Pecha kucha Presentation

การทำ Presentation สำหรับนำเสนอบนเวที

Pecha kucha คืออะไร

“Pecha Kucha” ออกเสียงว่า เพทัชก้า แต่บางคนก็ออกเสียงว่า เพชะ คูชา มาจากภาษาญี่ปุ่น มีความหมายว่าคุยกันอย่างเป็นกันเอง

Presentation แบบ Pecha kucha

คือ การนำเสนอแบบ Pech Kucha เป็นการนำเสนอด้วย presentation ที่มีสไลด์จำนวน 20 สไลด์ โดยเปลี่ยนสไลด์ใหม่ทุก 20 วินาที เมื่อรวมกันแล้วจะใช้เวลา 6 นาที 40 วินาที เน้นการเล่าเรื่องโดยมีภาพประกอบที่สื่อความหมาย และมีตัวหนังสือบนสไลด์เฉพาะคำหรือข้อความสำคัญ

จุดเด่นและประโยชน์

  • เป็นการนำเสนอที่กระชับ เพราะเป็นการนำเสนอ 20 สไลด์ โดยมีเวลานำเสนอสไลด์ละ 20 วินาที
  • ผู้นำเสนอทุกคนมีเวลาเท่ากัน คือ 400 วินาที
  • สร้างความสนใจให้กับผู้ฟังด้วยการนำเสนอด้วยภาพที่เน้นการสื่อความหมายและอารมณ์

Life After Death by Presentation

สิ่งที่ควรทำและควรหลีกเลี่ยงในการทำ Presentation

สิ่งที่ควรทำ

  • มีตัวอักษรไม่เกิน 7 บันทัดต่อหน้า
  • ใช้ภาพประกอบที่สื่อความหมายและอารมณ์ โดยขยายภาพให้เต็มสไลด์เพื่อดึงความสนใจ
  • ใช้ขนาดตัวอักษรใหญ่พอที่คนนั่งหลังสุดของห้องประชุมอ่านออก
  • จับคู่สีพื้น / ตัวอักษร ให้อ่านง่าย ดูสบายตา
  • ตรวจตัวสะกดทุกคำ
  • ซ้อมก่อนการนำเสนอให้คล่อง
  • พูดเสียงดังฟังชัด ใช้น้ำเสียงและท่าทางที่น่าสนใจ

สิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยง

  • ไม่ควรมีตัวหนังสือเต็มหน้า อ่านทุกคำที่แสดงในสไลด์
  • ไม่ควรนำเสนอสาระสำคัญตั้งแต่หน้าแรก เพราะช่วงแรกผู้ฟังมักสนใจมองตัวผู้นำเสนอ เช่น หน้าตาและการแต่งตัว
  • ไม่ควรใส่ข้อมูล ตัวเลข กราฟ มากเกินไปในหน้าเดียว
  • ไม่ควรใช้ effect มากเกินไป ทำให้เสียเวลาและตาลาย
  • ไม่ควรใช้ font พิเศษ หากต้องนำเสนอด้วยเครื่องของผู้อื่น เพราะอาจเปิดไม่ได้หรือทำให้การแสดงผลผิดจากต้นฉบับ
  • ไม่พูดเสียงค่อย และน้ำเสียงเดียวกันตลอด


องค์ประกอบใน Presentation

ให้ใช้แนวทาง Pecha kucha ในการทำ presentation และนำเสนอบนเวทีใหญ่ โดยต้องมีองค์ประกอบดังนี้

เกี่ยวกับโครงงาน

  • ชื่อโครงการ (ประเภทโครงงาน หัวเรื่อง กลุ่มเป้าหมาย)
  • เจ้าของโครงการ : ชื่อนามสกุล ชื่อเล่น อายุ ชั้น/ห้อง
  • ครูที่ปรึกษา

ก่อนเริ่มทำโครงงาน

  • แรงบันดาลใจในการทำงานชิ้นนี้คืออะไร ทำไมถึงทำงานนี้
  • คาดหวังว่างานชิ้นนี้จะส่งผลอย่างไรต่อตนเอง ผู้อื่น สังคม หรือ สิ่งแวดล้อม
  • สมมุติฐาน (ถ้ามีปัจจัยอะไร แล้วจะเกิดผลอย่างไร)
  • ความรู้สึกก่อนทำโครงงาน

สถานที่ เครื่องมือ อุปกรณ์ วิธีการ

  • สถานที่ทำงาน
  • เครื่องมือ อุปกรณ์
  • แหล่งข้อมูล และการหาองค์ความรู้ (ที่เชื่อถือได้)
  • งบประมาณที่ใช้

ระหว่างการทำโครงงาน

  • วิธีการทำงาน ในแต่ละขั้นตอน
  • ภาพหรือ clip การทำงาน เครื่องมือ และชิ้นงาน ในขณะที่กำลังดำเนินการ
  • สิ่งที่เป็นปัญหา อุปสรรค ที่พบระหว่างการทำงาน
  • วิธีการหาทางออก และปัจจัยที่ทำให้แก้ไขได้
  • ความรู้สึกที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงาน

เมื่องานเสร็จ

  • ภาพชิ้นงานที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว
  • ประโยชน์ของชิ้นงานนี้ ใครเป็นผู้ได้ประโยชน์บ้าง
  • ความรู้สึกหลังจากงานเสร็จแล้ว

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำงานชิ้นนี้

  • สิ่งที่ได้รับจากการทำงานชิ้นนี้
  • สิ่งที่อยากปรับปรุงในการทำงานครั้งต่อไป
  • ผู้ที่อยากขอบคุณ