน/ผู้เรียบเรียง สงกรานต์ ชื่นใจชน ครู กศน.ตำบล

ผู้ถ่ายภาพ สงกรานต์ ชื่นใจชน ครู กศน.ตำบล