มาตรฐานที่ 2 

การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษา

ตัวชี้วัดที่ 2.9 ระบบและกระบวนการช่วยเหลือผู้เรียน  

แผนปฏิบัติการประจำปีโรงเรียนปากเกร็ด

แผนปฏิบัติการประจำปี 2564

แผนปฏิบัติการประจำปี 2565

แผนปฏิบัติการประจำปี 2566

โครงการระบบดูแลฯ ปี 2566.pdf
สรุปกิจกรรมงานระบบดูแลฯ รวมแผน.pdf

          โรงเรียนปากเกร็ด มีการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามนโยบาย สพฐ. เพื่อส่งเสริม พัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและบริบทของโรงเรียน  โดยมีการวางแผนร่วมกับคณะกรรมการ และสร้างความตระหนักและความเข้าใจกับครูและบุคลากรทางการศึกษาในการดำเนินการตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดใช้วงจร เดมิ่ง (PDCA)

แผนผังกรอบแนวคิดการส่งเสริมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนปากเกร็ด

แผนผังการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนปากเกร็ด

          โรงเรียนปากเกร็ด มีการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือ โดยมีวิธีการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนครบทั้ง 5 ขั้นตอน ได้แก่ การรู้จักนักเรียนรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน การส่งเสริมผู้เรียน การป้องกันและการแก้ปัญหา และการส่งต่อ 

1. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล

      1.1 ข้อมูลนักเรียนรายบุคคล โดยครูที่ปรึกษาสำรวจข้อมูลพื้นฐานนักเรียนด้วยเครื่องมือการคัดกรองที่หลากหลาย เพื่อจัดกลุ่มนักเรียนเป็นกลุ่มปกติ กลุ่มพิเศษ (อัจฉริยะ) กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มมีปัญหา เพื่อให้การดูแลช่วยเหลือ ป้องกัน แก้ปัญหานักเรียนเป็นรายกรณี เช่น นักเรียนที่มีปัญหาด้านเศรษฐกิจ ปัญหาด้านการเรียน ปัญหาด้านยาเสพติด 

ข้อมูลนักเรียน

รายบุคคล

แบบสรุปข้อมูลนักเรียนรายบุคคล

 (รายห้อง)

แบบสรุปข้อมูลนักเรียนรายบุคคล (ระดับชั้น)

1.2 ข้อมูลการเยี่ยมบ้านนักเรียน 

ปีการศึกษา 2563  เยี่ยมบ้านในรูปเป็น แบบ on-site และ on-line  ครบ 100% รวมทั้งหมด 3,196 คน 

ปีการศึกษา 2564  เยี่ยมบ้านในรูปแบบ on-line  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ครบ 100%  รวมทั้งหมด 3,264 คน

ปีการศึกษา 2565  เยี่ยมบ้านในรูปเป็น แบบ on-site และ on-line  ครบ 100% ทั้งหมด 3,152 คน

สรุปรายงานการเยี่ยมบ้านนักเรียน 

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนปากเกร็ด

1.3 ข้อมูลสารสนเทศที่เป็นปัจจุบัน

       โรงเรียนปากเกร็ด มีข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับนักเรียนรายบุคคลที่เป็นปัจจุบันและพร้อมนำมาใช้งาน ซึ่งโรงเรียนใช้ ระบบ D School  เพื่อบันทึกข้อมูลของนักเรียนในด้านต่าง ๆ เช่น  การบันทึกเวลาการเข้า-ออกโรงเรียน  การบันทึกคะแนนพฤติกรรม  การบันทึกการเยี่ยมบ้าน การประเมินพฤติกรรมนักเรียน SDQ , EQ

2. การคัดกรองนักเรียน 

    ครูที่ปรึกษาคัดกรองนักเรียน  เพื่อจัดกลุ่มนักเรียนเป็นกลุ่มปกติ กลุ่มพิเศษ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มมีปัญหา โดยใช้เครื่องมือที่หลากหลาย เช่น ข้อมูลจากระเบียนสะสม แบบประเมินพฤติกรรม (SDQ) ข้อมูลจากการเยี่ยมบ้าน

สรุป SDQ 2563.pdf
สรุป SDQ 2564.pdf
สรุป SDQ 2565.pdf

3. การส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับโอกาสในการพัฒนา

         โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนทุกกลุ่มได้รับการพัฒนาที่แตกต่างกันตามความถนัดและความสนใจ เช่น การเข้าร่วมการแข่งขัน การให้ความรู้ ความเข้าใจ การป้องกันและกำกับติดตาม รวมไปถึงการจัดกิจกรรมที่ให้นักเรียนได้เกิดการลงมือทำและเกิดกระบวนการคิด  เพื่อนำมาพัฒนาและสร้างเสริมทักษะชีวิต อีกทั้งยังช่วยเหลือ ส่งเสริม ดูแลนักเรียนกลุ่มเรียนรวม

         โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนทุกกลุ่มได้รับการพัฒนาที่แตกต่างกันตามความถนัดและความสนใจ เช่น การเข้าร่วมการแข่งขัน การให้ความรู้ ความเข้าใจ การป้องกันและกำกับติดตาม รวมไปถึงการจัดกิจกรรมที่ให้นักเรียนได้เกิดการลงมือทำและเกิดกระบวนการคิด  เพื่อนำมาพัฒนาและสร้างเสริมทักษะชีวิต อีกทั้งยังช่วยเหลือ ส่งเสริม ดูแลนักเรียนกลุ่มเรียนรวม

3.1 กิจกรรมโฮมรูมและการประชุมผู้ปกครอง เพื่อส่งเสริม และพัฒนานักเรียน

จัดกิจกรรมโฮมรูม

การประชุมผู้ปกครอง ภาคเรียนละ 1 ครั้ง

3.2 การส่งเสริมนักเรียนตามกลุ่มปกติ กลุ่มพิเศษ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มมีปัญหา  (นักเรียนจะไม่รู้ว่าตนเองอยู่กลุ่มใด เป็นความลับ)

3.2.1 ส่งเสริมกลุ่มปกติ คือ กลุ่มที่โรงเรียนจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ส่งเสริมและพัฒนา

กิจกรรมเพื่อนที่ปรึกษา

กิจกรรมTo Be Number One ในการประกวด PK Cover Dance

กิจกรรมตอบคำถามสารนุกรมไทย สำหรับเยาวชน ระดับภาค

3.2.2 ส่งเสริมกลุ่มพิเศษ คือ กลุ่มที่โรงเรียนจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้พัฒนาศักยภาพ ความสามารถพิเศษถึงขั้นสูงสุด (รางวัลที่ได้)

กิจกรรมการแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์ ระดับประเทศ

โครงงานวิทยาศาสตร์  เรื่อง แผ่นปิดแผลจากเส้นใยบัว ที่สามารถดูดขับสารคัดหลั่ง ไม่ติดแผล

กิจกรรมการแข่งขัน

พูดสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ

3.2.3 กลุ่มเสี่ยง คือ นักเรียนที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนไปจากปกติ เช่น เก็บตัว การปรับตัวทางเพศไม่เหมาะสม ทดลองยาเสพติด ผลการเรียนเปลี่ยนแปลงไปในทางลบ 

กิจกรรมการเฝ้าระวังความปลอดภัยของนักเรียนในช่วงเทศกาลต่าง ๆ

กิจกรรมอบรมผู้นำโครงการ Social Media Detox ในวันที่ใจพัง กับความมั่นใจที่หายไป

กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับ

วินัย จราจร

กิจกรรมส่งเสริมการสวดมนทำนองสรภัญญะ

กิจกรรมส่งเสริมความเป็นเลิศทางภูมิศาสตร์

กิจกรรมอบรมแกนนำ To Be Number One

3.2.4  กลุ่มมีปัญหา คือ นักเรียนที่มีพฤติกรรมที่เป็นปัญหาชัดเจน มีผลกระทบต่อวีถีชีวิตประจำวันของตนเอง ต่อสังคม ส่วนรวมในด้านลบ เช่น ปัญหาครอบครัว ปัญหาด้านเศรษฐกิจ และปัญหาพฤติกรรมของนักเรียน

ขั้นตอนการดำเนินงานช่วยเหลือและแก้ปัญหาโดยเร่งด่วน

             สอบถามสาเหตุและปัญหาที่เกิด        กับนักเรียน

ประชุมคณะกรรมการวางแผนร่วมกัน 

โรงเรียนจัดหาทุนการศึกษา

จัดกิจกรรมค่ายพัฒนาระเบียบวินัยและคุณธรรม เพื่อปรับพฤติกรรมนักเรียน

3.2.5 ส่งเสริมเด็กเรียนรวม 

    โรงเรียนปากเกร็ดมีเด็กเรียนรวมที่เรียนร่วมกับเด็กปกติ ซึ่งเด็กเรียนรวมของเรามีความบกพร่องทางด้านร่างกาย        สติปัญญา บกพร่องทางการเรียนรู้ และสมาธิสั้น 

ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้ IEP  คลิกที่นี่

การมอบทุนการศึกษา เพื่อดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้านเศรษฐกิจ

กิจกรรมส่งเสริมนักเรียนตามความสนใจ

การยกย่องเชิดชูเกียรตินักเรียนเรียนรวม

4. การป้องกันและแก้ไขปัญหาของผู้เรียน

         โรงเรียนมีการป้องกัน ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหา โดยมีการให้คำปรึกษาแก่นักเรียน มีการสื่อสารกับผ้ปกครอง ด้วยวิธีการสร้างกลุ่มไลน์ผู้ปกครอง เพื่อประสานความร่วมมือในการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาของนักเรียน และจัดกิจกรรมที่ช่วยเสริมหลักสูตร เช่น ชุมนุม การสอนซ่อมเสริม เป็นต้น

การให้คำปรึกษาเบื้องต้น

การให้คำปรึกษาเบื้องต้น

กลุ่มไลน์ผู้ปกครอง

การแจ้งข้อมูลข่าวสารให้ผู้ปกครองทราบ

การแจ้งข้อมูลข่าวสารให้ผู้ปกครองทราบ

5. กระบวนการส่งต่อ (ภายใน-ภายนอก)

        5.1 การส่งต่อภายใน  ครูที่ปรึกษาส่งต่อนักเรียนที่มีปัญหาหรือมีความเสี่ยง ให้ครูแนะแนว หรือครูที่เกี่ยวข้องที่สามารถให้การดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัญหาและความต้องการของนักเรียนเป็นรายกรณี

        5.2 การส่งต่อภายนอก  โดยครูแนะแนวส่งต่อให้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง  ซึ่งโรงเรียเรียนปากเกร็ดได้เชิญนักจิตวิทยาประจำโรงเรียน (สพม.นนทบุรี)  มาให้คำปรึกษาแก่นักเรียน เดือนละ 2 ครั้ง 

เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านาจิตวิทยามาให้คำปรึกษา

เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านาจิตวิทยามาให้คำปรึกษา

6. ร่องรอยและหลักฐานของการเป็นแบบอย่างที่ดี Bast Practice ของโรงเรียนปากเกร็ด

Best Practice กิจกรรมปันรักจากครอบครัวปากเกร็ด (ครอบครัวอุปถัมภ์)

"สามบาทช่วยกัน สุขสันต์ทุกวันศุกร์"

          โรงเรียนปากเกร็ด จากการสำรวจข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล พบว่า ครอบครัวของนักเรียนส่วนใหญ่มีสภาพทางเศรษฐกิจที่ค่อนข้างลำบาก ผู้ปกครองส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ค้าขาย และรับจ้างทั่วไป ซึ่งรายได้ของครอบครัวไม่เพียงพอต่อรายจ่าย โรงเรียนจึงเห็นความสำคัญในเรื่องของการศึกษา จึงมีการจัดหาทุนการศึกษาให้แก่นักเรียน โดยมีทั้งทุนภายใน และ ทุนภายนอก เพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่ยากลำบากและขาดแคลนทุนทรัพย์ เช่น การจัดพิธีมอบทุนประจำปี ทุนจากหน่วยงานภายนอก และทุนปันรักจากครอบครัวปากเกร็ด (ครอบครัวอุปถัมภ์)

โรงเรียนปากเกร็ด ให้การดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ให้ได้รับทุนการศึกษาประจำปีการศึกษา ดังนี้ 

ปีการศึกษา 2563 นักเรียนได้รับทุน

จากหน่วยงานภายในและภายนอก รวม 935 ทุน

ปีการศึกษา 2564 นักเรียนได้รับทุน

จากหน่วยงานภายในและภายนอก รวม 741 ทุน

ปีการศึกษา 2565 นักเรียนได้รับทุน

จากหน่วยงานภายในและภายนอก รวม 835 ทุน

ปีการศึกษา 2566 นักเรียนได้รับทุน

จากหน่วยงานภายในและภายนอก รวม 678 ทุน

สรุปโครงการทุนอาหารกลางวัน_2563.pdf
สรุปโคงการทุน ปีการศึกษา 2564.pdf
สรุปโครงการทุน ปีการศึกษา 2565.pdf

ทุนภายใน

พิธีมอบทุนการศึกษาประจำปีโรงเรียนปากเกร็ด

พิธีมอบทุนการศึกษาประจำปีโรงเรียนปากเกร็ด

พิธีมอบทุนการศึกษาประจำปีโรงเรียนปากเกร็ด

ทุนจากหน่วยงานภายนอก

ทุนมูลนิธิพัฒนาศักยภาพคนพิการ

ทุนมูลนิธิทวี บุญยเกตุ

ทุนกิ่งกาชาด อำเภอปากเกร็ด

ทุนเฉลิมราชกุมารี ระยะที่ 2 รุ่นที่ 7 

ทุนเฉลิมราชกุมารี ระยะที่ 2 รุ่นที่ 78

ทุนจากคณะลูกเสือฮองกง 

หลักฐานการจัดสรรทรัพยากรสนับสนุนกระบวนการช่วยเหลือนักเรียน

     โรงเรียนปากเกร็ดมีการระดมทุนจากหน่วยงานต่าง ๆ เช่น กองทุนมูลนิธิปากเกร็ด-เสาธงทอง ชมรมครูเก่าและศิษย์เก่า ครูและบุคลากรในโรงเรียน เครือข่ายผู้ปกครอง และกล่องบริจากปันรักจากครอบครัวปากเกร็ด (ครอบครัวอุปถัมภ์) จากพี่น้องชาวดำ-แดง เพื่อสนับสนุนและช่วยเหลือนักเรียนที่มีฐานะยากลำยาก ขาดแคลนทุนทรัพย์ เพื่อให้เป็นขวัญและกำลังใจแก่นักเรียนในด้านการเรียน

ยอดเงินบริจาคเข้ากองทุนมูลนิธิปากเกร็ด-เสาธงทอง ระหว่างปี 2563-2365 รวมเป็นเงิน 9,586,992.71 บาท

เล่มพิธีมอบทุนการศึกษา และรายนามผู้บริจาคเงินเข้ากองทุนมูลนิธิปากเกร็ด-เสาธงทอง

7. บันทึกการประชุมที่เกี่ยวข้อง

การประชุมวางแผนงาน

การประชุมหัวหน้าระดับ

การประชุมทีมงานคณะทำงาน