มาตรฐานที่ 2 

การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษา

ตัวชี้วัดที่ 2.1 วิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยมของสถานศึกษา 

แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา 

แผนปฏิบัติการประจำปี 

แผนปฏิบัติการประจำปี 2564

แผนปฏิบัติการประจำปี 2565

แผนปฏิบัติการประจำปี 2566

หลักฐานและร่องรอยการวิเคราะห์ จุดอ่อน จุดแข็งของสถานศึกษา

หลักฐานและร่องรอยการวิเคราะห์ จุดอ่อน จุดแข็งของสถานศึกษา (SAR)

     โรงเรียนปากเกร็ดมีการวิเคราะห์จุดอ่อน และจุดแข็ง ที่มีความหลากหลายในทุกมาตรฐานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ดังนี้

มาตรฐานที่  1.1 คุณภาพของผู้เรียน 

       จุดเด่น

        โรงเรียนปากเกร็ดมีการปรับตัวอย่างรวดเร็วท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส โคโรนา 2019 โดยการปรับกระบวนการจัดการเรียนรู้ โดยการเรียนผ่านช่องทางต่าง ๆ อีกทั้งนักเรียนยังสามารถทบทวนความรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลาผ่าน Pakkred Learning Cyber และเมื่อสถานการณ์กลับมาเป็นปกติ โรงเรียนปากเกร็ด สามารถกลับมาจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่หลากหลาย ตอบสนองต่อปัญหาที่ผู้เรียนได้รับในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 และจัดกิจกรรมเพื่อทดแทนในสิ่งที่ขาดหายไป เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ สร้างสรรค์นวัตกรรม และเป็นพลเมืองดี

        จุดควรพัฒนา

            สถานศึกษาควรจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการพัฒนาทักษะกระบวนการคิดขั้นสูง เพื่อยกระดับนักเรียนให้ไปสู่การเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ สามารถประกอบอาชีพ สร้างรายได้ สร้างคุณประโยชน์แก่สังคม และสร้างความตระหนักอย่างยั่งยืนด้านคุณธรรม จริยธรรม ปลูกฝั่งการเป็นพลเมืองที่ดีของสังคมสร้างความร่วมมือจากบุคลากรทุกฝ่ายของโรงเรียนและเครือข่ายภายนอก คนในชุมชน ในการสนับสนุนการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน


มาตรฐานที่ 1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน

         จุดเด่น

        โรงเรียนปากเกร็ด เป็นโรงเรียนที่มีสถานที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงกับชุมชน นักเรียนส่วนใหญ่จึงเป็นนักเรียนในเขตพื้นที่บริการส่งผลให้นักเรียนมีความคุ้นเคยกับชุมชน และซึมซับภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นอย่างดี นอกจากนี้ผู้ปกครองส่วนใหญ่เป็นศิษย์เก่าของโรงเรียนปากเกร็ด ดังนั้นโรงเรียนจึงได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง เครือข่ายผู้ปกครองและคนในชุมชนอย่างดียิ่ง ทำให้การดูแลพฤติกรรมนักเรียนเป็นไปได้อย่างทั่วถึง

         จุดควรพัฒนา

         โรงเรียนควรมีการวางแผนเพื่อจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนมีวิธีรับมือจากอันตรายรอบตัวนักเรียน เช่น การอบรมการปฏิบัติตนเมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน การป้องกันภัยจากการถูกคุกคามในด้าน ต่าง ๆ และปัญหาที่เกิดจากสภาวะความเครียดของนักเรียน

มาตรฐานที่ 2  กระบวนการบริหารและการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา 

          จุดเด่น

             1. โรงเรียนปากเกร็ดมีโครงสร้างการบริหารงาน กำหนดบทบาทหน้าที่อย่างชัดเจน มีระบบติดตามตรวจสอบ และสะท้อนผลเพื่อการปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้รูปแบบการบริหารจัดการ SUMRED Model 

                 2. มีระบบนิเทศภายในที่ชัดเจนและเป็นระบบ โดยจัดให้มีการนิเทศการสอนของครูโดยคณะกรรมการระดับโรงเรียน และคณะกรรมการระดับกลุ่มสาระการเรียนรู้ และครูทุกคนได้รับการนิเทศโดย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนอย่างน้อยปีการศึกษาละ 3 ครั้ง และนำผลที่ได้จากการนิเทศมาร่วมกันแลกเปลี่ยน พูดคุย หรือ PLC ในกลุ่มสาระการเรียนรู้เพื่อเป็นข้อมูลย้อนกลับในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น

             3. โรงเรียนได้รับการสนับสนุนเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งด้านงบประมาณ บุคลากร และสถานที่แหล่งเรียนรู้ เนื่องจากโรงเรียนมีความสัมพันธ์อันดีกับชุมชน ให้บริการสถานที่ อุปกรณ์และบุคลากรแก่ชุมชนทุกครั้งที่มีการร้องขอ ดังนั้นผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงานภายนอกจึงให้การสนับสนุนโรงเรียนเป็นอย่างดี

                4. โรงเรียนปากเกร็ดมีการวางแผนจัดทำแผนปฏิบัติการที่มีความยืดหยุ่นสามารถปรับให้เหมาะสมกับสถานการณ์ได้เป็นอย่างดี

             5. โรงเรียนปากเกร็ดได้เข้าร่วมโครงการตามพระราชดำริ ประกอบด้วย งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน  งานฐานทรัพย์ยากรท้องถิ่น  งานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่สนับสนุนให้โรงเรียนจัดกิจกรรม การเรียนรู้ที่ให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ บูรณาการการเรียนรู้จากทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรบุคคล ฯลฯ ในท้องถิ่น

        จุดที่ควรพัฒนา

                1.  การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษานอกจากจะมีหลักสูตรที่ตอบสนองนโยบาลทางการศึกษาที่กระทรวงศึกษธิการกำหนด ควรมีการดำเนินงานที่เป็นกระบวนการชัดเจน และบูรณาการบริบทของชุมชนสู่การเรียนการสอนทุกปีการศึกษา

                2. โรงเรียนปากเกร็ดมีการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพภายในโรงเรียนเป็นประจำอยู่แล้ว ควรมีการดำเนินการรักษา และติดตามสภาพแวดล้อมดังกล่าวให้มีความพร้อม เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน และการทำงานของครูและบุคลากรในโรงเรียน


มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

          จุดเด่น

               1. ครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนปากเกร็ด มีความรู้ความสามารถและมีความตั้งใจในการคิดและวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ผลิตสื่อการสอน สร้างนวัตกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา สอดคล้องและเหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน เพื่อมุ่งพัฒนาความรู้ ความสามารถของนักเรียนอย่างเต็มตามศักยภาพ

               2. ครูทุกคนมีการวิเคราะห์หลักสูตร วิเคระห์มาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรแกนกลางออกแบบหน่วยการเรียนรู้ วิเคราะห์กิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับมาตรฐานและตัวชี้วัด ตลอดจน ออกแบบการวัดผลและประเมินผลที่สัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ มาตรฐาน ตัวชี้วัด และส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

               3. โรงเรียนมีโครงการนิเทศการสอนของครูที่ต่อเนื่อง โดยมีคณะกรรมการนิเทศการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบและสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน เพื่อสะท้อนการจัดการเรียนการสอนที่แท้จริง

              4. ครูมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อพัฒนาการออกแบบการจัดการเรียนรู้และนำไปสู่การพัฒนาผู้เรียน การจัดกิจกรรมที่มีความหลากหลายเหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง ๆ นอกจากนี้ยังนำไปสู่การแก้ปัญหาในการเรียนของนักเรียนให้หมดไป

              5. บริบทของชุมชน ท้องถิ่นและภูมิปัญญาชาวบ้านมีความโดดเด่น น่าสนใจ ทำให้ครู นักเรียนเกิด ความตระหนักในการสืบค้น ศึกษาหาข้อมูลต่อไป

            จุดควรพัฒนา

   1.ส่งเสริมให้ครู บุคลากรทางการศึกษา และผู้เรียนเกิดการพัฒนาทักษะทางภาษาตามกรอบ CEFR

              2. สร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาทั้งภายใน และภายนอก โรงเรียนเพื่อให้มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อการจัดการศึกษามากยิ่งขึ้น

              3. การกำกับ ติดตาม ประเมิน ตรวจสอบผลของการดำเนินงานโดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA อย่างต่อเนื่อง

รายงานการประชุมที่เกี่ยวข้อง ปีการศึกษา 2563-2565

คำสั่งต่าง ๆ เกี่ยวกับงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 

ปีการศึกษา 2563-2565 คลิกที่นี่

มาตรฐาน และค่าเป้าหมายของสถานศึกษา

ค่าเป้าหมาย ปีการศึกษา 2563

ค่าเป้าหมาย63.pdf

ค่าเป้าหมาย ปีการศึกษา 2564

ประกาศค่าเป้าหมาย 64.pdf

ค่าเป้าหมาย ปีการศึกษา 2565

ประกาศค่าเป้าหมาย 65.pdf

รายงานการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา ปีการศึกษา 2563-2565